Mango Zero

5 วิธีลดความเสี่ยงอาการปวดกล้ามเนื้อจากการขับรถ!

เชื่อว่าหลายคนคงใช้ชีวิตอยู่บนรถมากกว่าอยู่บ้านซะอีกก็อย่างที่รู้ๆ กันว่าสภาพการจราจรบ้านเรานั้นติ๊ดดดดติดซะเหลือเกินและการที่ต้องขับรถอยู่ในท่าเดิมนานๆแบบนี้ จะนำมาซึ่งอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ที่อาจเรื้อรังจนกลายเป็นโรคกล้ามเนื้อคออักเสบ ,โรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ และหมอนรองกระดูกเสื่อมได้ ยิ่งถ้าไม่รีบลดความเสี่ยงละก็สารพัดโรคกล้ามเนื้อถามหาแน่ มาดูวิธีเลี่ยงกันค่ะ

ปรับเบาะที่นั่งให้เหมาะกับสรีระของเรา

ควรปรับเบาะที่นั่งในท่าที่เราสบายที่สุด ไม่ควรปรับเบาะนั่งตรงเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการเกร็งได้เมื่อนั่งขับรถเวลานานๆ และส่งผลต่ออาการปวดกล้ามเนื้อได้ การปรับเบาะนั่งที่แนะนำขณะขับรถคือ แขนต้องงอขณะจับพวงมาลัย ,ระยะห่างของเบาะต้องทำให้เราสามารถขับเบรกได้สุด ,ระยะห่างของศีรษะและเพดานต้องไม่ติดกันจนเกิดไป และนั่งใให้ชิดเต็มเบาะ

เล่นโยคะง่ายๆ ในรถ

ด้วยความที่รถมีพื้นที่จำกัด จะขยับตัวอะไรก็ได้ไม่มากนัก แต่จะอยู่ท่าเดิมก็จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อได้ ซึ่งระหว่างที่รถติด ให้ลองยืดกล้ามเนื้อแขนบ้าง เช่น

เหมือนเราได้ยืดเส้น ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ค่ะ

สร้างบรรยากาศเพื่อลดความตึงเครียด

ภาวะเครียดสะสมของกล้ามเนื้อที่ตึงตัวและหดเกร็ง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณนั่งเกร็งอยู่ในท่าเดิม การเล่นเพลย์ลิสท์ที่คุณชื่นชอบ หรือปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม ช่วยสร้างบรรยากาศที่อาจทำให้คุณบรรเทาความตึงเครียดและผ่อนคลายยิ่งขึ้น

ปรับกระจกข้างและมองหลังให้พอดี

การปรับกระจกมองข้างและกระจกมองหลัง นอกจากจะปรับให้มองเห็นชัดเจนแล้ว ต้องปรับให้เรารู้สึกไม่ต้องเอี่ยวตัวเยอะ เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้

ถุงร้อน-เย็นช่วยบรรเทาอาการปวดได้

แต่สำหรับใครที่ต้องขับรถเป็นเวลานาน จนเกิดอาการปวดเมื่อยแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนเดินทางให้พกถุงเย็นและถุงร้อน หรือ Ice Pack – Hot Pack ค่ะ และนำมาประคบระหว่างเดินทาง ขยับไปมา จะช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นได้ค่ะ

มีถุงประคบร้อน/เย็น พกไว้ ใช้ได้ทั้งประคบร้อนและเย็น ปวดเมื่อยเมื่อไหร่ก็มีใช้ 🙂 -> Cold/Hot Pack

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี