category 7 วิธีวางแพลนชีวิตหากคิดจะเป็นฟรีแลนซ์!


: 14 ธันวาคม 2561

 

เดี๋ยวนี้เรามักจะได้ยินคำว่าอาชีพ “ฟรีแลนซ์” บ่อยๆ ซึ่งพนักงานออฟฟิศหลายคนก็มักนั่งคิดว่าอยากออกไปเป็นฟรีแลนซ์จังเลย  เพราะจะได้มีเวลาอิสระไปทำนู่นทำนี่ ทำงานจากที่ไหนก็ได้  ได้ถ่ายรูปร้านกาแฟสวยๆ ลงอินสตราแกรมแล้วเช็คอินว่า “มาปั่นงาน”  แต่หารู้ไม่ว่ามันไม่ง่ายเลย  ลองมาดูกันว่ามีเรื่องไหนบ้างที่ควรรู้หากคิดจะเป็นฟรีแลนซ์มืออาชีพ

1. ฝึกฝนฝีมือสม่ำเสมอ

แน่นอนว่าจุดสำคัญที่สุดก่อนจะออกมาเป็นฟรีแลนซ์ได้คือ “ฝีมือ” ไม่ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์ด้านการออกแบบ ทำเว็บไซต์ หรือเขียนบทความ  ที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ  เพื่อจะได้ทำงานออกมาตอบสนองลูกค้าได้อย่างดี  โดยไม่ควรจำกัดอยู่แค่สิ่งที่ตัวเองทำเท่านั้น  เช่น หากรับเขียนบทความอาจจะไปเรียนรู้ด้าน SEO, การตลาด เพิ่มเติม  เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับงานของเรา

2. รักษาวินัยเป็นเลิศ

สิ่งที่สำคัญพอๆ กับ “ฝีมือ” นั่นคือ “วินัย” เพราะต่อให้ทำงานออกมาดีแต่ถ้าส่งไม่ทันก็ไม่มีประโยชน์  เราควรวางแผนในงานแต่ละชิ้นว่าใช้เวลากี่ชั่วโมง  ควรจะเสร็จเมื่อไร  และส่งตรงเวลาที่กำหนดเสมอไม่ต้องรอให้ลูกทวงงาน  หรือถ้าส่งไม่ทันจริงๆ ก็ต้องบอกลูกค้าล่วงหน้าว่า “ขอเวลาเพิ่มหน่อยจ้า” พร้อมระบุวันส่งงานใหม่ (แต่ไม่ควรทำบ่อยนะ)

3. สร้างเครดิตทางการเงิน

ถึงแม้จะมีคนบอกว่าการเป็นฟรีแลนซ์มัน “ไม่มั่นคง” แต่เราสามารถสร้างเครดิตทางการเงินได้  ด้วยการเปิดบัญชีหนึ่งไว้ฝากเงินสม่ำเสมอทุกๆ เดือน  โดยบางธนาคารมีเงื่อนไขว่าสามารถทำบัตรเครดิตได้ถึงแม้คุณไม่ได้เป็นพนักงานประจำ  เพียงแค่มีรายการเดินบัญชีที่แสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีวินัย  และวางแผนเก็บเงินอย่างรอบคอบ

4. บริหารรายจ่ายให้รัดกุม

การเป็นฟรีแลนซ์ไม่มีเงินเดือนประจำ  ขอจงอย่าชะล่าใจเวลาที่มีงานเข้ามาเยอะๆ  หรือเดือนไหนที่มีรายได้ต่อเดือนมากๆ  เพราะเราไม่สามารถรู้อนาคตข้างหน้าได้จริงๆ  ที่ผ่านมามีฟรีแลนซ์หลายคนที่ถูกลูกค้าจ่ายเงินช้าบ้าง (บางรายเคยโดนเครดิต 90 วัน…แม่เจ้า )  เพราะอย่างนั้นควรควบคุมรายจ่ายดีๆ  และหลีกเลี่ยงการใช้เงินแบบเดือนชนเดือนจะดีกว่า

5. ออกไปสร้างคอนเนคชั่นใหม่ๆ

อย่าทำงานอย่างเดียวจนลืมออกไปหาคอนเนคชั่นหรือสายสัมพันธ์ใหม่ๆ  โดยสามารถหาได้ตามงานสัมมนา เช่น ฟรีแลนซ์ด้านออกแบบก็อาจไปทำความรู้จักผู้คนในงานสัมมนาออกแบบต่างๆ  ให้เข้างานไปพูดคุย ทักทาย ทำความรู้จัก แจกนามบัตร  หรือกระซิบบอกคนใกล้ตัวว่าเราเป็นฟรีแลนซ์รับทำงานอยู่นะ    เผื่อว่าเพื่อนของเพื่อนของเพื่อนอาจจะต้องการฟรีแลนซ์ทำงานนี้อยู่

6. ดูแลสายสัมพันธ์เป็นอย่างดี

จากข้อที่แล้วที่บอกว่าสายสัมพันธ์ดีๆ นี่แหละที่จะนำงานมาให้เหล่าฟรีแลนซ์  ขอแนะนำเพิ่มเติมว่าควรเริ่มต้นจากการทำงานให้ดี  คงเส้นคงวาในทุกๆ งาน  เพราะจะทำให้ลูกค้าใช้งานเราประจำ  หรือการแนะนำส่งงานให้เพื่อนๆ ฟรีแลนซ์ในงานที่ไม่ถนัด  หรือตอนที่งานล้นมือ  ก็จะเกิดสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  ซึ่งถ้าทำได้แบบนี้รับรองว่ามีงานไม่ขาดแน่นอนจ้า

7. วางแผนเรื่องสุขภาพ

เพราะต้องทำงานจนลืมดูแลสุขภาพทำให้หลายคนมีอาการป่วย  จากทั้งทานอาหารไม่ตรงเวลา ปวดหลังเพราะนั่งนาน หรือร่างกายอ่อนเพลียจากการอดหลับอดนอนปั่นงานดึกๆ ยิ่งถ้ารับงานเยอะๆ แล้วแทบจะไม่ได้ขยับตัวออกจากหน้าจอคอมเลยทีเดียว  จนเป็นบ่อเกิดของโรคภัยต่างๆ (เหมือน “ยุ่น” ในเรื่องฟรีแลนซ์)  จึงควรเตรียมความพร้อมเอาไว้ก่อนด้วยแผนประกันสุขภาพของ Aetna ที่เหมาะกับชาวฟรีแลนซ์ เพราะ มีความคุ้มครองที่ครอบคลุม แต่มีอิสระ เพราะไม่ผูกมัดกับประกันชีวิต

จุดเด่นแผนประกันสุขภาพของเอ็ทน่า :

  • คุ้มครองกรณีผู้ป่วยในสูงสุด 5,000,000 บาท  ต่อการเข้าพักรักษาตัว  ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี
  • จ่ายให้เลยตามจริง ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าธรรมเนียมผ่าตัด และค่าแพทย์เยี่ยมไข้
  • คุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปี
  • อุ่นใจ เพราะมีเครือข่ายพยาบาลมากกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน – 65 ปี (สมัครก่อนอายุ 60 ต่ออายุกรมธรรม์ตลอดชีพ)

ดูรายละเอียดประกันสุขภาพ : Aetna

ถ้าวางแผนครบทั้ง 7 อย่างนี้เรามั่นใจจริงๆ ว่า  คุณจะเป็นฟรีแลนซ์อีกคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอย่างแน่นอนค่ะ 🙂

 

Writer Profile : Thanchanok Sirikarn
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save