category รีวิว : ร่างทรง (2021)

Writer : buubae

: 29 ตุลาคม 2564

หลังจากที่รอมานาน ในที่สุดหนัง ‘ร่างทรง’ (The Medium) ผลงานการกำกับของ คุณโต้ง – บรรจง ปิสัญธนะกูล ที่ได้แท็กทีมกับ นา ฮง-จิน โปรดิวเซอร์ชื่อดังจากเกาหลี ก็ได้ลงโรงภาพยนตร์ให้คอหนังได้พิสูจน์ความหลอน ระทึก กันแล้วเมื่อ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา

‘ร่างทรง’ ถูกถ่ายทอดในรูปแบบ Mocumentary หรือ หนังที่สร้างมาในสไตล์สารคดี โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีกรรม-ความเชื่อ ในรูปแบบของร่างทรง โดยหนังได้ไปสำรวจชีวิตของครอบครัวหนึ่งในภาคอีสาน ที่มีการสืบทอดเชื้อสายของร่างทรงย่าบาหยันจากรุ่นสู่รุ่นมาหลายช่วงอายุคน โดย ป้านิ่ม (เอี้ยง-สวนีย์ อุทุมมา) เป็นร่างทรงคนปัจจุบัน 

อยู่มาวันหนึ่ง หลานสาวของตัวเองอย่าง มิ้ง (ญดา-นริลญา กุลมงคลเพชร) มีอาการผิดปกติและประหลาดมากขึ้นเรื่อยๆ จนคนในครอบครัวเริ่มสงสัยว่า สิ่งที่ทำให้มิ้งเป็นแบบนี้ คือ อาการของคนที่กำลังจะสืบเชื้อสายร่างทรงคนต่อไป หรือจริงๆ แล้วสิ่งที่อยู่ในตัวมิ้งอาจจะไม่ใช่อย่างที่คิดก็เป็นได้

ความสนุกของหนังเรื่องนี้ คือ การตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องของความเชื่อท้องถิ่น – สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบางครั้งก็แตะเรื่องศาสนาอยู่เล็กน้อย ซึ่งพอมาอยู่ในหนังก็ทำให้รู้สึกได้อย่างหนึ่งว่าตัวผู้กำกับทำการบ้านเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ดีมากๆ แถมข้อมูลแน่นเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน

สิ่งต่อมาที่ทำให้หนังเรื่องนี้ดูสนุกและคนดู (อย่างคนเขียน) อินมากๆ คือเรื่องของนักแสดงในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นตัวหลัก ตัวรอง ลากยาวถึงนักแสดงประกอบในเรื่องนี้ที่สร้างบรรยากาศได้ดีมากๆ รวมถึงการเล่าเรื่องของหนังที่ค่อยๆ ไต่ระดับความน่ากลัวไปทีละขั้น ทีละขั้น จนทำให้รู้สึกเท้าจิกพื้นได้ในหลายจังหวะเลยทีเดียว

ซึ่งในแต่ละองค์ของหนัง เล่าเรื่องออกมาได้ค่อนข้างชัดเจน ปูเรื่องให้คนดูค่อยๆ อิน, จุดหักเหของเรื่องที่ทำให้คนดูเริ่มสงสัย, จุดพีคสุดของหนังที่หักแล้วหักอีกจนหลายครั้งก็รู้สึกว่า พอเถิดดดด เหนื่อยแล้วววว (ฮาาาา)

โดยเฉพาะองค์สุดท้ายที่เอาจริงๆ ก็พอเดาได้อยู่นิดๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ตัวหนังก็โชว์ออกมาได้แบบ.. มากกว่าที่คิดไประดับที่ว่า เมื่อไหร่จะหมด พอได้แล้ว หยุดเดี๋ยวนี้ หยุดทันที (ฮาาาา) จนถึงจุดที่ว่า อ่ะ..อยากจัดอะไรก็มาเลย เราสนุกเต็มที่ละ เลยทำให้ช่วงท้ายเหมือนอยู่รถไฟเหาะจริงๆ

พอมาดูมวลรวมของหนังกลับมีจุดที่ทำให้หลายๆ คนอาจจะรู้สึกไม่ชอบไปเลยก็ได้ นั่นก็คือเรื่องของการใช้เทคนิค Mocumentary เนี่ยแหละ เพราะหลายๆ ช็อตในหนังก็รู้สึกว่าดูคราฟท์มากเกินไปนิดนึง คือไม่ได้ว่าเทคนิคการถ่ายภาพแย่นะ เราว่าดีเลยล่ะ เพียงแต่ว่าพอมีคำว่า “Mocumentary” มาครอบตั้งแต่ต้นเรื่อง เลยทำให้หนังดูรู้สึกอิหยังวะในหลายๆ จุด

แต่ว่า ถ้าลองปล่อยผ่านความเป็น Mocumentary ออกมา ก็น่าจะทำให้หลายๆ คนอินขึ้นด้วย… แต่ (ทำไมแต่เยอะจังเลยแฮะ ฮาาา) เราก็คิดภาพไม่ออกเหมือนกันนะว่า ถ้าเรื่องนี้ถูกเล่าให้ดูเป็นสารคดีมากกว่า ก็อาจจะทำให้คนดูไม่อินเท่านี้ก็ได้นะ (แต่ส่วนตัวไม่ติดจุดนี้นะ ยังดูสนุกอยู่เหมือนเดิม 🙂 )

สรุป ร่างทรง เป็นหนังที่การเล่าเรื่องน่าสนใจ ไต่ระดับความระทึกขึ้นไปเรื่อยๆ อาจจะหลุดโทนความเป็น Mocumentary ไปนิดหน่อย แต่โดยรวมยังไงก็ถือว่าดันบาร์ความหลอนระทึกของหนังไทยขึ้นไปอีกระดับนึง

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริงๆ เพราะทั้งจอใหญ่ เสียงกระหึ่ม แล้ว บรรยากาศในโรงภาพยนตร์ก็เป็นอีกอย่างที่หาไม่ได้เมื่อจอถูกย่อเล็กลง

และแน่นอนว่า การดูหนังในโรงภาพยนตร์ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่เราได้ช่วยสนับสนุนคนวงการภาพยนตร์ให้ได้ทำหนังเจ๋ง ๆ สนุก ๆ มาให้คนดูได้อีกเยอะแยะในอนาคต รวมถึงหนังและซีรีส์ที่อยู่ในทุกแพลตฟอร์มที่ถูกลิขสิทธิ์ด้วยนะ

Writer Profile : buubae
กราฟิกออนไลน์ฝึกหัดที่ผันตัวมาจากสื่อสิ่งพิมพ์ หน้ามึนตลอดเวลา และจะติดเกมตลอดไป เอ้อีเยอีเย~
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

[7/10] รีวิว What Happened to Monday 7 เป็น 7 ตาย

[10/10] รีวิว Dunkirk : ไม่ดราม่า ไม่ระเบิดตู้มต้ามอลังการ แต่บีบคั้นหัวใจสุดๆ

[10/10] รีวิว 'ฉลาดเกมส์โกง' หนังไทยระดับฮอลลีวูดที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

[7.5/10] รีวิว A Silent Voice รักไร้เสียง แอนิเมชั่นที่พ่อแม่และวัยรุ่นไม่ควรมองข้าม

[8/10] รีวิว Beauty and the Beast โฉมงามกับเจ้าชายอสูร 2017

[8.5/10] รีวิว Kong: Skull Island คอง มหาภัยเกาะกะโหลก


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save