category คู่มือเบื้องต้น การดูแลคุณพ่อให้เป็น Super Dad สุดแข็งแรง

Writer : Kreenp

: 8 ธันวาคม 2560

how-to-take-care-your-dad-to-beign-super-healthy-dad-05

ในโลกนี้คงไม่มีผู้ชายคนไหนที่คอยรักและดูแลเราตั้งแต่ยังเด็ก จนเรายกให้เป็นซูเปอร์ฮีโร่ในดวงใจเท่าคุณพ่อของเราอีกแล้ว เมื่อเราโตขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นไปตามกาลเวลาว่าคุณพ่อซูเปอร์ป่าป๊าก็จะแก่ลง ทั้งโรคต่างๆ ที่ตามมา และร่างกายที่อ่อนแอลงด้วย

มาร่วมเป็นซูเปอร์คุณลูกที่ช่วยดูแลคุณพ่อของเราให้สุขภาพดีทั้งกายและใจกันเถอะ !!

เมื่อคุณพ่อ อายุ 40 ปี ขึ้นไป ฮอร์โมนเพศจะลดลงเรื่อยๆ จนอาจเกิดอาการผิดปกติของร่างกายเราจึงควรเริ่มสังเกตและหมั่นดูแลท่านมากขึ้น โดยควรดูแลการใช้ชีวิตประจำวันในทุกด้าน ทั้งการกิน, การพักผ่อน และเพิ่มความแข็งแรงด้วย โดยยกมาเป็นข้อๆ ดังนี้

how-to-take-care-your-dad-to-beign-super-healthy-dad-04-07-06

กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงหวาน มัน เค็ม และอาหารสังเคราะห์

อาหารเป็นสิ่งที่เรารับสู่ร่างกายและส่งผลต่อระบบการทำงานต่างๆ เมื่ออายุมากขึ้นควรควบคุมการทานอาหารเลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารทอดหรืออาหารที่มีไขมันสูงเพราะจะดกิดการสะสมเป็นโรคร้ายตามมาได้ง่าย รวมทั้งหันมาทานผักผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อช่วยระบบย่อยอาหาร และอย่าลืมหาทานแคลเซียมเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุนด้วย

ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่หลีกเลี่ยงการกระแทก และ กระโดด

การออกกำลังกายวันละ 30 นาที อย่างต่ำเป็นประจำเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความคล่องตัว ยิ่งไปกว่านั้นการพาท่านไปออกกำลังกายยังเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างครอบครัว อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายต้องเลือกชนิดและรูปแบบให้เหมาะกับคุณพ่อด้วย หลีกเลี่ยงการกระแทกแรงๆ และกระโดด เพราะจะเป็นอันตรายต่อข้อต่อ หากคุณพ่อใครมีปัญหาอาจลองเปลี่ยนมาเป็นเดินออกกำลัง หรือว่ายน้ำแทน

พักผ่อนวันละ 6-8 ชม ขึ้นไป

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพและเพียงพอสำคัญอย่างมาก การนอนหลับจะทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น รวมไปถึงสภาพอารมณ์ด้วย คุณพ่อคนไหนนอนดึกตื่นเช้าไม่ครบ 6-8 ชั่วโมง ลองปรับให้ท่านได้พักผ่อนมากขึ้น เพื่อการชาร์จพลังระบบร่างกายดูนะ

ตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

เมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงที่จะเป้นโรคต่างๆ จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย ทั้งมะเร็งต่างๆ, โรคเบาหวาน, ไขมันในเส้นเลือด, ความดัน ซึ่งเจ้าพวกโรคแบบนี้พอเป็นทีก็จะพ่วงกันมาเป็นทอดๆ การตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อจะได้รักษาแต่เนิ่นๆ และดูแลตัวเองได้ถูกวิธีด้วย

ใช้เวลาอยู่กับท่าน อย่าปล่อยให้เหงา

ให้เวลากับคุณพ่อด้วย หมั่นโทรไปคุยเล่น, พาไปกินข้าวในวันหยุดบ้าง คอยดูแลเอาใจใส่ท่านเท่านั้นก็จะช่วยให้ท่านมีจิตใจเบิกบานและมีชีวิตชีวาขึ้นอย่างแน่นอน เพราะสำหรับคุณพ่อแล้วการได้รับการดูแลจากลูกๆ เป็นความสุขสูงสุดที่หาซื้อไม่ได้

อย่าปล่อยให้อยู่เฉยลองหางานอดิเรกให้ทำบ้าง

หากิจกรรมที่ท่านชอบให้ท่านได้ทำบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ผ่อนคลายและไม่รู้สึกว่าตัวเองอยู่เฉย สนับสนุนให้ท่านได้เจอเพื่อนๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและทำให้คุณพ่อฝึกการใช้ความคิดและมีสมาธิขึ้นด้วย

งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์

ผลที่ตามมาจากทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และบุหรี่เป็นอันตรายอย่างมากสำหรับคุณพ่อ ถ้าเป็นไปได้ควรลดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ให้ดื่มเฉพาะโอกาสสำคัญไม่เกินครั้งละ 2 แก้วเท่านั้น และเลิกบุหรี่ไปเลย

โรคร้ายที่คุณพ่อต้องระวัง

how-to-take-care-your-dad-to-beign-super-healthy-dad-04-07

  • เบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ง่ายกับคุณพ่อที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์หรือชอบรับประทานอาหารประเภทแป้งมากเกินไป, บางคนอาจเกิดจากกรรมพันธ์ รวมทั้งความเครียดก็สามารถเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน โรคเบาหวานมักไม่มีอาการชัดแสดงออกมาให้เห็น การหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอก็เป็นการป้องกันและควบคุมโรคนี้ได้

การสังเกต  –  เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดไว แน่นหน้าอก ใจสั่น

  • ความดันโลหิตสูง

โรคนี้มักเกิดจากคุณพ่อที่ทำงานอยู่ภายใต้ความกดดันและใช้ความคิดเป็นประจำ โดยโรคนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคอันตรายที่ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, อัมพฤกษ์, อัมพาต, ไตวาย อีกด้วย

การสังเกต – ปวดศรีษะบ่อย หน้ามืด ตาพร่า

  • โรคหัวใจ

การสังเกต – แน่นหน้าอก ปวดบวมตามข้อ

  • ต่อมลูกหมากโต

การสังเกต – ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกะปริบกะปรอย

  • โรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุนคือ ภาวะที่เนื้อกระดูกบางลงเนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูกทำให้มีความเสี่ยงต่อการหักของกระดูกมาขึ้น มักเกิดกับคนที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย, ใช้ร่างกายหนัก, เครียด, สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอลล์และเครื่องดื่มคาเฟอีนเป็นประจำ เป็นต้น เมื่อคุณพ่ออายุ 40 ขึ้นไป จึงควรพาไปตรวจความหนาแน่นกระดูกเป็นประจำ เพราะโรคนี้ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการอะไร เมื่อเริ่มมีอาการอย่าง การปวดกระดูกตามส่วนต่างๆ แสดงว่าเป็นโรคกระดูกพรุนมากแล้ว

การสังเกต – ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับนำหนัก ความสูงค่อยๆ ลดลง

ที่มา : Doctorinsta, Manager.co.th, Sanook

 

 

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save