Mango Zero

เช็กสิทธิคุ้มครองแรงงาน เมื่อเราทำงานหนักเกินไป ร้องเรียนอะไรได้บ้าง ?

เช็กสิทธิคุ้มครองแรงงาน เมื่อเราทำงานหนักเกินไป ร้องเรียนอะไรได้บ้าง ? 

“งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ประโยคฝังหัวที่จดจำแล้วนำไปใช้ไม่ได้ เมื่อทุกปีมีคนตายจากการทำงานหนักหลายแสนคน และยิ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน โดย WHO เปิดเผยว่าผู้ที่เสียชีวิตจากการทำงานหนัก อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตกและโรคหัวใจ 

ซึ่งล่าสุดก็มีข่าวที่น่าเศร้าใจ เมื่อ “งาน” ได้คร่าชีวิตหนึ่งไปอีกครั้ง แม้เราจะรู้ดีกว่าพื้นฐานการทำงานคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน บ้างก็ทำ 5 วัน หรือ 6 วันต่อสัปดาห์ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถเลี่ยงการทำงานหนักหรือเกินเวลาได้ 

ส่งผลไปถึงสภาพร่างกายและจิตใจที่รู้ตัวอีกทีก็ยากจะแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาวะหมดไฟ เครียด ไปจนถึงการฆ่าตัวตาย หรือการเสียชีวิตไปโดยไม่ทันร่ำลา แต่การทำงานก็มีขอบเขตโดยกฎหมายเพื่อไม่ให้เราทำงานหนัก(จนเกินไป) ให้รู้ไว้ใช่ว่า หากไม่เป็นไปตามก็สามารถแจ้งเรื่องหรือดำเนินการฟ้องร้องกับกรมแรงงานได้

แล้วตอนนี้เรากำลังทำงานหนักเกินไปไหม ? นายจ้างกำลังละเมิดสิทธิเราหรือไม่ ? มาสำรวจสิทธิคุ้มครองแรงงานไปพร้อมกัน! 

ปล.เป็นการสรุปบางข้อของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน / กองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่ข้อกฎหมายทั้งหมดนะฮะ 

สำหรับชั่วโมงการทำงาน จะสามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ งานทั่วไป ต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดให้เป็น 9 ชั่วโมง รวมพักกลางวัน (แล้วแต่บริษัท) ขณะที่ งานที่อันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง จะต้องไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และ 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

โดยถ้าต้องมีการทำงานล่วงเวลา (OT) นายจ้างต้องมีการบอกกล่าว พูดคุยและได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ซึ่งชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมแล้วต้องไม่เกิน 36 ชม.ต่อสัปดาห์  รวมถึงควรมีค่าล่วงเวลา ดังนี้

ทางด้านการลาก็มีหลายประเภทการลาด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นลาป่วย ที่กำหนดวันตามนโยบายของแต่ละบริษัท (ส่วนใหญ่ก็ประมาณ 30 วันไม่เกิน) โดยไม่มีการหักเงิน , ลากิจไม่น้อยกว่า 3 วัน (อาจมีหลักฐานยืนยัน), ลาคลอดรวมตรวจครรภ์ / ฝากครรภ์ นับรวมวันหยุดระหว่างลาต้องไม่เกิน 98 วัน รวมถึงลาพักร้อน ไม่น้อยกว่า 6 วันต่อปี สำหรับพนักงานที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี 

นอกจากนี้ การ “ลาทำหมัน” พนักงานก็ยังคงได้รับค่าจ้างตามปกติ โดยอาจมีใบรับรองแพทย์มายืนยันด้วย 

ทุกปัญหามีลาออก.. แล้วถ้าไม่ต้องการทนอยู่ “ลาออก” ได้ทันทีไหม ? 

ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและกฏที่ระบุไว้ หากไม่มีกำหนดระยะเวลาล่วงหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรระบุ สามารถแจ้งและออกได้เลย แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะให้แจ้งก่อนหน้าประมาณ 30 วัน ซึ่งถ้าใครไปแจ้งลาออกแล้วไม่ได้รับการอนุมัติ ขอบอกว่านายจ้างไม่มีสิทธิ์ไม่อนุมัติการลาออกของพนักงาน เราอาจจะกำลังโดนเอาเปรียบอยู่เด้!!! 

ในกรณีที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม พนักงานจะต้องได้รับค่าชดเชยภายใน 3 วัน (หลังจากเลิกจ้าง) ซึ่งเขาก็จะแบ่งค่าชดเชยตามอายุงาน ดังนี้ 

และนอกจากการถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ก็ยังมีกรณีอื่นๆ อย่างอุบัติเหตุจากการทำงาน ได้รับบาดเจ็บ หรือพิการ ไปจนถึงเสียชีวิตจากการทำงาน โดยทางบริษัทต้องแสดงความรับผิดชอบตามกฎหมาย อ้างอิงตามพ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน ๒๕๖๑ ได้ ดังนี้  

ช่องทางการร้องเรียน 

 

ที่มา ปันโปร, HRNOTE asia, JobsDB, Samphaolom