Mango Zero

Podcast 101! แนะนำ 5 ขั้นตอนทำพอดแคสต์อย่างง่าย อ่านจบปุ๊บทำเป็นเลยทันที

ตอนนี้กระแสของสื่อใหม่ที่เริ่มจะค่อยๆ มาแรง และกลายเป็นที่สนใจทั้งในหมู่ของคนทำคอนเทนต์ออนไลน์ และคนที่เสพคอนเทนต์ออนไลน์ก็คือสื่อใหม่ที่เรียกว่า ‘พอดแคสต์’ หรือ ‘วิทยุออนไลน์’ ที่ฟังได้ทุกที่ทุกเวลา

แน่นอนว่าหลายคนที่ฟังพอดแคสต์ อาจเกิดความคิดอยากที่จะทำพอดแคสต์ของตัวเองบ้าง เพราะดูๆ แล้วมันไม่ยากอะไรในการทำ ใช้อุปกรณ์เริ่มต้นที่ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน แต่ติดอุปสรรคเล็กๆ ตรงที่ ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี

ในฐานะที่เราทำพอดแคสต์มา 3 ปีกว่าๆ (ช่อง GetTalks จ้า แอบโฆษณาหน่อย) เลยอยากจะพาทุกคนที่สนใจทำพอดแคสต์มาเข้าคลาสพิเศษ ‘Podcast 101 : แนะนำวิธีทำพอดแคสต์แบบง่าย’ เรามั่นใจเลยว่าอ่านจบปุ๊บ คุณจะมีรายการพอดแคสต์เป็นของตัวเองทันทีหลังจากนี้

บทที่ 1 : หาอุปกรณ์อัดเสียงแบบไหนก็ได้

อย่างแรกสุดเลยอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างมากในการทำพอดแคสต์คือเราต้องมี ‘เครื่องบันทึกเสียง’ ซึ่งเครื่องบันทึกเสียงมีหลายรูปแบบ ทั้งเป็นแบบไมโครโฟนบันทึกเสียงจริงจังที่มี USB สำหรับเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ หรือเชื่อมกับอุปกรณ์มิกซ์เซอร์เพื่อบันทึกเสียง หรือจะใช้แค่เครื่องอัดไฟล์เสียงธรรมดา ไปจนถึงแค่ใช้โทรศัพท์มือถืออัดก็ได้ทั้งนั้น

ถ้าถามว่าเราควรเลือกอุปกรณ์แบบไหนจะใช้ไมโครโฟนดีๆ ไปเลย หรือใช้แค่โทรศัพท์อัดเสียงไปก่อน คำตอบก็คือสำรวจความพร้อมของตัวเองก่อนว่าเราพร้อมจะลงทุนแค่ไหน ถ้ายังไม่พร้อมมากก็เอาอุปกรณ์บันทึกเสียงที่มีมาใช้ก่อน

เน้นอัดรายการในที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน เพื่อจะได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุด ไม่ต้องกลัวว่าเริ่มต้นด้วยการใช้มือถืออัดจะกาก เพราะหลายรายการพอดแคสต์ก็เริ่มต้นจากการใช้มือถือนี่แหละอัดเสียง (และปัจจุบันก็ยังใช้มือถืออัดอยู่)

ให้สรุปชัดๆ อีกทีก็คือเราทุกคนเริ่มต้นทำพอดแคสต์โดยใช้สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวได้เลย แต่ถ้ามีเงินทุน แล้วอยากลงทุนกับสิ่งที่ทำให้สนุกมากขึ้น คุณภาพดีขึ้นค่อยขยับขยายไปใช้ไมโครโฟนดีๆ  อย่างไรก็ตามไมโครโฟนชุดเดียวอาจไม่พอ เพราะถ้าอยากให้เสียงเนียนกริบเลย ต้องใช้ไมโครโฟนตามจำนวนคนในห้องอัด

บทที่ 2 : หาโปรแกรมตัดแต่งไฟล์เสียง

การทำพอดแคสต์ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการตัดแต่งเสียง ซึ่งโปรแกรมตัดแต่งเสียงนั้นมีเยอะมากให้เลือกเลย แต่ถ้าให้แนะนำโปรแกรมตัดแต่งเสียงระดับเบสิคที่ไม่ต้องลงทุนเลย เรามี 3 โปรแกรมมาแนะนำคือ

อันที่จริงแล้วโปรแกรมอัดเสียง ที่สามารถเชื่อมต่อกับไมโครโฟน แล้วเพิ่มเอฟเฟค ตัดเสียง เพิ่มเสียง และอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการจบงานไฟล์เสียงนั้นมีเยอะมากๆ ลองโหลดมาใช้ดูได้ เพราะทุกโปรแกรมที่แนะนำนั้น ฟรี!

บทที่ 3 : หาพื้นที่สำหรับปล่อยไฟล์ Podcast 

อีกหนึ่งไฮไลต์ที่สำคัญและเป็นคำถามบ่อยมากๆ ก็คือถ้าทำพอดแคสต์ต้องเอาไฟล์ไปไว้ที่ไหนถึงจะเรียกสิ่งที่เราทำว่าเป็นพอดแคสต์ และตอนนี้มีผู้ให้บริการพื้นที่สำหรับทำพอดแคสต์มากน้อยแค่ไหน คำตอบก็คือมีไม่เยอะมาก แต่ก็มีตัวเลือกที่น่าสนใจ และทุกคนสามารถเลือกได้ตามความสะดวก 3 ช่องทางคือ

บทที่ 4 : ต้องเชื่อมรายการไปช่องทางฟังพอดแคสต์อื่นๆ ด้วย

ผู้ฟังพอดแคสต์ตอนนี้ไม่ได้ฟังแค่ที่ Soundcloud Podbean หรือ Anchor แต่หลายคนเลือกที่จะฟังแพลตฟอร์มอื่นที่สามารถฟังพอดแคสต์ได้ และหน้าที่ของผู้ผลิตพอดแคสต์คือต้องกระจายรายการของตัวเองไปยังช่องทางเหล่านั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ได้เพื่อให้คอนเทนต์ถึงคนฟัง ซึ่งเจ้าของพอดแคสต์ต้องกดอนุญาตให้ทุกแพลตฟอร์ตที่เกี่ยวกับการฟังพอดแคสต์ ดึงไฟล์ไปได้ผ่านทาง rss feed ก่อนซึ่งไม่ยากเลยในการตั้งค่า และสำหรับแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในการฟังพอดแคสต์มีตัวอย่างเช่น

บทที่ 5 : เตรียมคอนเทนต์ให้พร้อม

ข้อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในการทำพอดแคสต์คือ เราต้องมีคอนเทนต์ที่มั่นใจก่อนว่าสามารถทำได้อย่างคล่อง หาข้อมูลมาเล่าได้ตลอด แต่เราคงไม่สามารถบอกได้ว่าคอนเทนต์แบบไหนที่คนฟังมากที่สุด เพราะจักรวาลพอดแคสต์ในไทยมีหลายแนวตั้งแต่รายการวาไรตี้ รายการผี รายการพัฒนาตัวเอง รายการให้ความรู้เฉพาะด้าน ถ้าคนจะฟังแล้วติดก็ต้องอยู่ที่ศิลปะการนำเสนอของแต่ละคน

ส่วนคอนเทนต์ความยาวเท่าไหร่กำลังดี มีคนฟังเยอะก็ไม่สามารถตอบฟันธงได้ เพราะรายการที่ดังคนฟังเยอะก็มีความยาวที่ต่างกันตั้งแต่ 8 นาที ไปจนถึง 3 ชั่วโมง ที่สุดแล้ว ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตัวรายการที่คุณอยากทำ

รายการสั้นๆ อาจจะมีข้อได้เปรียบตรงที่ฟังไม่นานคนฟังก็อาจจะเลือกติดตาม หรือเลิกติดตามได้อย่างรวดเร็วถ้าไม่ตรงจริต แต่รายการยาวๆ ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนฟังเลย ถ้าคนที่ชอบฟังอะไรเพลินๆ ฟังไปได้เรื่อยๆ เขาก็จะเลือกฟังรายการยาวๆ ในบางโอกาส

สุดท้ายเหนือสิ่งอื่นใดคือความสม่ำเสมอ ถ้าเราทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และมั่นใจว่าคอนเทนต์เราดีพอ เป็นประโยชน์กับคนฟัง ขยันทำโซเชียลในการโปรโมทรายการ ไม่นานจะมีคนมาฟังเราเยอะขึ้นเรื่อยๆ แน่นอน