Mango Zero

กว่าจะมาเป็น ‘สะพานเขียว’ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง?

อยากถ่ายรูปจังเลยย ไปที่ไหนดีน้า? แน่นอนว่าใครๆ ก็ต้องนึกถึงสถานที่ถ่ายรูปสุดฮิตอย่าง ‘สะพานเขียว’ กัน! เพราะนอกจากจะเป็นสถานที่ถ่ายรูปที่ให้ฟีลเจแปนสุดๆแล้ว ยังเป็นที่ออกกำลังกาย ปั่นจักรยานของหลายๆคนอีกด้วย แต่เอ๊ะ? สงสัยไหมว่าเมื่อก่อนสะพานเขียวเป็นยังไง มีมานานรึยัง ทำไมอยู่ดีๆถึงฮิตนะ?

Mango Zero จึงขอพาทุกคนไปไขข้อสงสัยว่า กว่าจะมาเป็น ‘สะพานเขียว’ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง? ไปดูกันเลยย

 

 

‘สะพานเขียว’ คืออะไร?

‘สะพานเขียว’ หรือ ‘ทางจักรยานลอยฟ้า’ สะพานที่เชื่อมต่อระหว่างสวนลุมพินีกับสวนเบญจกิตติ ที่มีความยาวถึง 1.3 กม.ด้วยกัน สร้างขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นเวลากว่า 40 ปีมาแล้ว เป็นพื้นที่สีเขียวกว้างใหญ่ใจกลางเมือง เหมาะกับการมาออกกำลังกายหรือปั่นจักรยาน เดินเล่น ถ่ายรูปชิวๆที่สุด

 

ก่อนจะเป็น ‘สะพานเขียว’ ทุกวันนี้

เรียกได้ว่าเป็นโครงการสกายวอล์กแรกของกรุงเทพฯได้เลย แต่น้อยคนนักที่จะใช้งานสะพานเขียว เนื่องจากปัญหาหลายอย่าง คือ สภาพที่ทรุดโทรม พื้นผิวที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ในตอนกลางวันก็ร้อนมาก ไม่มีที่กันแดดหรือต้นไม้ให้พัก ส่วนในตอนกลางคืนก็เปลี่ยวมากเช่นกัน ไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอันตรายได้โดยง่าย

ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้น ทางสำนักการโยธา กรุงเทพฯ จึงได้ร่วมมือกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และภาคีสถาปนิก ฟื้นฟู ‘สะพานเขียว’ ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยแก้ปัญหาและตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย จนได้กลายมาเป็น ‘สะพานเขียว’ ที่ร่มรื่นในปัจจุบันนั่นเอง!

 

แผนการปรับปรุง ‘สะพานเขียว’ ในอนาคต

ในปัจจุบัน การปรับปรุง ‘สะพานเขียว’ ก็ยังคงมีการดำเนินการต่อไป โดยกำลังอยู่ในขั้นตอนการออกแบบ จากนั้นจึงค่อยเสนอของบประมาณจากกทม. ซึ่งแผนการปรับปรุงมีดังนี้

 

เรียก ‘สะพานเขียว’ แล้วอะไรเขียวบ้าง ?

อย่างแรกเลยก็ต้องหมายถึงพื้นสะพานที่เขียวแน่นอน เพราะเขียวซะขนาดนั้น (แฮะๆ) อย่างต่อมาก็คือ พื้นที่สีเขียวที่สื่อถึงธรรมชาติท่ามกลางตึกมากมาย มีบรรยากาศเงียบสงบ ร่มรื่น มีการประดับดอกไม้ปลูกต้นไม้ต่างๆ ตอบโจทย์ความต้องการและรูปแบบวิถีชีวิตของชุมชนโดยรอบ

สร้างการใช้สอยพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพและเอื้ออำนวยความสะดวกกับคนทุกกลุ่มทุกวัย เรียกได้ว่า ‘สะพานเขียว’ นี่เขียวทั้งภายในและภายนอก สมชื่อซะจริงๆ!

 

เดินทางไป ‘สะพานเขียว’ ยังไง?