category Hospitel หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ให้ผู้ป่วยโควิด-19 ไปกักตัว

Writer : incwaran

: 20 เมษายน 2564

โควิด-19 รอบนี้ค่อนข้างหนักหน่วง ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดปัญหาเตียงผู้ป่วยไม่เพียงพอ ซึ่งทุกฝ่ายก็ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ (อีกครั้งและอีกครั้ง) 

นอกจากอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโควิด-19 อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยคือติดเชื้อแล้วไปรักษาตัวที่ไหนได้บ้าง? ซึ่งนอกจากจะมีโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนามแล้ว ยังมีสถานที่ที่เรียกว่า Hospitel คืออะไร ไปดูกัน

Hospitel คืออะไร?

Hospitel คือ หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้จัดตั้งขึ้น เพื่อลดปัญหาโรงพยาบาลมีเตียงไม่เพียงพอ รวมถึงลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยการใช้ห้องพักของโรงแรมให้เป็นพื้นที่กักตัวและเฝ้าดูอาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง ไม่ต้องอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ซับซ้อนในการรักษา

กระบวนการรักษาผู้ป่วยใน Hospitel 

  • ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ หรือรักษาในโรงพยาบาลหลัก 3-5 วันแล้วอาการดีขึ้น โดยมีแพทย์ประจำ 1 คน พยาบาล 1 คนต่อ 20 เตียง
  • ตรวจและบันทึกอาการผู้ป่วยทุกวัน ผ่านเทเลเมดิซีนหรือ Line Group Chat หากอาการแย่ลงจะย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที
  • มีเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล เครื่องวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด และเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่

ผู้ป่วยโควิด-19 แบบไหนสามารถรักษาตัวที่ Hospitel ได้?

  • ผู้ป่วยยืนยันที่ไม่มีอาการหลังนอน รพ. 4-7 วัน สามารถพักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และครบ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์ : อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้)
  • ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการ แต่ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะร่วม หลังนอน รพ. 4- 7 วัน หากอาการดีสามารถเข้าพักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์ : อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้)
  • ผู้ป่วยยืนยันโควิดที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ที่ไม่มีอาการ หรือไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะอื่นร่วม สามารถเข้ารักษาที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์ : อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้)
  • ผู้ป่วยควรได้รับการเอกซเรย์ปอดทุกราย ก่อนเข้ารับการรักษา ที่ Hospitel หากปอดผิดปกติจะต้องรักษาที่โรงพยาบาล
  • โรงพยาบาลจะเป็นผู้วินิจฉัยอาการผู้ป่วยที่สามารถเข้าพักที่ Hospitel ได้

ค่าใช้จ่ายในการเข้าพักรักษาตัวที่ Hospitel

ค่าใช้จ่ายในการรักษาสามารถสอบถามกับทางโรงพยาบาลที่รักษาตัวอยู่ หรือทาง Hospitel โดยผู้ป่วยสามารถใช้ประกันสุขภาพส่วนบุคคล และกองทุนสุขภาพตามสิทธิต่าง ๆ ได้

มั่นใจในคุณภาพของ Hospitel ได้แค่ไหน?

เนื่องจาก Hospitel ใช้เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง หลายคนอาจมีความกังวลว่าถ้ามีอาการรุนแรงขึ้นในระหว่างการพักที่ Hospitel จะทำอย่างไร อุปกรณ์การแพทย์จะพร้อมหรือไม่? 

โรงแรมที่เป็น Hospitel จะต้องขึ้นทะเบียนกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยจะได้รับการประเมินมาตรฐานด้านต่าง ๆ และจะมีการจัดบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสำหรับดูแลผู้ป่วย

ขณะนี้ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 64) มี Hospitel ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 23 แห่ง จำนวน 4,900 เตียง มีผู้ป่วยยืนยันเข้าใช้แล้ว 2,000 เตียง เตรียมเพิ่มอีก 5,000-7,000 เตียง เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล

รายชื่อ Hospitel ในกรุงเทพฯ

  • รร.มาเลเชีย 100 เตียง (รพ. สุขุมวิท)
  • รร.โอโซน 40 เตียง (รพ.วิภาราม)
  • รร.รัตนโกสินทร์ 150 เตียง (รพ.ปิยะเวท)
  • รร.โอโซน 40 เตียง (รพ.วิภาราม)
  • รร.รัตนโกสินทร์ 150 เตียง (รพ.ปิยะเวท)
  • รร.อินทรา รีเจ้น 455 เตียง (รพ.ปิยะเวท)
  • รร.สินศิริ รามอินทรา 69 เตียง (สินแพทย์ เสรรีรักษ์)
  • รร.ชีวา 75 เตียง (รพ.กรุงเทพ)
  • รร.พูลแมน 324 เตียง (รพ.ธนบุรี)
  • รร.สินศิริ1 จำนวน52 เตียง (รพ สินแพทย์)
  • รร.ฌอกะเชอ 200 เตียง (รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์)

ที่มา 

bangkokbiznews

bangkokbiznews

 

TAG : Hospitel
Writer Profile : incwaran
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save