Mango Zero

จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? หากสนช. ผ่านร่างพ.ร.บ. ไซเบอร์ 2562

ในช่วงนี้กำลังมีอีกหนึ่งกระแสที่มาแรงนั่นก็คือ #พรบไซเบอร์ เนื่องจากอยู่ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีกำลังนำร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ฉบับปี 2562 เข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาผ่านร่างกฎหมายในวันนี้ (28 ก.พ.) ซึ่งก็มีกระแสคัดค้านบนโลกออนไลน์อยู่อย่างต่อเนื่อง

พ.ร.บ. ไซเบอร์ที่กำลังเป็นกระแสอยู่นี้ เป็นกฎหมายที่ทางคณะรัฐมนตรีพยายามผลักดันมาแล้วถึง 3 ครั้ง ในปี 2558 2560 และ 2561 และในช่วงนี้ก็ได้มีการนำร่างกฎหมายนี้ให้ที่ประชุมสนช. พิจารณาอีกครั้ง ร่างกฎหมายนี้มีเนื้อหาอะไรที่เราควรรู้ และจะเกิดอะไรขึ้นบ้างหากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากสนช. ไปดูกัน

ตามนิยามในมาตรา 3 ภัยคุกคามไซเบอร์ หมายถึง “การกระทำหรือดำเนินการใดๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรมไม่พึงประสงค์ โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุุษร้าย หรือ เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง”

โดยได้แบ่งภัยคุกคามไซเบอร์ ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเฝ้าระวัง ระดับร้ายแรง และระดับวิกฤต

โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่กำกับดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์ ได้แก่ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกซ.) คณะกรรมการส่งเสริมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ(กสส.) คณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (คกส.)

เมื่อกฎหมายบังคับใช้แล้ว การกระทำใดๆ ที่เข้าข่ายเป็นภัยคุกคามไซเบอร์ คณะกรรมการจะมีอำนาจสั่งการเจ้าหน้าที่ Cyber Security ดำเนินการดังต่อไปนี้

จุดสังเกตในกฎหมายฉบับนี้ก็คือ

ที่มา : iLaw, sanook, MThai, ประชาไท