category Story is King! มาเพิ่มความน่าสนใจด้วยการสร้างคอนเทนต์แบบ Story กันเถอะ

Writer : Patta.pond

: 10 สิงหาคม 2563

ทุกวันนี้ เราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นโซเชียลมีเดีย เดี๋ยวก็เข้าแอปฯนู้น ออกแอปฯนี้ วนกันไปอยู่ไม่กี่ตัว ในหนึ่งวันเรารับข้อมูลข่าวสารมากมาย แต่จะมีสักกี่เรื่องที่เราจำได้อย่างแม่นยำ นั่นแปลว่าสินค้าหรือคอนเทนต์ที่เราจำได้ ต้องมีการสร้างภาพจำที่เก่งกาจทีเดียว

นอกจากการสร้างคอนเทนต์แบบลงรูป หรือการทำเป็นวิดีโอแล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งรูปแบบที่เริ่มได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน นั่นก็คือการสร้างคอนเทนต์แบบ “Story” ซึ่งเข้าทางสำหรับ Content Creator สายเล่าเรื่องด้วยภาพ หรือสาย Short Video เป็นอย่างมาก

หรือหากใครเป็นมือใหม่ ก็ไม่ต้องกังวล สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ เพราะวิธีการสร้างนั้นไม่มีอะไรซับซ้อน แต่รับประกันผลลัพธ์ว่าสร้างความน่าสนใจได้ไม่แพ้การสร้างคอนเทนต์แบบอื่นๆ เลยทีเดียว มาดูกันดีกว่าว่าฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Story จะมีประโยชน์และวิธีการสร้างอย่างไรบ้าง

การสร้างคอนเทนต์แบบ Story เป็นฟีเจอร์ที่มีอยู่ใน Facebook และ Instagram และอีกหลายแพลตฟอร์ม แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้คือ Instagram  ความพิเศษคือเรื่องราวนี้จะอยู่เพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น นับจากเวลาโพสต์เป็นต้นไป หลังจากนั้นจะมีเพียงเจ้าของโพสต์ที่เห็น ซึ่งเรื่องราวเก่าๆ จะอยู่ในที่เก็บเรียกว่า Archive  ความน่าสนุกของคอนเทนต์ประเภทนี้จึงเป็นเรื่องราวแบบเรียลไทม์ และมีความท้าทายตรงที่ต้องทำให้ผู้อ่านเข้าใจโดยไม่มีแคปชันเพิ่ม นอกจากตัว Story นั้นๆ นั่นเอง มาดูกันว่า ในหนึ่ง Story สามารถทำอะไรได้บ้าง

ตกแต่งอย่างสร้างสรรค์

เริ่มกันที่ฟีเจอร์พื้นฐานอย่างสติ๊กเกอร์ อีโมติคอนหลากหลายแบบ หรือ GIF ที่ขยับได้ ซึ่งเรียกได้ว่าแทบจะมีทุกคำ ทุกรูปแบบในโลกที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นตัวละครในหนัง คำกวนๆ หรือแม่แต่กลิตเตอร์สุดคิ้วท์ ขอแค่ใช้คีย์เวิร์ดที่ถูกต้องในการค้นหาเท่านั้นเอง

นอกจากจะใช้สติ๊กเกอร์เพื่อตกแต่งแล้ว ก็ยังสามารถเพิ่มรายละเอียดให้กับ Story ของเราได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • #Hashtag : ใช้เพื่อรวมคำเป็นหมวดหมู่ เมื่อกดเข้าไปใน #  ก็จะเห็นเรื่องราวของคนที่ใช้ # เดียวกัน
  • Mention : หากคนในรูปเป็นคนสำคัญ ก็อาจใช้การ Mention ด้วยการพิมพ์ @ แล้วตามด้วย Username ของคนนั้น
  • Countdown : เพิ่มความน่าตื่นเต้นให้กับ Story ของเรามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนับถอยหลังเพื่อเจอคนใกล้ชิด ปิดโปรเจค หรือทำงานสำคัญเสร็จ
  • สถานที่ อุณหภูมิ : ปักหมุดสถานที่กันสักหน่อย เดี๋ยวคนอื่นจะไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน หรืออาจเพิ่มอุณหภูมิให้ตกใจกันเล่นๆ หากอากาศร้อนหรือเย็นไม่เหมือนอย่างเคย

เปลี่ยนไปเพราะใช้ฟิลเตอร์

เรียกได้ว่าเป็นฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการทำ Story นั่นก็คือ “ฟิลเตอร์” นั่นเอง หากใครเบื่อหน้าสดเดิมๆ ก็สามารถใช้ฟิลเตอร์ได้ด้วยการกดที่หน้าตัวเองค้างไว้ หลังจากนั้นฟิลเตอร์ที่เรามีก็จะปรากฏขึ้นมา หรือหากเห็นเพื่อนใช้ฟิลเตอร์แปลกใหม่แล้วอยากใช้บ้าง ก็สามารถกดเซฟ เพื่อเก็บไว้ที่แอคเคาท์เราก็ได้เช่นเดียวกัน

โดยฟิลเตอร์นั้น ก็มีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่แบบน่ารักเสริมรูปภาพเราให้ดูดี ฟิลเตอร์เปลี่ยนฉากหลังและสภาพแวดล้อม หรือจะเป็นแบบให้เรามีส่วนร่วมฟิลเตอร์ อย่างการกระพริบตา พยักหน้า หรืออ้าปาก ไปจนถึงการกดตอบคำถาม ปัจจุบันสินค้าหลายแบรนด์มีการโปรโมตสินค้าด้วยการสร้างฟิลเตอร์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับความนิยม และสร้างความสนใจได้ดี

ลูกเล่นหลากหลาย

หากไม่ใช้ฟิลเตอร์ หรือถ่ายแบบปกติ ก็ลองใช้ฟังก์ชันอื่นๆ ให้เล่นได้เช่นเดียวกัน เพียงเลื่อนซ้ายขวาแทนที่จะกดถ่ายแบบปกติที่หน้า Instagram ก็จะพบกับฟีเจอร์เหล่านี้

  • Superzoom เป็นการค่อยๆ ซูมเข้าไปที่จุดโฟกัสของรูป ใช้เน้นสร้างความตื่นเต้น หรือเร้าใจ
  • Create ใช้เพื่อพิมพ์ข้อความแบบเน้นๆ มีหลายรูปแบบ ทั้ง Shoutout เป็นการปล่าวประกาศหรือแจ้งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง Template เขียนโดยใช้รูปแบบต่างๆ มักจัดเป็นลำดับให้เราเติม  On This Day รูปหรือ Story ที่เคยถ่ายไว้วันนี้ในอดีต Poll ตั้งโหวตโดยไม่ใส่รูป และ Questioning ตั้งคำถามเพื่อค้นหาแฟนพันธุ์แท้
  • Layout สามารถถ่ายรูปได้หลายช็อตเหมือตอนถ่ายที่ตู้ถ่ายรูป มี
  • Boomerang เป็นอีกหนึ่งลูกเล่นที่ได้รับความสนใจเช่นเดียวกัน โดยรูปที่จะสามารถขยับได้เล็กน้อย เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้หญิง

ทำ Poll ได้ ไม่มีโกง

หากคิดไม่ออก ตัดสินใจไม่ได้กับบางสิ่ง ถ้าอย่างนั้นก็ลองให้คนอื่นช่วยตัดสินใจ! ด้วยการตั้งเป็น Poll เพื่อให้ผู้ติดตามเลือกระหว่างของสองสิ่ง ซึ่งระยะเวลาในการโหวตคือ 24 ชั่วโมง นับจากเวลาที่เริ่มตั้งโพสต์ และจะเห็นผลโหวตได้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้กดโหวต หรือเป็นเจ้าของโพสต์เท่านั้น

โดยหนึ่งในตัวอย่างของการทำ Poll มาเล่นกับการตลาดได้อย่างน่าสนใจ ก็คือเพจ “บ้านกูเอง” ที่เคยสร้างภารกิจใส่เสื้อผ้าตามผลโหวตใน Instagram Story แล้วใส่ตามที่ถูกโหวตมากที่สุด ผลลัพธ์ของ Poll นี้คือยอดติดตามเพจที่พุ่งขึ้นเป็นจำนวนมาก และร้านค้าที่มีคนรู้จักมากขึ้น

สร้างคอนเทนต์เรียลไทม์ ด้วยการ LIVE

เพื่อความเรียลไทม์สูงสุด ก็อาจสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบถ่ายทอดสถานการณ์ให้คนดู หรือที่เรียกกันว่า Live นั่นเอง  โดยขณะที่ไลฟ์ สตอรี่ของเราจะขึ้นมาอยู่ในอันดับแรกของผู้ที่ติดตามเพื่อเพิ่มโอกาสในการดูมากขึ้น ซึ่งในไลฟ์นั้นสามารถใส่ฟิลเตอร์ คอมเมนต์ ได้ แต่ต้องดูแบบเรียลไทม์ เพราะเมื่อไลฟ์จบจะไม่มีการบันทึกเกิดขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถไลฟ์ร่วมกับแอคเคาท์เพื่อนได้อีกด้วย

โต้ตอบเพื่อติดต่อ

ใช่ว่าการลง IG Story จะเป็นการสนทนาเพียงฝ่ายเดียว เราสามารถตั้งเป็นช่องคำถามปลายเปิด โดยสามารถเลือกรูปมาเป็นภาพพื้นหลังได้ เพื่อให้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกับคำถามนั้นๆ และสำหรับวิธีการตอบกลับ ก็สามารถเลือกได้ว่าจะตอบกลับทางข้อความส่วนตัว (Direct Message) หรือจะลงบนหน้า Story แบบสาธารณะได้ แต่ชื่อของผู้ตอบจะไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ

สร้าง Highlight รวมเป็นกลุ่ม

แม้ Story จะอยู่แค่ 24 ชั่วโมง แต่สามารถสร้างเป็น highlight ให้อยู่รวมเป็นกลุ่มรวบรวมเป็นอัลบั้มได้ นั่นยิ่งทำให้ง่ายต่อการดูเป็นหมวดหมู่มากขึ้น ร้านค้าใน Instagram นิยมใช้วิธีนี้ในการขายสินค้าเป็นคอลเลกชัน แต่หากเป็น Instagram Story ก็สามารถสร้างเป็นหมวดหมู่ ที่เรียกว่า Highlight ให้คนทั่วไปดูได้ และยังสามารถตั้งรูปภาพหน้าปกได้เองอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า Story หนึ่งชิ้น สามารถตกแต่งและเสริมลูกเล่นได้หลายอย่าง จึงเรียกความสนใจและสร้างภาพจำให้กับผู้ชมได้ง่าย แต่อย่าลืมว่าเวลาในการเล่นต่อหนึ่งเรื่องราว สามารถเล่นได้สูงสุด 15 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นต้องไม่ยัดเยียดเนื้อหาหรือข้อความมากจนเกินไป และวางแผนให้ดีว่าอยากสื่อสารกับคนดูอย่างไร

Writer Profile : Patta.pond
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

Thumbsup เปิดจอยกรุ๊ปตำแหน่ง Content Creator


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save