ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ก่อต้ัง Documentary Club กับศรัทธาที่มีต่อหนังสารคดีในไทย

Writer : Taey Ch

: 22 กุมภาพันธ์ 2560

thida-talk-documentary-club-founder-feature

สารคดีมักจะถูกรับรู้ว่าเป็นของไม่สนุก มีแต่ข้อมูลที่แข็งทื่อและจริงจัง แถมยังเป็นของหาดูยากเหมือนเป็นลูกเมียน้อยในวงการภาพยนตร์ ไทย แต่คุณธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ที่มีศรัทธาในสารคดี ได้ก่อตั้ง Documentary Club เป็นตัวแทนนำภาพยนตร์สารคดีเข้ามาให้คนไทยได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกลขึ้นกว่าเดิม ทีมงาน Mango Zero จึงอยากจะนำแนวคิดของคุณธิดามาเผยแพร่ให้ทุกคนได้ฟังกัน

งานในครั้งนี้ที่เราไปร่วมฟังคืองาน ธิดา ทอล์ก “Documentary Club กับการสื่อสารเพื่อสร้าง Community” ซึ่งจัดขึ้นโดย TCDC (Thailand Creative & Design Center) ณ TCDC COMMONS ชั้น 3 อาคารไอดีโอ คิว จุฬา – สามย่าน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

documentary-club-tcdc-1

www.facebook.com/tcdccommons

บรรยากาศในงานเต็มไปด้วยเหล่าสาวกผู้ติดตาม Documentary Club คนที่ชื่นชอบภาพยนตร์สารคดี รวมถึงคนที่ติดตามคุณธิดาในฐานะผู้สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็น 2 ชั่วโมงกว่าปกคลุมไปด้วยความอบอุ่นแบบเป็นกันเอง เพราะมีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมดเพียงแค่ 40 คน เรียกว่าได้ฟังกันแบบพิเศษจริงๆ

 documentary-club-tcdc-9

Documentary Club คือ?

  • เป็นโครงการเฟ้นหาและซื้อสิทธิหนังสารคดีที่ดีและที่น่าดูจากทั่วโลกมาจัดฉาย โดยแปลภาษาต้นฉบับ ทำซับไตเติลภาษาไทย โดยนำมาฉายในโรงให้คนทั่วไปได้ดูกัน และยังมีการตั้งวงพูดคุย แลกเปลี่ยนบทสนทนากัน ซึ่งเนื้อหาที่พูดคุยจะไม่จำกัดว่าต้องเป็นเรื่องของหนังเท่านั้น แต่จะไปไกลเท่าที่หนังเรื่องนั้นพาไปและตามแต่ความกระหายใคร่รู้ของผู้ชม

 

documentary-club-tcdc-11

ต้นกำเนิดของ documentary club

คุณธิดาเล่าว่า อยากทำให้สารคดีมีพื้นที่ในไทย เพราะเชื่อว่า มีการผลิตคนทำหนังเยอะแล้ว แต่คนทำหนังจำนวนมากไม่ได้มีอินพุต(input) ที่หลากหลายพอ เราวนเวียนกับการดูหนังที่เห็นๆ กันทุกวัน มีทางเลือกในการดูน้อยลง เลยคิดว่าถึงเวลาที่ต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อให้หนังที่คิดว่าควรจะปรากฏได้แล้วได้เข้ามาฉายในไทย ก็เลยเกิดเป็น Documentary Club ขึ้นมา

 

 

“คนไทยไม่ดูสารคดีหรอก”

เพราะความคิดแบบเดิมๆ ว่าหนังสารคดีน่าเบื่อ ทุนต่ำ ไม่มีดารา โปรดักชันไม่เยอะ มันจะสนุกยังไง หรืออาจเพราะเราคิดว่าความรู้เป็นสิ่งที่ต้องพากเพียรไม่ใช่ทุกคนที่จะอยากได้ ถ้าอยากจะดูก็ต้องขวนขวายไปดูเอง

แต่คุณธิดาคิดว่ายังมีคนจำนวนหนึ่งที่มีเซ้นส์(Sense) ของการแสวงหาความรู้ เพราะในหลายๆ ครั้งที่มีการจัดสารคดีก็จะมีคนมาร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุย อยากรู้นู่นนี่เพิ่มเติม เชื่อว่ายังมีคนไทยที่ต้องการแสวงหาความจริงในรูปแบบต่างๆ แสวงหาความรู้ในรูปแบบใหม่ๆมากขึ้น

 

ตัวอย่างสารคดี ที่ Documentary Club นำเข้ามาฉาย

 finding-vivian-maier

1. Finding Vivian Maier

เป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกที่คุณธิดานำเข้ามาฉาย ซึ่งถือเป็นหนังแจ้งเกิดของ Documentary Club เลย เพราะช่วงนั้นอยู่ในกระแสการถ่ายรูป Street พอดี ทำให้หนังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป เป็นที่พูดถึงและถูกส่งต่ออย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์

เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Documentary Club มีที่ยืน เป็นการพิสูจน์ว่าตลาดสารคดีเป็นที่ต้องการ แต่แค่ยังไม่มีใครเข้ามาเป็นตัวเชื่อม และตัวผู้ก่อต้ังเองก็ได้เรียนรู้ว่าต้องโฟกัส(focus) ให้ชัดว่ากลุ่มเป้าหมายที่เรากำลังทำงานกับเขาเป็นใคร ใช้ชีวิตแบบไหนและมีความต้องการอย่างไร

 

Amy

2. Amy

เป็นเรื่องที่ทำให้คุณธิดามั่นใจเริ่มว่ามีกลุ่มคนที่ตามดู มีคนรู้จักและคอยติดตาม Documentary Club อยู่ มีพื้นที่ยืนและทำให้คิดว่าเดินมาถูกทางแล้ว ซึ่งในแง่ธุรกิจก็ทำให้ทำงานง่ายขึ้น คุยกับผู้ร่วมธุรกิจง่ายขึ้น เริ่มเห็นแนวทางว่าเราทำอะไรอยู่

 

the-wolfpack

3. The Wolfpack

หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ได้รับรางวัล Sundance และเป็นที่ชื่นชอบของนักวิจารณ์ แต่พอนำมาฉายในไทยกระแสกลับเป็นที่ฮือฮาในแง่ของนักแสดง(ที่หล่อ) เลยทำให้คนดูไปติดตามนักแสดงต่อกันอย่างจริงจัง เลยเป็นอีกมิติว่าเสน่ห์ของสารคดีคือการที่คนดูผูกพันกับวัตถุ(subject)ในหนัง เพราะสารคดียืนอยู่บนเรื่องความเป็นจริง

 

the-new-rijksmuseum

4. The New Rijksmuseum

เป็นเรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ไรจ์คส์ หรือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งอัมสเตอร์ดัม โดยมีกระแสคนดูเยอะมาก(อย่างที่ไม่ได้คาดคิด) ทำให้คุณธิดาคิดกิจกรรมขึ้นมาต่อยอดเป็นการร่วมชิงรางวัลหนังสือภาพที่รวมผลงานของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไว้ โดยเหตุผลที่คนดูเยอะคุณธิดาบอกว่าบางคนก็ไปดูหนังเรื่องนี้เพราะอยากไปเที่ยว อยากได้เห็นผลงานศิลปะบนจอใหญ่ๆ

 

where-to-invade-next

5. Where to Invade Next

เรื่องของไมเคิล ตัวแทนชาวอเมริกา ที่อาสาพาไปบุกโลกกว้าง ดูความเจริญในประเทศต่างๆ ทั้งเรื่องวันหยุดของลูกจ้างในอิตาลี อาหารโรงเรียนสุดหรูของฝรั่งเศส การศึกษาของฟินแลนด์ มหาวิทยาลัยเรียนฟรีในสโลวีเนีย รวมถึงว่าทำไมเยอรมันต้องสอนประวัติศาสตร์ยุคนาซีแก่เด็ก

คุณธิดาบอกว่าหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำงานกับคนไทยมาก ทั้งที่รายได้ในอเมริกาไม่เยอะ อาจเป็นเพราะประเด็นหลายๆ อย่างในหนังมันสอดคล้องกับสิ่งที่คนไทยกำลังเผชิญและตั้งคำถาม การฉายหนังเรื่องนี้เลยเกิดเป็นเวทีสนทนาตามมาทั้งหมดถึง 6 เวที มีองค์กรต่างๆ เข้ามาสนับสนุนให้จัด อย่างเช่นเรื่องการศึกษาของฟินแลนด์ที่เป็นที่สนใจมาก

 

oasis-supersonic

6. OASIS: SUPERSONIC

เป็นหนังสารคดีที่ทำเงินสูงสุดของ Documentary Club ณ ตอนนี้ รวมถึงเป็นหนังสารคดีต่างประเทศที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยเลยด้วย และเพราะเป็นหนังเกี่ยวกับดนตรี ในรอบสุดท้ายของการฉาย คุณธิดาเลยจัดให้เป็นรอบพิเศสคือ Sing-Along ให้คนดูได้ร่วมร้องเพลงตามไปกับหนังได้

ภาพยนตร์สารคดีให้ความรู้แก่ทั้งคนชมและคนจัด

จะเห็นได้ว่าภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่ Documentary Club นำมาฉายนั้น เป็นประเด็นที่ต่างกันไปในสังคม ซึ่งนอกจากจะให้ความรู้แก่ผู้ชมในแบบที่ต่างไปแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ของตัวผู้จัดเองด้วย ในการหาวิธีสอดแทรก ปรับเปลี่ยนการทำงานให้สนุกขึ้น และน่าสนใจขึ้นในแบบต่างๆ เช่น มีการจัดเวทีพูดคุย มีการร่วมชิงของรางวัล และมีการจัดให้ชมแบบพิเศสเป็น Sing-Along(ให้คนดูร้องเพลงตาม) เป็นต้น

แนวทางและอนาคตของ Documentary Club

ตอนนี้เริ่มมีการสร้าง community ที่เป็นโรงหนังแล้ว คือไม่ได้จำกัดว่าต้องฉายบนโรงใหญ่ๆ เท่านั้น แต่สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อขอหนังไปฉายได้ในจังหวัดต่างๆ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่คุณธิดาตั้งใจไว้ ในการอยากกระตุ้นให้เกิด Flim Club ขึ้นมาอีกหลายๆ ที่ รวมถึงอยากจะจัดทำเวิร์คช็อป(workshop) เกี่ยวกับการศึกษา เพื่อจะไปสู่การสร้างคน และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนระหว่างคนทำสื่อให้ได้มาเจอพื้นที่ร่วมกันตรงกลาง

 

life-animated

สำหรับใครที่สนใจชมภาพยนตร์สารคดีจาก Documentary Club ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 จะมีหนังเรื่อง Life, Animated (2016) เข้ามาฉายให้ได้ชมกัน สามารถลองเปิดโลกทัศน์และจมดิ่งไปกับมิติใหม่ๆ ในการดูหนังได้ : )

 

ติดตาม Documentary Club ได้ที่


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save