คุยกับครูจุ๊ยกับอนาคตการศึกษาไทย : มหาลัย ครู และเด็ก

Writer : Yoom

: 1 กรกฏาคม 2562

กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ หรือที่ใคร ๆ หลายคนมากเรียกกันว่า “ครูจุ๊ย” รองหัวหน้าพรรคการเมืองน้องใหม่ไฟแรงอย่างพรรคอนาคตใหม่ ที่มีประเด็นเผ็ดร้อนมากมายทางการเมือง แต่วันนี้เราไม่ได้มาคุยกับครูจุ๊ยเรื่องความคิดเห็นในสภาหรือเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองแต่วันนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องของ “การศึกษา” เพราะหากถามว่ามีใครที่สนใจในปัญหาของการศึกษาและมีประสบการณ์เกี่ยวกับวงการของการศึกษาทั้งในและนอกประเทศแล้วมากแล้ว ก็คงหนีไม่พ้น “ครูจุ๊ย”

ผู้เคยอยู่ในระบบของการศึกษาไทยและระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกอย่างฟินแลนด์ ครูจุ๊ยมีประสบการณ์ทั้งการเป็นนักเรียน เป็นอาจารย์ และงานด้านการศึกษามากมาย มาในวันนี้เราจะมานั่งพูดคุยถึงเรื่องประเด็นอนาคตของการศึกษาไทยเช่นเดียวกัน

ตอนนี้การศึกษาของไทยกำลังประสบกับปัญหาอะไรบ้าง

สำหรับจุ๊ยแล้วปัญหาการศึกษาของไทยเป็นปัญหาที่ซ้อนกันอยู่หลาย ๆ เรื่องที่ทับซ้อนกัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนปัญหามหาลัยที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เรื่องหลักสูตรเพิ่มขึ้นมากมาย รวมทั้งยังมีมหาลัยจากต่างประเทศเข้ามาเป็นคู่แข่งกับมหาลัยในประเทศอีก

หลาย ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเกิดคำถามว่า สรุปแล้วมหาลัยเหล่านั้นมีคุณภาพจริงหรือเปล่า ? รวมทั้งตอนนี้ไทยยังมีภาวะอัตราการเกิดที่ต่ำลงอีกด้วย “จุ๊ยเคยสอนอยู่ในมหาลัยหนึ่ง มันเคยมีเด็กร้อยคน ตอนนี้อาจจะเหลือเพียงแค่ 20-30 คนเท่านั้น ” ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จึงส่งผลกระทบต่อกันในหลายด้าน

เช่น ด้านมหาลัยที่มีกำลังขาดทุน อาจารย์ในมหาลัยจึงต้องทำงานวิจัยที่ทำเงินได้มากขึ้น และบางคณะบางมหาลัยอาจจะต้องถูกยุบเพราะเด็กน้อยลง และเด็กอาจจะมีตัวเลือกในการเรียนน้อยลง หลาย ๆ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับการศึกษาของไทย

แล้วมหาวิทยาลัยของไทยจะต้องปรับตัวอย่างไร

จุ๊ยคิดว่าปัญหาของมหาวิทยาลัยไทยก็คือ “ปัญหาเรื่องการจัดการ” ปัญหาการจัดการมหาวิทยาที่เกิดจากการรวมศูนย์ ซึ่งการรวมศูนย์หมายถึง การที่มีความต้องการให้มหาลัยเป็นเลิศในทุกด้านโดยให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลาง

การวมศูนย์นี้เองที่ทำให้คนในมหาวิทยาลัยต้องทำงานหนักมากขึ้นโดยที่ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน และก็ไม่ได้มาถามความต้องการของคนในมหาวิทยาลัยเอง ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วจุ๊ยเชื่อว่าความเป็นเลิศในมหาวิทยาไม่ได้มีแค่แบบเดียว หรือต้องเป็นเลิศในทุกด้าน

เพียงแต่มหาวิทยาลัยไทยต้องนิยามตัวเองให้ชัดเจนว่าตนเองอยากจะเป็นเลิศในด้านไหน หากยกตัวอย่างของประเทศฟินแลนด์ก็จะมีมหาวิทยาลัยอยู่สองแบบคือ มหาวิทยาลัยแบบประยุกต์และมหาวิทยาลัยแบบปกติ หรือบางพื้นที่ก็จะมีมหาวิยาที่สร้างขึ้นเฉพาะพื้นที่ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่เท่านั้น การที่ต้องแยกมหาวิทยาออกเป็นหลาย ๆ แบบนี้

เป็นเพราะว่าเราจะได้มีทิศทางในการพัฒนาและแก้ปัญหาของสังคมในหลาย ๆ รูปแบบ ฉะนั้นแล้วมหาวิทยาลัยไทยควรกำหนดอัตลักษณ์และจุดประสงค์ให้ชัดเจน ว่าจะตอบโจทย์และแก้ปัญหาอะไรในสังคม และถ้ามหาวิทยาลัยไทยมีความหลากหลายพอก็จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศได้ เพราะเราไม่สามารถใช้มหาวิทยาเดียวมาแก้ไขปัญหาของประเทศได้

ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่ออาจารย์ในมหาวิทยาอย่างไร

อาจารย์มหาวิทยาลัยสมัยนี้มีสิ่งที่ต้องทำมากมาย มากกว่าภาระงานสอนหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย งานพัฒนาคุณภาพหลักสูตร งานส่งเสริมวัฒนธรรม และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายตามมหาวิทยาที่ตนเองสังกัด

นอกจากนั้นแล้วอาจารย์มหาวิทยาลัยยังถูกกำหนดด้วยกรอบของเวลา ถ้าไม่สามารถทำงานได้ตามระยะเวลากำหนดก็จะทำให้ไม่ถูกต่อสัญญาจ้าง ในนัยยะหนึ่งก็ทำให้อาจารย์ต้องตื่นตัวอยู่เสมอ และมีการพัฒนาตนเองอยู่เรื่อย ๆ

แต่อีกในนัยยะหนึ่งก็ส่งผลเสียต่อตัวอาจารย์ที่ต้องรับภาระหนักที่มากกว่าการสอนหนังสือ “จากประสบการณ์ส่วนตัวจุ๊ยคิดว่างานเป็นอาจารย์มันไม่สบาย” นอกจากอาจารย์ที่เป็นพนังงานประจำแล้ว อาจารย์ที่เป็นอาจารย์ไม่ประจำ อาจจะต้องเสี่ยงกับการถูกเลิกจ้างอยู่ตลอดเวลา หรือมีปัญหากับเรื่องของการได้รับเงินค่าจ้างที่ไม่แน่นอน

คิดเห็นอย่างไรกับคำพูดที่ว่า “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อาจไม่มีความจำเป็นในอนาคต”

จุ๊ยคิดว่าศาสตร์มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ยังจำเป็นอยู่ในทุก ๆ สังคม เพราะเราไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ได้หากเราไม่เข้าใจว่ามนุษย์กำลังคิดอะไรอยู่ หรือคุณไม่สามารถสร้างเทคโนโลยีให้มันตอบโจทย์มนุษย์โดยที่คุณไม่เข้าใจมนุษย์ได้

มันน่าสนใจที่ในอนาคตเรากำลังจะเป็นสังคม AI โดยที่ AI สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ แต่สิ่งที่ AI ไม่สามารถแทนมนุษย์ได้ก็คือ ความเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ ความโอบอ้อมอารี หรือ soft skill ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มาจากการเรียนสายมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

ถามว่าจะไม่มีการเรียนสายนี้เลยได้ไหม แล้วให้ทุกคนหันไปเรียนแต่วิทยาศาสตร์ จุ๊ยคิดว่ามันก็ทำได้ เราก็จะได้คนในสังคมที่สนใจแค่เรื่องอะตอมเท่านั้น แต่เราก็จะไม่ได้คนที่มีความเข้าใจผู้อื่น เข้าใจความต่างแหละหลากหลายของคนอื่น

เด็กสมัยนี้ต้องปรับตัวอย่างไรในเมื่อสิ่งรอบตัวเปลี่ยนไปไวมากขึ้น

จุ๊ยคิดว่าเด็กสมัยนี้ปรับตัวไปแล้ว เด็กสมัยนี้เขาเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีคและสังคมที่เปลี่ยนไปไวมาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาเรียนรู้คือ การปรับตัวและพร้อมที่จะเข้าใจว่าความรู้ที่เขาเรียนในวันนี้อาจจะล้าสมัยไปแล้วก็ได้

แต่ปัญหาที่เด็กสมัยนี้ต้องเจอก็คือไม่รู้ว่าจะต้องรับมือกับความรู้ที่เข้ามากมายมหาศาลนี้ยังไง เพราะขาดที่ปรึกษาที่ดี การแนะแนวทางที่ดี ทำให้มีเด็กหลาย ๆ คนที่ตกหล่นกับไปสิ่งเหล่านี้ เพราะเขาไม่รู้ที่จะต้องจัดการกับสิ่งเหล่านี้ยังไงดี เพราะฉะนั้นแล้วจุ๊ยเชื่อว่า เด็กนะพร้อมแต่หลักสูตรไม่พร้อม หลักสูตรที่จะเตรียมความพร้อมเหล่านั้นไม่ได้ถูกใส่มาในหลักสูตรมากพอ

สำหรับจุ๊ยแล้วการศึกษาไม่มีข้อสรุป แต่สิ่งเดียวที่ทุกคนควรมีรวมกันก็คือ เราต้องตกลงรวมกันว่าการศึกษาของประเทศจะเดินไปในทิศทางไหน จุ๊ยไม่คิดว่าการศึกษาเป็นเรื่องของคนแค่กลุ่มเดียว หรือแค่หลักสูตรหลักสูตรเดียว แต่การศึกษาเป็นเรื่องของคนทุกคน

Writer Profile : Yoom
เด็กหนุ่มจบปรัชญาและศาสนาแต่มาทำงานเป็น Content Creator รักการปีนเขา เวลาว่างชอบเล่นกับแมว และชอบถ่ายวิดิโอเป็นชีวิตจิตใจ
View all post
5 ข่าวที่ชวนติดตามต่อในปี 2017

5 ข่าวที่ชวนติดตามต่อในปี 2017


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save