Mango Zero

“กัญชาเสรี” ใช้กัญอย่างไรให้ปลอดภัย?

หลังกระทรวงสาธารณสุขได้ปลดล็อคกัญชง กัญชาออกจากสารเสพติดประเภทที่ 5 แล้ว ประชาชนชาวเราก็สามารถใช้กัญชาได้อย่างเสรีมากขึ้น ด้วยความที่ปลดล็อคเรียบร้อยแล้ว แต่พ.ร.บ. กัญชากลับยังไม่มานี่สิ เลยเกิดปัญหาของข้อมูล และข้อบังคับที่อาจทำให้เกิดการขาดความเข้าใจต่อการใช้กัญชา และไม่นานมานี้ ผู้บริโภคบางคนก็เกิดผลค้างเคียงที่ค่อนข้างน่าตกใจหลังจากกินกัญชาไป เพราะฉะนั้น เราจะพามาดูกันว่า ณ ตอนนี้ กัญชาสามารถใช้อย่างไร รวมถึงข้อควรระวังการใช้กัญชาให้รอดพ้นจากความเสี่ยงทางร่างกายด้วย

มาดูกัญก่อนว่าปลดล็อค ”กัญชา” ณ ตอนนี้ มีผลอย่างไรบ้าง

1.ต้องกำกับดูแลทั้งก่อนและหลังการอนุญาตอย่างเข้มงวด
2.ต้องมีความปลอดภัย โดยมีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานด้านต่าง ๆ เช่น สารปนเปื้อน สารตกค้าง
3.ต้องมีปริมาณ THC ไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด โดยมีผลวิเคราะห์ยืนยัน
4.ต้องแสดงคำว่า “กัญชา” หรือ “ส่วนของกัญชา”  ที่ใช้บนฉลากอย่างชัดเจนในส่วนของชื่ออาหารและส่วนประกอบ
5.แสดงคำเตือนและข้อแนะนำในการบริโภค
6.ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่ได้รับเลขสารบบอาหาร จะมีความปลอดภัยเมื่อบริโภคตามคำแนะนำ
7.สำหรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่แสดงถึงสรรพคุณ คุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ต้องได้รับอนุญาตก่อนทุกราย

*ข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2565*

ข้อควรระวัง อาการไม่พึงประสงค์จากกัญชา

ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถพบเจอได้ในผู้ที่บริโภคกัญชง กัญชา หรืออาหารที่มีส่วนผสมของกัญชง กัญชาเกินขนาด หรือบริโภคแล้วเกิดพิษจากกัญชา สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบเกิดจาก ”ช่อ-ดอก” ที่นำมาประกอบอาหาร ซึ่งช่อ-ดอกนั้นมีค่า THC สูงกว่า 5-20% เป็นค่าที่สูงกว่าค่าที่กำหนดมาก ทำให้เกิดผลกระทบที่อันตรายต่อร่างกายได้ในระยะเวลาเฉียบพลัน

ใครควรหลีกเลี่ยง

ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ. 2564, บทความพิษวิทยาของกัญชา วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล