ตำรวจยอมรับใช้ ‘แก๊สน้ำตา’ ผสมน้ำเข้าสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวันในม็อบ #16ตุลา


: 9 พฤศจิกายน 2563

หลังจากเมื่อวานนี้ (8 พ.ย. 63) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีคำสั่งฉีดน้ำเพื่อสลายการชุมนุม แม้จะได้แจ้งภายหลังแล้วว่าเป็นความผิดพลาด ทำให้เกิดเป็นประเด็นถกเถียงในโซเชียลอีกครั้ง และล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้ออกมายอมรับถึงส่วนผสมของน้ำที่ใช้ฉีดสลายชุมนุมที่แยกปทุมวันเมื่อเดือนก่อนนั้น มีการใช้แก๊สน้ำตาจริง

โดยพ.ต.ท.ชวลิต หรุ่นศิริ รองผู้กำกับการ กองกำกับการควบคุมฝูงชน 2 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ได้ออกมาชี้แจงกับ กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ ว่า การสลายการชุมนุมบริเวณแยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 16 ต.ค.63 นั้น 

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ฉีดน้ำแรงดันสูงที่มีส่วนผสมของสารเคมี 2 ชนิด ได้แก่ ‘สารเคมีสีฟ้า หรือสารเมทิลไวโอเลตทูบี’ และ ‘แก๊สน้ำตา’

โดยอัตราส่วนการผสมของสารเมทิลไวโอเลตทูบี ใช้อัตราส่วนผสม น้ำ 97% ขณะที่แก๊สน้ำตานั้น ผสมแบบเจือจาง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชุมนุม แต่ผู้สื่อข่าวที่อยู่ในพื้นที่รายงานว่า มีอาการแสบตา แสบหน้า และแสบคอ เมื่อโดนน้ำร่วมด้วย

ส่วนสาเหตุที่ใช้น้ำ เนื่องจากผู้ชุมนุมเข้าใกล้สถานที่สำคัญ ระยะ 150 เมตร โดยการฉีดน้ำแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ฉีดน้ำเปล่าไปด้านบนและกดต่ำลงพื้นถนน ก่อนประกาศว่าจะใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง เมื่อผู้ชุมนุมยังฝ่าฝืน เริ่มก่อความรุนแรง 

ในช่วงที่ 2 จึงใช้น้ำสีฟ้า เพื่อระบุตัวบุคคลผู้กระทำผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และสุดท้ายเมื่อสถานการณ์ไม่ยุติจึงใช้แก๊สน้ำตา สลายการชุมนุม โดยยืนยันว่าดำเนินการโดยใช้หลักสากล ตามกฎหมาย เป็นไปตามสถานการณ์   

ด้าน “ไอลอว์” ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการสลายการชุมนุมสากลนั้น ได้ชี้แจงว่า ปืนใหญ่ฉีดน้ำถูกออกแบบมาเพื่อสลายการรวมกลุ่ม เพื่อปกป้องทรัพย์สินหรือหยุดพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง 

โดยทั่วไปแล้วปืนใหญ่ฉีดน้ำควรจะใช้ในสถานการณ์ที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะนำไปสู่การเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส หรือการทำลายทรัพย์สินอย่างรุนแรงในวงกว้างเท่านั้น ทั้งยังควรใช้ภายใต้คำสั่งที่เคร่งครัด ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง

นอกจากนี้ การฉีดน้ำยังไม่ควรใช้ยิงใส่บุคคลในระดับสูง เพราะอาจความเสี่ยงอื่นๆ เช่น ช็อกเพราะอุณหภูมิร่างกายต่ำลงจากน้ำเย็น หรือความเสี่ยงจากการลื่นล้ม ทั้งตามหลักนั้น การฉีดน้ำยังไม่สามารถใช้แบบเล็งไปที่ตัวบุคคลโดยเฉพาะได้

ที่มา : thematter, bangkokbiznews, ThaiPBS

TAG :
Writer Profile : jazz.ordinaryday
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

ASK ME QUESTION(S) ฉบับมนุษย์ออฟฟิศ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save