category 5 สถานที่ “งดใช้เสียง” กับบทลงโทษหากมีเสียงรบกวน


: 25 กุมภาพันธ์ 2562

ไหนๆ ก็มีกระแสเรื่องเสียงดังรบกวน จึงขอหยิบยกบทความเกี่ยวกับสถานที่งดใช้เสียงมาให้ดูกันหน่อย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้วค่ะ นอกจากนี้ยังพูดถึงบทลงโทษเกี่ยวกับการส่งเสียงดังรบกวนด้วย อย่างน้อยรู้ไว้ให้อุ่นใจ จะไม่ได้เสียงดังรบกวนผู้อื่น จุ๊ๆๆ 

ห้องสอบ

ขึ้นชื่อว่า “ห้องสอบ” ผู้เข้าสอบทุกคนจำเป็นต้องใช้สมาธิอย่างยิ่ง เพื่อแก้โจทย์ต่างๆ ให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ดีที่สุด หากมีเสียงรบกวน โวกเวก โวยวาย แน่นอนว่าสติอาจจะหลุดทันที แล้วส่งผลให้ไม่สามารถทำข้อสอบได้ หลายๆ คนคงจะเคยสัมผัสบรรยากาศเหล่านี้กันมาบ้างแล้ว ซึ่งในห้องสอบนั่นเงียบจนได้ยินเสียงโต๊ะข้างๆ ฝนคำตอบเลยค่ะ บางทียังได้ยินเสียงท้องร้องของคนข้างหน้าด้วย

ห้องสมุด

หลายคนอยากที่จะหาที่เงียบๆ เติมเต็มความรู้ หรือไอเดียต่างๆ โดย “ห้องสมุด” ถือเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ เพราะว่าเงียบ สงบ สะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลหลากหลาย สำหรับห้องสมุดพบว่ามีป้ายงดใช้เสียงติดไว้เยอะมาก ตั้งแต่ทางเข้า ไปจนทั่วทุกมุมห้อง เพื่อเตือนสติให้กับผู้เข้ามาใช้บริการจะได้ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น

โรงพยาบาล 

ความเงียบ มีผลด้านบวกต่อการทำงานของสมอง รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการพักฟื้นโรงพยาบาลจึงเป็นสถานที่ที่ควรสงบ เงียบ ปลอดมลภาวะทางเสียงเป็นอย่างยิ่ง หากมีเสียงดัง เอะอะ โวยวาย ตลอดเวลา ยิ่งทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการพักผ่อน โดยเฉพาะภายในห้องพักผู้ป่วย ค่อนข้างเข้มงวดเรื่องการงดใช้เสียงค่ะ 

วัด

เคยมีคนบอกว่าถ้าอยากจิตใจสงบให้มาวัดเพราะว่าเงียบมากๆ เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความสงบทางจิตใจ โดยเฉพาะวัดที่มีกิจกรรมทางธรรมเป็นประจำ เช่น วัดป่า เป็นต้น แต่บางวัดอาจจะมีเสียงดังเป็นครั้งคราว กรณีจัดงานวัด งานบวช แต่ต้องใช้เสียงพอประมาณไม่ส่งเสียงดังรบกวนคนอื่นหรือบริเวณโดยรอบหากมีความจำเป็นต้องใช้เสียงดังต้องขออนุญาตเจ้าอาวาสก่อน หรือขั้นตอนที่กำหนด

โรงภาพยนตร์

ก่อนชมภาพยนตร์จะมีโฆษณาเพื่อแจ้งเตือนให้ปิดโทรศัพท์มือถือก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันเสียงดังรบกวนคนอื่นๆ ขณะรับชมภาพยนตร์ แต่บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินเสียงเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือ หรือแจ้งเตือนข้อความอยู่บ้าง นั่นเพราะในทางปฏิบัติอาจจะมีน้อยคนที่ไม่ทำตาม ทำให้การรับชมภาพยนตร์อารมณ์ติดขัด แม้ว่าอาจจะไม่มีข้อกฎหมายที่ชัดเจน แต่สำหรับการงดใช้เสียงภายในโรงภาพยนตร์ถือเป็นมารยาทสังคมที่ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง

บทลงโทษหากมีเสียงรบกวน

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.. 2535

มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ หากกระทำใด อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น หากจะจัดคอนเสิร์ต หรือมหรสพใดๆ จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทกิจการการจัดให้มีการแสดงดนตรี ดิสโก้เทคฯ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพ...การสาธารณสุข ..2535

มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคล ซึ่งเป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับ หรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควร ตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่ง

มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่ง เป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรําคาญภายในเวลาอันสมควรตามระบุไว้ในคําสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรําคาญนั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มี เหตุรําคาญเกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคําสั่งได้

หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดโทษผู้ก่อให้เกิดเสียง 

มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียง หรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

อย่างน้อยๆ จะได้รู้ไว้ว่าการส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นนั้นมีโทษทางกฎหมายเหมือนกัน หากเราปฏิบัติให้ถูกต้องก็ไม่มีปัญหาตามมาแน่นอน ^^

Writer Profile : หญิงเกศ
สตรีผู้หลงใหลในการกิน อินกับการเดินทาง หลงทางในตัวหนังสือ(นิยาย) ทำปากจือเวลาถ่ายรูป
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save