category รู้กันหรือเปล่า? กฏหมายเกี่ยวกับปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มประเภทต่างๆ

Writer : Nokkaew

: 26 ตุลาคม 2559

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นฉลากคำเตือนสีแดงข้างขวดเครื่องดื่มชูกำลัง ที่ย้ำนักย้ำหนาว่า “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด” นั่นเป็นเพราะกฏหมายเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มคาเฟอีนเค้ากำหนดไว้ครับ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เฉพาะเครื่องดื่มชูกำลังเท่านั้น น้ำอัดลม กาแฟ ก็มีกฏหมายประเภทนี้บังคับด้วยเหมือนกัน

เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน จัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 214 (พ.ศ.2524) เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตลอดจนการแสดงฉลากตามประกาศฯ เนื่องจากสารกาเฟอีนมีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและการไหลเวียนของโลหิตอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหากได้รับในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นประจำ

ถ้าใครเคยลองสังเกตข้างขวดเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ในเซเว่น อย่างเช่น น้ำอัดลม ชาเขียว กาแฟ แต่ละอย่างนี่ก็พูดเลยว่าปริมาณคาเฟอีนไม่ได้น้อยไปกว่าเครื่องดื่มชูกำลังเลย อย่างกาแฟกระป๋องสำเร็จรูปแค่กระป๋องเดียวนี่เยอะกว่าเครื่องดื่มชูกำลังสองขวดซะอีก ลองดูปริมาณเครื่องดื่มที่เราทานกันบ่อยๆ ตามด้านล่าง

cafeine

ซึ่งแน่นอนว่าการที่ร่างกายได้รับปริมาณคาเฟอีนมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้  ซึ่งผู้ใหญ่ไม่ควรได้รับปริมาณคาเฟอีนเกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน (อย่าลืมว่าในอาหารแต่ละมื้อก็มีปริมาณคาเฟอีนอยู่บ้างแล้วนะ)

โดยเครื่องดื่มแต่ละประเภทมีกฏหมายบังคับดังนี้

cafeine-table-1

สังเกตได้ว่าเครื่องดื่มชูกำลังนั้น ถึงแม้มีฉลากคำเตือนอยู่ข้างขวดทุกยี่ห้อเพราะกฏหมาย แต่ไม่ได้มีปริมาณคาเฟอีนมากอย่างที่หลายคนเข้าใจ กลับกัน ถ้าเราทานน้ำอัดลมหรือชาเขียวมากๆ ร่างกายก็มีโอกาสที่จะได้รับคาเฟอีนปริมาณมากกว่าเครื่องดื่มชูกำลังสองขวดด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม เราสามารถทานเครื่องดื่มคาเฟอีนให้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ได้ เพราะคาเฟอีนออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีความสุข โดยเราต้องเลือกดื่มในปริมาณที่พอเหมาะนะจ๊ะ

แต่!!! บุคคลที่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคกาเฟอีนเพราะกาเฟอีนอาจก่ออาการผิดปกติหรือกระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้นได้ คือ

  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเครียดหรือมีปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ
  • คนที่มักนอนไม่หลับ
  • มีก้อนในเต้านมหรือเจ็บเต้านม (กาเฟอีน กระตุ้นให้เจ็บเต้านมมากขึ้น)
  • มีอาการทางกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโรคกรดไหลย้อน
  • มีปัญหาโรคหัวใจ
  • โรคความดันหิตสูง และ/หรือมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง

 

ที่มา – http://webnotes.fda.moph.go.thhttps://en.wikipedia.org/wiki/Caffeine

Writer Profile : Nokkaew
ชายหนุ่มที่กินข้าวอย่างน้อยวันละ 3 มื้อ กินข้าวเสร็จก็กินน้ำ เสร็จแล้วก็ไปอาบน้ำ ตอนเรียนไม่ค่อยตั้งใจเรียน ชอบซื้อหนังสือมุราคามิ แต่ยังไม่ได้อ่านสักเล่ม อยากเห็นโลกออนไลน์มีแต่สิ่งดีๆ และมีความสนุก
Blog : www.goohiw.com Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save