Mango Zero

เราเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้างในการเดินทางไปทำงาน 1 ปี?

งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข แต่ก็อาจจะทุกข์ได้ หากวิธีและระยะทางในการการเดินทางไปทำงาน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เราเหนื่อยใจ วันนี้ Mango Zero จะพาทุกคนไปดูว่าการเดินทางไปทำงานในแต่ละแบบ ต้องใช้ต้นทุนเท่าไหร่บ้าง

หมายเหตุ *เป็นการประมาณค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย และเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานเท่านั้น ไม่รวมวันหยุด หรือเดินทางไปที่อื่น*

ยานพาหนะส่วนตัว

รถยนต์

ค่าน้ำมัน เดือนละ 4,000 บาท ปีละ 48,000 บาท

ค่าผ่อนเดือนละ 7,000 บาท ปีละ 84,000 บาท

ค่าซ่อมบำรุง ปีละ 12,000 บาท

อื่นๆ (ค่าอะไหล่ยาง ผ้าเบรก) ปีละ 15,000 บาท

ค่าประกันภัยรถยนต์  ปีละ 20,000 บาท

รวม ปีละ 48,000+84,000+12,000+15,000+20,000 = 179,000 บาท

รถจักรยานยนต์

ค่าน้ำมัน เดือนละ 400 บาท ปีละ 4,800 บาท

ค่าผ่อนเดือนละ 3,000 บาท ปีละ 36,000 บาท

ค่าซ่อมบำรุง ปีละ 2,000 บาท

รวม ปีละ 4,800+36,000+2,000 = 86,000 บาท

เดิน

ดูเหมือนไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย หากเป็นระยะการเดินที่สั้นๆ ไม่เกินหนึ่งกิโลยังพอทำเนา และอาจได้สุขภาพที่ดีมาเป็นของแถม แต่ถ้าต้องเดินโดยมือซ้ายหนีบแฟ้ม มือขวาหอบกระเป๋าโน๊ตบุ๊ค อาจได้ปัญหาเรื่องการปวดหลังมาเพิ่ม ยังไม่ต้องพูดถึงสภาพอากาศของประเทศไทย ที่วันไหนท้องฟ้าแจ่มใส ได้มีอาบน้ำที่ออฟฟิศกันอีกรอบเป็นแน่

ดังนั้นการเดิน ไม่ต้องใช้เงิน แต่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากขึ้น ถือเป็นค่าเสียเวลานั่นเอง

บริการขนส่งสาธารณะ

สำหรับการใช้บริการรถสาธารณะ มีสูตรในการคำนวณ คือ ราคาค่าโดยสาร คิดเป็นทั้งไปและกลับ x วันทำงาน 20 วัน x จำนวนเดือน 12  = ค่าเดินทางต่อปีนั่นเอง มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

รถไฟฟ้า BTS

เริ่มต้นที่ 16 บาท สูงสุด 69 (ในอนาคตอาจเป็น 158 บาท)

ปีละ ถูกที่สุด 32 x 20 x 12 = 7,680 บาท

แพงที่สุด 138 x 20 x 12 = 33,120 บาท

(และในอนาคตอาจเป็น 75,840 บาท หากไม่ต่อสัมปทานสายสีเขียว )

รถไฟฟ้า MRT

เริ่มต้นที่ 16 สูงสุด 42

ปีละ ถูกที่สุด 33 x 20 x 12 = 7,680 บาท

แพงที่สุด 84 x 20 x 12 = 20,160 บาท

รถตู้

เริ่มต้นที่ 50 บาท

ปีละ 100 x 20 x12 = 24,000 บาท

รถโดยสารสาธารณะ

เริ่มต้นที่ 8 บาท

ปีละ 16x 20 x 12 = 3,840 บาท

มอเตอร์ไซต์รับจ้าง

เริ่มต้นที่ 15 บาท

ปีละ 30 x 20 x 12 = 7,200 บาท