Mango Zero

สรุป 5 สิ่งใหม่ของ ‘KBank’ ที่จะเกิดขึ้นกับภารกิจเปลี่ยนธนาคารเดิมๆ ให้เป็น ‘ธนาคารยุคใหม่’

ธนาคารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโลกดิจิทัลสูงมาก เนื่องจากโลกอินเทอร์เน็ตทำให้ธนาคารต้องปรับตัวเพื่อที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตลูกค้ามากขึ้นตามพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ธนาคารในโลกยุคใหม่หากคิดจะเป็นแค่เป็นที่ฝากถอนเงินอย่างเดียว สุดท้ายไม่พ้นคงโดน digital disruption

แต่ KBank คือธนาคารที่ปรับตัวสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมาตลอดเพื่อให้ธนาคารกสิกรไทยเป็น ‘ธนาคารยุคใหม่’ ที่อยู่บนโลกดิจิทัล และเติบโตอย่างแข็งแรงโดยใช้ดาต้าที่มีอยู่เพื่อทำให้ลูกค้ามีความสะดวกสบายมากที่สุดในการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมถึงธนาคารเองก็สามารถนำดาต้าไปสร้างความเติบโตทางธุรกิจทุกภาคส่วนได้มากขึ้น นั่นจึงเป็นภารกิจใหม่ของธนาคารกสิกรไทย ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความแตกต่าง สร้างประสิทธิภาพในการทำงานของธนาคารให้มีพลังมากที่สุดในยุคที่ธนาคารอยู่ในมือทุกคน

อะไรที่เป็นภารกิจใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของวงการธนาคารไทย รวมไปถึงธนาคารกสิกรไทย นี่คือสรุปสาระสำคัญจากงาน A Year of i เราจะได้เห็นว่าธนาคารกสิกรไทย ไปไกลกว่านิยามของธนาคารแบบเดิมมากแค่ไหนในปีนี้และต่อๆ ไป

ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญให้ประเทศ
– ‘ปรีดี ดาวฉาย’ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย 

เริ่มที่หัวข้อแรกปรีดี ดาวฉายกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้ออกมาเล่าถึงเรื่องการพัฒนาโครงสร้างทางการเงินพื้นฐาน โดยสรุปว่าทุกวันนี้การทำธุรกรรมบนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องแปลก ดังนั้นธนาคารกสิกรไทย รวมถึงธนาคารอื่นๆ จึงต้องร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการเงินของประเทศให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยตอนนี้สิ่งที่ธนาคารไทยกำลังจะทำคือผลักดันให้ภายใน 2 ปีคนไทยจะได้รับบริการทางการเงินใหม่ๆ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยจะเข้าร่วมในการพัฒนาช่องทางต่างๆ ด้วยได้แก่

ใช้บิ๊กดาต้าวิเคราะห์ลูกค้าและพัฒนาระบบภายใน
– ‘ขัตติยา อินทรวิชัย’ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

หนึ่งในสิ่งที่ธนาคารกสิกรไทย ทำมาอย่างยาวนานคือการเก็บดาต้าของลูกค้าจำนวนมหาศาลจนกลายเป็นบิ๊กดาต้า ซึ่งบิ๊กดาต้าเหล่านี้ก็ถูกนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปพัฒนาการบริการให้ลูกค้าในระดับที่ว่าสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าเป็นรายคนได้ ประโยชน์ของการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าเป็นรายคน และการใช้บิ๊กดาต้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง นี่คือบทสรุปที่ได้จาก ‘ขัตติยา อินทรวิชัย’ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ปรับธุรกิจเพื่อเข้าสู่โลกยุค ‘เศรษฐกิจผสานมิติ’
– ‘พิพิธ เอนกนิธิ’ กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย 

ในยุคที่สงครามการค้า การพัฒนาของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทั่วโลกเกิดขึ้นได้ตลอด ส่งผลให้ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ถ้าไม่ปรับตัวอาจจะล้มหายตายจากไปได้ โดยที่ทุกอย่างเกิดขึ้นไวมาก ซึ่งนี่คือยุคของเศรษฐกิจผสานมิติ‘ 

พิพิธ เอนกนิธิกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จึงเล่าเรื่องการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจธนาคารอยู่รอด และช่วยผลักดันธุรกิจไทยให้เติบโตไปด้วยกัน โดยแผนในการปรับตัวของธนาคารกสิกรไทยที่จะทำก็คือ

เดินหน้าสร้างรายได้ด้วยบิ๊กดาต้าที่มี
– ‘พัชร สมะลาภา’ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ปีที่ผ่านมามีการแข่งขันในวงการธนาคารไทยเยอะมาก รวมไปถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทำให้ธนาคารต้องหาวิธีขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคง แผนในปีนี้ของธนาคารกสิกรไทยก็คือการตั้งเป้าการเติบโตและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธนาคาร โดยผู้นำภารกิจนี้คือ ‘พัชร สมะลาภากรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และนี่คือสิ่งที่สรุปได้

ทุ่มทุน 5,000 ล้านบาทพัฒนา KBTG เป็นบริษัทไอทีเบอร์หนึ่ง
– ‘เรืองโรจน์ พูนผล’ ประธานกสิกร บิซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป 

KBTG คือบริษัทเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย โดยโปรดักค์หลักของธนาคารกสิกรไทยก็คือ K PLUS ซึ่งหลังจากนี้ไปธนาคารกสิกรไทยจะลงทุนพัฒนานวัตกรรมทางการเงินโดยนำ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ และบุคลากรคุณภาพมาช่วยในการขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน ไม่ได้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป้าหมายคือการสร้างธนาคารอัจฉริยะที่แท้จริง

ซึ่งหัวใจสำคัญในการสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และพัฒนาบุคลากรให้ไปถึงเป้าโดยใช้งบ 5,000 ล้านบาท โดยเป้าหมายที่เรืองโรจน์ พูนผลประธานกสิกร บิซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) บอกกับเราได้แก่