Mango Zero

รวมขนาดภาพที่ต้องโพสต์แต่ละแพลตฟอร์ม Facebook, Twitter, Instagram และ YouTube

แต่ละแพลตฟอร์มของ Social Media นั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องการแสดงผลของสื่อ ภาพและวิดีโอ ซึ่งไม่ใช่ว่าเราสามารถใช้ภาพขนาดเดียวและโพสต์ลงไปทุกแพลตฟอร์มได้ เนื่องจากมันจะออกมาแตกต่างกันทั้งบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ดังนั้นถ้าเรารู้ว่าแพลตฟอร์มไหนแนะนำให้ใช้การแสดงผลอย่างไร คอนเทนต์ของเราก็จะออกมาน่าสนใจกว่าที่เคย

Facebook นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่เราสามารถลงสื่อได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพ ภาพชุด วิดีโอ และมีความซับซ้อนในเรื่องการปรับอัปเดตการแสดงผลอยู่แทบตลอดเวลา จึงถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เราต้องศึกษาเรื่องรูปแบบการทำคอนเทนต์ละเอียดมากที่สุด

ภาพชุดใน Facebook นั้นมีหลากหลายการแสดงผลมาก สิ่งสำคัญจึงเป็นสัดส่วนภาพที่ต้องใช้ให้ถูก ภาพจะออกมาเรียงกันในรูปแบบที่เราต้องการพอดี

ส่วนภาพ cover page นั้นจะมีการออกแบบให้สามารถแสดงผลได้ต่างกันในคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน จึงต้องออกแบบให้มีขอบเขตการแสดงผลที่ถูกต้อง

วิดีโอใน Facebook นั้นก็ใช้การแสดงผลพื้นฐานในสัดส่วนปกติอย่าง 16:9 และ 9:16 ที่สามารถรับชมได้เต็มจอ กับสัดส่วนแบบ 1:1 ที่เน้นการรับชมในสมาร์ทโฟน

แม้ว่า Twitter จะเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ได้ซีเรียสเรื่องการแสดงผลของภาพและวิดีโอเท่าไหร่ เน้นความไวเป็นหลัก แต่ด้วยข้อจำกัดที่สามารถโพสต์รูปได้ไม่เกิน 4 รูป และขนาดรูปที่ค่อนข้างจะมีลิมิตไว้ชัดเจน ก็ย่อมมีสัดส่วนรูปที่แนะนำเช่นกัน

Twitter นั้นใช้ภาพ cover ที่เน้นความยาว และจำกัดขนาดของภาพด้วย

Twitter ในแต่ละทวีตนั้นสามารถโพสต์ภาพได้สูงสุด 4 ภาพ ซึ่งภาพจะถูกเรียงตามสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไปตามจำนวนภาพที่เราทวีตอีกด้วย

Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่แสดงผลรูปและวิดีโอเต็มๆ ในหน้าฟีดของมือถือเรา ทำให้การใช้ขนาดภาพที่ไม่พอดีจะส่งผลให้รูปหรือวิดีโอนั้นออกมาเล็ก ดูได้ลำบาก

Instagram นั้นใช้สัดส่วนเดียวกันทั้งภาพและวิดีโอ เพราะจะแสดงผลทีละรูปแบบฟิตขอบจอ โดยวิดีโอนั้นจะมีเวลาจำกัดไม่เกินคลิปละ 60 วินาที

สำหรับคลิปยาวบน IGTV ก็จะแสดงผลแบบ 16:9 และ 9:16 โดยจะมีเวลาจำกัดไม่เกินคลิปละ 60 นาที ส่วนภาพหรือวิดีโอ Stories จะแสดงผลแบบเดียวกับ Facebook

วิดีโอบน YouTube นั้นสามารถอัปโหลดได้แทบทุกขนาด แต่จะแสดงผลดีที่สุดในสัดส่วนมาตรฐานอย่าง 16:9 ซึ่งอย่างน้อยขั้นต่ำถ้าความละเอียดของวิดีโอเราอยู่ที่ 720p ก็จะได้ภาพเคลื่อนไหวที่คม ไม่แตกจนเกินไป รวมไปถึงสำหรับผู้ทำคอนเทนต์บางคนถ้าอยากได้วิดีโอที่ลื่นๆ เนียนตา ก็สามารถบันทึกวิดีโอแบบ 60FPS เพื่ออัปโหลดก็ได้เช่นกัน

 

 


สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์