Mango Zero

Hurt at first science วิทยาศาสตร์กับอาการอกหัก

‘อกหัก’ เป็นเรื่องปกติของชีวิต ไม่ว่าใครต่างก็เคยมีประสบการณ์การอกหักกันทั้งนั้น และอย่างที่ทุกคนรู้การอกหักนั้น ‘เจ็บปวด’ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่อาการเจ็บปวดที่แสดงออกมาทางกายภาพ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ออกมายืนยันว่ามันเจ็บจริง (แง) นอกจากนั้นแล้วมันยังสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ และในวันนี้เองเราจะทำความเข้าใจอาการ ‘อกหัก’ ตามหลัก ‘วิทยาศาสตร์’ กัน

อาการอกหักเจ็บปวดได้เหมือนกับอาการเจ็บปวดทางกาย

มีงานวิจัยในปี 2011 พบว่าอาการอกหักสามารถแสดงความเจ็บปวดได้เหมือนกับความเจ็บปวดทางด้านร่างกาย และพบว่าสมองของเรารับรู้ถึงความเจ็บปวดจากการอกหักได้เหมือนกับตอนถูกเผาที่แขน

นอกจากนั้นแล้วยังเรายังมีสิทธิ์เสียชีวิตได้จากอกหักอีกด้วย เพราะอาการเศร้าทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น และอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

และในงานวิจัยปี 2018 พบว่า พ่อหม่ายและแม่หม่ายกว่า 41% มีโอกาสเสียชีวิตหลังจาก 6 เดือนหลังจากที่คู่สมรสของตนเองเสียชีวิต โดยเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงก็คือคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

เข้าใจอาการอกหัก

ในทางวิทยาศาสตร์เมื่อเราอกหัก ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน คอติซอล (Cortisol) ที่เป็นฮอร์โมนของความเครียด ทำให้ร่างกาย อ่อนแอ รู้สึกไม่มีแรงจะทำอะไร และสมองหยุดการผลิตสารที่สร้างความสุขออกมา เช่น โดพามีน (Phenylethylamine) เฟนิลเลไธลามีน (Dopamine) และเอนดอร์ฟินส์ (Endorphins) ที่เป็นสารที่ช่วยสร้างความสุข นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมตอนเราอกหักเราถึงไม่มีความสุข

ระยะของอาการอกหัก

ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว เราสามารถแบ่งอาการอกหักได้เป็น 5 ระยะได้แก่

โดยแต่ระยะ 1-4 นั้นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นตามลำดับ และสามารถเกิดขึ้นสลับกันได้

วิทยาศาสตร์กับการรับมืออาการอกหัก

หลักจากเรารู้แล้วว่า อาการอกหักคืออะไร และระยะของการอกหักเป็นเช่นไร แล้ววิทยาศาสตร์มีจะรับมือกับอาการอกหักอย่างไร ? ในทางวิทยาศาสตร์แล้วมีหลากหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งเราขอยกตัวอย่างที่ทุกคนสามารถทำได้เมื่อการอาการอกหัก

อ้างอิง : https://greatist.com/happiness/science-broken-heart https://theanatomyoflove.com/blog/the-science-of-heartbreak/ https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/heartbroken_love