category เมื่อมีสิทธิ์เลือกจบชีวิตอย่างสงบด้วยตัวเอง "10 ประเทศที่การการุณยฆาตถูกกฏหมาย"

Writer : nardpradabt

: 14 พฤษภาคม 2561

Euthanasia-cv-web

“ผมพร้อมที่จะตาย ผมไม่กลัวตาย และผมจะอ้าแขนรับมัน เมื่อเวลานั้นมาถึง”คำพูดของคุณตานักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย เดวิด กู๊ดดอล วัย 104 ปี ในการสัมภาษณ์ครั้งสุดท้าย เมื่อเดินทางไปยังคลินิกด้านการุณยฆาต ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ เนื่องจากในประเทศออสเตรเลียยังไม่อนุญาตในเรื่องนี้ พร้อมความช่วยเหลือของแพทย์ด้วยวิธีการ PAS (Physician-Assisted Suicide) ก่อนจะเสียชีวิตอย่างสงบอย่างที่คุณตาผู้นี้ต้องการ

สำหรับการการุณยฆาต ยังคงเป็นข้อถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน ถึงการมีสิทธิ์ของมนุษย์ในการเลือกที่จะมีชีวิต หรือ เลือกที่จะจบชีวิต โดยเฉพาะในวงการแพทย์ที่การรักษาผู้ป่วยให้สุดความสามารถ เป็นสิ่งสำคัญของจรรยาบรรณที่ต้องยึดและปฏิบัติ หลายประเทศยังคงไม่ยอมรับในจุดนี้ เป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่ก็มีบางประเทศที่ออกกฏหมายสำหรับผู้ป่วยที่สามารถเลือกจบชีวิตด้วยตัวเอง “10 ประเทศที่การการุณยฆาตถูกกฏหมาย”

การุณยฆาต (Euthanasia) คืออะไร

ความหมายของการุณยฆาต คือ การกระทำจงใจยุติชีวิตของบุคคลเพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวด การยุติการรักษา หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ การทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตโดยเจตนาโดยวิธีการที่ไม่รุนแรง ซึ่งจะได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์

ประเภทของการุณยฆาต

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • การการุณยฆาตเชิงรุก (Active Euthanasia) กระทำโดยการให้สารหรือวัตถุใด ๆ อันเร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน
  • การุณยฆาตเชิงรับ (Passive Euthanasia) กระทำโดยการยุติการรักษาให้แก่ผู้ป่วย วิธีนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุดและเป็นที่ปฏิบัติกันในสถานพยาบาลหลายแห่ง

10 ประเทศที่การุณยฆาตถูกกฏหมาย

สวิซเซอร์แลนด์

  • สำหรับประเทศสวิซเซอร์แลนด์ ถือเป็นประเทศที่มีกฏหมายอนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถจบชีวิตของตัวเองด้วยความช่วยเหลือของแพทย์ ในวิธีแบบเชิงรุก (Active Euthanasia) นับตั้งแต่ปี 1942 ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่มีสถาบันให้ความช่วยเหลือทางด้านการุณยฆาตสำหรับคนต่างชาติ แต่การกระทำของผู้ป่วยต้องไม่เป็นไปตามความเห็นแก่ตัวและทิ้งภาระต่างๆไว้กับคนที่อยู่เบื้องหลัง
  • โดยก่อนการทำการุณยฆาตต้องดำเนินเรื่องราวมายังสถาบัน และได้รับการอนุญาตจากสถาบันอีกทีหนึ่งก่อน   เรียกว่า สัญญาณไฟเขียว ต้องได้รับการตรวจสอบจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงญาติพี่น้องต้องได้รับทราบเรื่องดังกล่าวก่อนเป็นสิ่งสำคัญ
  • สำหรับประเทศนี้ขึ้นชื่อว่าเป็น ประเทศที่นักท่องเที่ยวมาเพื่อจากไปอย่างสงบ โดยวิธีนี้ส่วนใหญ่เป็นคน เยอรมันนี และ สวิซเซอร์แลนด์ ส่วนชาวต่างชาติจาก ฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรีย อิตาลี กรีซ อิสลาเอล อเมริกา และ ประเทศอื่นๆ อายุเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 69 ปี
  • กระทำโดยฉีดสารโซเดียวเพนโทบาร์บิทอล (Pentobarbital) หรือในชื่อ เนมบูทอล (Nembutal) เข้าสู่กระแสเลือด โดยมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้ผ่อนคลาย จิตใจสงบ และกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน

เนเธอร์แลนด์

  • เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศแรกในโลกที่การุณยฆาตถูกต้องตามกฎหมาย ได้มีการออกกฎหมายอย่างเป็นทางการในปี 2545 ทำได้ในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ใช้เฉพาะกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน นอกจากนี้ผู้ป่วยจะต้องสามารถควบคุมความสามารถทางสติปัญญาได้อย่างเต็มที่เมื่อพวกเขาขอการการุณยฆาตจากแพทย์
  • หลังจากการตายของผู้ป่วยคณะกรรมการประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ตรวจสอบตาม case by case ซึ่งเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ศาลเนเธอร์แลนด์ยังไม่ได้ดำเนินการฟ้องร้องแพทย์ที่ช่วยให้ทำการุณยฆาต

ออสเตรเลีย

  • การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ ยังเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายของประเทศออสเตรเลีย แต่เมื่อไม่นานมานี้ รัฐวิกตอเรีย ของออสเตรเลียเท่านั้น ที่ผ่านร่างกฏหมายดังกล่าวในช่วงปี 2017 ที่ผ่านมา โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือน มิถุนายน ปี 2019 ซึ่งนั้นเป็นสาเหตุที่คุณตากู๊ดดอล ตัดสินใจเดินทางไปสวิซเวอร์แลนด์เพื่อจบชีวิตอย่างสงบด้วยตัวเอง
  • การได้รับอนุญาตต้องเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ที่คาดว่าจะเสียชีวิตในอีก 6 เดือนโดยเฉลี่ย

แคนาดา

  • การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ หรือ ที่เรียกว่า Physician-Assisted Suicide วุฒิสภาแคนาดาออกกฎหมายการุณยฆาต ที่อนุญาตให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจบชีวิตตัวเองโดยอาศัยความช่วยเหลือของแพทย์ได้ รภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ผลักดันร่างกฎหมายนี้ ตั้งแต่ปี 2016
  • โดยต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นผู้ป่วยที่รักษาในระยะสุดท้าย
  • เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวเดินทางมาจบชีวิต แคนาดาจึงต้องเป็นผู้ที่มีประกันสุขภาพของแคนาดาเท่านั้น จึงสามารถรับบริการได้

เบลเยียม

  • เบลเยียมเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายอนุญาตและบังคับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2545 กฎหมายระบุว่าแพทย์และนักจิตวิทยาต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการหากความสามารถของผู้ป่วยมีข้อสงสัย การทำการจบชีวิตด้วยแพทย์ ผู้ป่วยและแพทย์ตัดสินใจร่วมกันเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อยุติชีวิตของผู้ป่วย

โคลัมเบีย

  • โคลัมเบีย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 ศาลรัฐธรรมนูญโคลัมเบียได้กำหนดว่าต้องเป็นผู้ป่วย”ป่วยหนัก” เป็นบุคคลที่มีภาวะเช่นโรคเอดส์ ไตวายล้มเหลวของมะเร็งตับและภาวะขั้วอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับความทุกข์ทรมานมาก และกฎหมายอนุญาตการุณยฆาตในโคลัมเบียไม่อนุญาตให้มีเจตนายุติชีวิตผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคความเสื่อมเช่นโรคอัลไซเมอร์ และ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น

อินเดีย

  • อินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่การการุณยฆาตเป็นกฎหมาย แต่ยอมรับว่าในเชิงรับ ยุติการรักษาแก่ผู้ป่วย ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Passive Euthanasia) เท่านั้น กฎหมายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติโดยศาลฎีกาแห่งอินเดียในปีพ. ศ. 2554 การยุติชีวิตในเชิงรุก การเร่งให้เสียชีวิต (Active Euthanasia) ยังเป็นสิ่งผิดกฏหมายในประเทศนี้อยู่

ลักเซมเบิร์ก

  • ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่สามในสหภาพยุโรปที่การการุณยฆาตถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้แพทย์สามารถยุติการใช้ชีวิตของผู้ป่วยในระยะสุดท้ายได้ กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้การตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญและแพทย์สองคน

อเมริกา

  • จำกัดได้เพียง 5 รัฐในอเมริกาเท่านั้นที่กฏหมายอนุญาต ซึ่งเป็นการการุณยฆาตในรูปแบบเชิงรับ Passive Euthanasia เท่านั้น
  • โอเรกอน (Oregon) การจบชีวิตโดยความช่วยเหลือจากแพทย์ ถูกกฏหมายภายใต้องค์กร Death with Dignity (DWD) ในปี 1997 โดยอนุญาตแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือไม่มีหนทางรักษา โดยต้องมีการทำจดหมายและมีพยานในการกระทำสิ่งนี้ แพทย์ทั้งสองคนต้องเห็นด้วยในโรคและความสามารถในการมีชีวิตของผู้ป่วย
  • วอชิงตัน (Washington) เป็นรัฐที่สองต่อจากรัฐโอเรกอนที่อนุญาต กฏหมายในรัฐนี้คล้ายกับรัฐโอเรกอน โดยต้องมีจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้าย โดยมีอายุขัยเฉลี่ยไม่เกิน 6 เดือน
  • มอนตานา (Montana) ในเดือนธันวาคม ปี 2009 ศาลปกครอง อนุญาตให้การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ถูกกฏหมาย โดยแพทย์จะทำการสั่งยา และผู้ป่วยจะเป็นคนจัดการด้วยตนเอง
  • เวอร์มอนต์ (Vermont) ในปี 2013 อนุญาตให้การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ถูกกฏหมาย แต่ต้องมีคำขอร้องจากผู้ป่วยปากเปล่า 2 ครั้ง และ จดหมายเพื่อเป็นลายลักษณ์อีก 1 ฉบับ
  • แคลิฟอร์เนีย (California) อนุญาตให้มีการช่วยเหลือโดยแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยการยุติการใช้ชีวิต (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2016) แต่ต้องผู้ป่วยคาดว่าจะเสียชีวิตภายใน 6 เดือนหรือน้อยกว่า นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ป่วยส่งคำขอร้องปากเปล่า 2 ครั้ง และ จดหมายเพื่อเป็นลายลักษณ์อีก 1 ฉบับ

ญี่ปุ่น

  • รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฏหมายที่การจบชีวิตเชิงรุก และ แบบเชิงรับถูกกฏหมาย โดยรวมแล้วต้องเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใกล้จะเสียชีวิต หรือ ไม่มีหนทางรักษา ผู้ป่วยต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์ ครอบครัว แพทย์ต้องหมดหนทางรักษาอย่างแท้จริง

 

สำหรับประเทศไทย การให้ความช่วยเหลือจากแพทย์แบบเชิงรุก Active Euthanasia ยังคงเป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่การให้ความช่วยเหลือโดยการยุติการรักษาในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ ตามพรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12

“มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่ เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดําเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กําหนดในกฎกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ ถือว่าการกระทํานั้นเป็น ความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

ที่มา therichest , newhealthguide ,wikipedia ,bangkokbiznews

 

 

 

 

Writer Profile : nardpradabt
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save