Mango Zero

จะแยกความกังวล เครียด ตื่นตระหนกยังไง มาทำเช็คลิสต์กัน

ด้วยสภาวะของหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ทำให้หลายคนอยู่ในภาวะวิตกกังวล ซึ่งอาจลุกลามไปจนถึงขั้นเครียดเรื้อรัง และตื่นตระหนกกับทุกสิ่งรอบตัวได้ ถึงแม้ว่าทั้งสามคำนี้จะมีความใกล้เคียงกันมาก แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างที่สามารถแยกออกได้เฉพาะอย่างอยู่ แน่นอนว่าวิธีรับมือกับแต่ละอย่างก็ไม่เหมือนกันด้วย มาดูกันว่าข้อเปรียบเทียบเหล่านั้นคืออะไร ต้องแก้แบบไหนจึงจะหาย 

ความกังวล

ความกังวลเกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มคิดถึงความเป็นไปได้ในการเกิดเหตุการณ์เลวร้าย จากการกระทำของเรา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเลิกคิด แล้วก็กลับมาคิดซ้ำๆ  แน่นอนว่าความกังวลนั้นจะสามารถเปลี่ยนเป็นประโยชน์ได้ เมื่อเราหาหนทางที่จะเปลี่ยนมันหรือป้องกันผลลัพธ์ในทางร้ายไม่ให้เกิดขึ้น

ลักษณะเฉพาะ

วิธีการแก้ไข

ความเครียด

ความเครียด เป็นสิ่งที่เกิดคู่กับมนุษย์ตั้งแต่สมัยอดีตกาล เกิดขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติเวลามีสิ่งคุกคาม เหมือนการได้ยินเสียงผิดปกติ หรือมีสิ่งใดแปลกไปจากเดิม โดยจะมีการตอบสนองทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว อะดรีนาลีนหลั่ง อัตราการหายใจถี่ขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตือนทุกระบบในร่างกายให้รับรู้ถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นและเตรียมพร้อมได้ทันท่วงที

หากเกิดอาการเครียดในระยะสั้นๆ จะทำให้เรารู้สึกดี เพราะมีสารอะดรีนาลินและคอร์ติซอลไหลเวียนทั่วร่างกาย และทำให้เรามีพลังคล้ายโกงความตายขึ้นมาอีกหนึ่งฮึด เช่นการทำงานในช่วงชั่วโมงสุดท้ายของเดดไลน์ หรือการสัมภาษณ์งาน ซึ่งความเครียดแบบนี้จะหายไปเมื่องานนั้นๆ จบลงไป แต่หากเป็นความเครียดเรื้อรังจากปัญหาที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงอย่างง่ายๆ ก็ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และการย่อยอาหารได้

และไม่ต้องกังวลไปว่าจะเกิดความเครียด เพราะสิ่งนี้คือการตอบสนองอัตโนมัติทางร่างกาย เกิดขึ้นมา แล้วก็จบไป 😉

ลักษณะเฉพาะ

วิธีการแก้ไข

ความตื่นตระหนก

หากความกังวลและความเครียดเป็นอาการ ความตื่นตระหนกก็ถือเป็นขั้นสุด เพราะมีทั้งองค์ประกอบทางความคิด (ความกังวล) และการตอบสนองทางร่างกาย (ความเครียด) เรียกได้ว่าเกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อเราต้องรับมือกับความกังวลและความเครียดที่มากเกินไป

ความตื่นตระหนก เป็นการทำงานเพื่อตอบสนองกับภัยคุกคามที่ไม่มีอยู่จริง เริ่มจากความคิดซ้ำๆ จนทำให้กังวล ส่งผลกับร่างกายให้เกิดความครียด เตรียมรับมือกับสิ่งที่คิดว่าเป็นภัย ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด เพราะความจริงแล้วมันไม่มีอะไรเลย ส่วนใหญ่การตื่นตระหนกนี้จะหายไปเองเมื่อเราเริ่มคิดได้ถึงความเป็นจริง (ว่าไม่มีอะไรเลย!) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็อาจส่งผลให้กลายเป็น Anxiety Disoder ได้

ลักษณะเฉพาะ

วิธีการแก้ไข

ในช่วงนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงทั้งสามสิ่งนี้ แต่ขอให้เราตั้งสติ หาวิธีรับมือกับสิ่งยากลำบากต่างๆที่เกิดขึ้น หรือเปลี่ยนความผิดพลาดเหล่านั้นเป็นบทเรียน เอย่างน้อยๆ เมื่อเรื่องนี้ผ่านพ้นไป อย่าน้องก็มีสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยน คือจิตใจและความเป็นผู้ใหญ่กว่าที่เคย