วิธีจัดการ 3 นิสัยใช้รถแบบเดิม ๆ ที่สร้างหนี้เพิ่มโดยไม่รู้ตัว !

Writer : Hanachan

: 21 ตุลาคม 2564

ค่าใช้จ่ายของชาวขับขี่ใน 1 ปี เสียกันไปเท่าไหร่แล้ว? มาลองทบทวนกันหน่อยซิว่า 12 เดือนที่ผ่านมา พฤติกรรมการใช้รถแบบไหนที่ทำให้เราเสียเงินไปโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ได้ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ครอบคลุมในยามเกิดอุบัติเหตุ ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินตามมาได้มากมาย รวมทั้งการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และไม่ปฏิบัติตามวินัยกฎหมายจราจร 

แต่ยังไม่หมดแค่นี้ Mango Zero ร่วมกับ DirectAsia ได้รวม 3 พฤติกรรมการใช้รถที่ไม่ดี ที่ทำแล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาการเงินไปทั้งปี กลายเป็นหนี้ต้องตามชดใช้ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 นี้ มีอะไรบ้าง ? มาเช็กกัน!  

เป็นนักสะสมหนี้สิน

“เงินเดือนออกงวดนี้ แต่ค่อยส่งอีกทีงวดหน้า” 

แนวคิดแบบนี้ก่อให้เกิดปัญหาในยุคโควิดเศรษฐกิจฝืด เพราะนอกจากต้องเผชิญกับปัญหาขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายแล้ว นักขับขี่บางคนก็กำลังผ่อนรถกับไฟแนนซ์ ยิ่งถ้าขาดวินัยชำระหนี้ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการโดนไฟแนนซ์ยึดรถ

แต่อย่าเพิ่งคิดว่าหนี้จะจบ ! นอกจากเสียรถ ยังต้องจ่ายหนี้ส่วนต่างในการขายทอดตลาดของไฟแนนซ์เพิ่ม ขาดเหลือเท่าไร ยังต้องชดใช้อยู่ดี รวมถึงค่าดอกเบี้ยจากการผิดสัญญา ค่าเบี้ยปรับ หรือค่าทวงถาม จากฝั่งไฟแนนซ์อีกด้วย

วิธีแก้ไข

ไปไม่รอด ผ่อนต่อไม่ไหว รู้ตัวทันใดให้รีบปรึกษากับไฟแนนซ์เพื่อวางแผนการใช้จ่ายใหม่ ห้าม ! ปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่ทำอะไรอย่างเช่น ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย เพราะนอกจากจะทำให้เราติดเครดิตบูโรจนหมดสิทธิ์การกู้ยืมแล้ว การทำธุรกรรมในอนาคตก็ยากขึ้นด้วย

แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาการเงิน เราแนะนำให้หมั่นสร้างนิสัย มีวินัยในการผ่อนชำระ อย่างการวางแผนจ่ายตั้งแต่ช่วงได้รายรับ โดยแบ่งหักค่าใช้จ่ายประจำหรือชำระค่างวดที่ค้างอย่างน้อย 2 งวดก่อนครบกำหนด 

พี่ขับลูกเดียว ไม่เคยเหลียวกลับมาแล

เป็นนิสัยที่หลายคนชอบทำคือ การเติมน้ำมันแล้วขับมันลูกเดียว แถมไม่เหลียวกลับมาเช็กสภาพ เช็กระยะตามกำหนด จนสุดท้ายก็มีค่าใช้จ่ายจากการซ่อมรถตามมาอีกเพียบ ซึ่งราคาค่าซ่อมเฉพาะจุดบางครั้งก็เห็นแล้วลมแทบจับเลยทีเดียว 

วิธีแก้ไข

รถยนต์ก็เหมือนร่างกาย มีการประกอบ – ใช้ – เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา เราแนะนำว่าให้นำรถเข้าเช็กสภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพรถยนต์ได้ทันท่วงที ขณะที่รถยนต์ออกใหม่ให้เข้าเช็กระยะตามกำหนด ป้องกันการขาดประกัน หรือผิดเงื่อนไขประกันที่ทำให้เราหมดสิทธิ์เคลม

ละเลยการต่อพ.ร.บ.หรือต่อประกัน

การไม่ต่อพ.ร.บ.หรือลืมต่อประกันก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ก่อหนี้ได้ เพราะหากเราดันพลาดเกิดอุบัติเหตุใด ๆ ก็จะไม่ได้รับการคุ้มครอง หนำซ้ำในอุบัติเหตุถ้านั้นถ้าไม่ได้ต่อประกันแล้วดันเป็นฝ่ายผิด! ก็เพิ่มหนี้คูณสองด้วยการต้องชดใช้ค่าเสียหายเองทั้งหมด    

ทำให้แย่ยิ่งกว่าเดิมเมื่อเราต้องเผชิญเจ้ากรรมนายเวรในรูปแบบของหนี้สิน ผ่านการกู้ยืมหรือเบิกจ่ายกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถในการชดใช้ค่าเสียหายให้คู่กรณี ซึ่งจะต้องจ่ายเบี้ยปรับเป็นจำนวน 10,000 บาท หลังจากนั้นเงินที่เราเบิกไปยังต้องจ่ายคืนกองทุนในอัตราร้อยละ 20 อีกด้วย     

เพราะอุบัติเหตุรถยนต์เป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสียหายมูลค่าสูง ถึงแม้จะระมัดระวังมากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ 

วิธีแก้ไข

การบริหารความเสี่ยงอย่างการทำประกันที่ตอบโจทย์กับพฤติกรรมการขับขี่ของเรา จะช่วยลดความเสี่ยงที่มาพร้อมกับหนี้สิน และการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เช่น มือใหม่หัดขับที่ต้องใช้รถทุกวัน อาจทำประกันชั้น 1 ซึ่งครอบคลุมอุบัติเหตุที่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่อุ่นใจได้เพราะมีประกันช่วยจ่ายให้  

ทั้งหมดนี้ก็เป็นพฤติกรรมสำคัญที่ทำให้เกิดหนี้ ความไม่แน่นอนและอุบัติเหตุก็มีโอกาสเกิดขึ้นทุกที่ในอนาคต ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสถานะทางการเงินได้ เราจึงควรบริหารความเสี่ยงให้ได้ เพื่อตัดไฟปัญหาให้หมดไปและไม่มีผลกระทบใดใดต่อสุขภาพการเงิน  

ให้ DirectAsia เป็นหนึ่งตัวเลือกด้านประกันภัยและเป็นกำลังใจให้ผู้ขับขี่ทุกท่านก้าวข้ามผ่านอุปสรรคไปด้วยความปลอดภัยตั้งแต่ต้นจนจบ

 

 

 

 

 

TAG :
Writer Profile : Hanachan
ฮานะจังมีความสุขกับการดูซีรีส์เกาหลีและท่องเที่ยวไปวันๆ Green tea lover / Japanese food forever ♡
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save