How to say no วิธีการรับมือเมื่อเห็นต่างกับหัวหน้า

Writer : Patta.pond

: 13 สิงหาคม 2563

เมื่อทำงานแบบเป็นทีม หรือมีหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องมีบ้างที่จะมีความเห็นไม่ตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นโปรเจ็คใหม่ที่เราไม่เห็นด้วยกับเจ้านาย การวางวันเวลาที่ดูจะเป็นไปไม่ได้ของเพื่อนร่วมงาน หลายอย่างที่เราอยากจะปฎิเสธเสียเหลือเกิน แต่ก็ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไรดี วันนี้เราจะไปดูวิธีการรับมือกับเรื่องนี้กัน

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่กล้าจะปฎิเสธ หรือแสดงอาการไม่เห็นด้วยกับผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตน เนื่องจากเป็นกลไกการป้องกันตัว ที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้ตัวเองอาจตกอยู่ในอันตรายได้ ทำให้เมื่อเราคิดจะปฎิเสธ มักจะมีความคิดอื่นๆ ตามมา เดี๋ยวหัวหน้าต้องไม่ชอบเราแน่เลย เค้าต้องหมายหัวเราไว้แล้วแน่ๆ แต่บางเรื่องการพูดออกไปยังไง

ไม่คิดไปเกินจริง

คนส่วนใหญ่มักประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไว้เกินจริง และมักจะมองว่าเป็นทางลบมากกว่าบวกซะด้วย  จริงอยู่ที่ว่าเมื่อพูดออกไปอาจเกิดความรู้สึกหัวเสีย หรือหงุดหงิดเล็กน้อย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการมีความเห็นไม่ตรงกัน แต่ไม่ได้เพิ่มโอกาสในการถูกไล่ออก หรือทำให้กลายเป็นศัตรูชีวิตเลยแม้แต่นิดเดียว  เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่โปรเจคอาจจะพัง หรือการสูญเสียความเชื่อใจของทีมไปอีกนาน ลองชั่งน้ำหนักดูให้ดีๆ ว่าสิ่งไหนจะก่ปอให้เกิดความเสียหายับชีวิตเรามากกว่ากัน

รอช่วงจังหวะที่เหมาะสม

หลังจากประเมินความเสี่ยงแล้ว (ว่าบอกหรือไม่บอก จะส่งผลกระทบมากกว่ากัน) ก็ต้องรอจังหวะเวลาที่ถูกต้องด้วย ว่าสิ่งที่รอจะพูดนั้น เราคิดทบทวนดีแล้วหรือยัง หรือบางทีการรอจังหวะอาจทำให้เห็นทิศทางของกลุ่มมากขึ้น แล้วการตัดสินใจก็มีแนวโน้มเปลี่ยนไปได้

และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ในเรื่องของจังหวะเวลาของงานเท่านั้น แต่รวมไปถึงจังหวะอารมณ์ของหัวหน้าด้วย หากเข้าไปทักท้วงในช่วงที่กำลังหงุดหงิดอยู่ อาจทำให้อารมณ์โกรธที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ส่งผลมาถึงเราได้

คิดถึงเป้าหมายทีมเป็นหลัก

ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นตัวเองออกไป นึกถึงสิ่งที่หัวหน้าให้ความสำคัญ เป้าหมายที่วางกันไว้ อาจจะเป็น ความน่าเชื่อถือของทีม หรือการทำโปรเจคให้เสร็จ และเมื่อแสดงความเห็นตัวเองออกไปแล้ว ต้องพูดให้ชัดเจนถึงจุดประสงค์ของการคัดค้าน  เพื่อเป็นการแสดงถึงจุดยืนว่าคุณยังคงต้องการเป้าหมายเดียวกัน ไม่ได้เป็นศัตรู  เพื่อให้การถกเถียง กลายเป็นการพูดคุยเพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุด

ขออนุญาตไม่เห็นด้วย

อ่านมาถึงตรงนี้คงมีหลายคนขมวดคิ้วกันอยู่ไม่น้อย แต่เชื่อเถอะว่าการเริ่มต้นด้วยการขออนุญาต ถือเป็นการป้องกันตัวอย่างหนึ่งในทางจิตวิทยา  ซึ่งหลังจากได้รับการยินยอมนั้น นอกจากหัวหน้าจะรู้สึกว่าตัวเองควบคุมได้ว่าจะให้ตอบหรือไม่ให้ตอบแล้ว ยังจะทำให้เรามีความมั่นใจที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้นอีกด้วย

ไม่ใช้คำพูดที่แสดงถึงการตัดสิน

ขณะที่กำลังแสดงความคิดเห็นของตัวเอง ต้องระวังการใช้คำพูดเป็นพิเศษ ไม่ใช่คำพูดที่แสดงถึงการตัดสินอย่าง ไม่มองการณ์ไกล ทำอะไรที่เร่งด่วนเกินไป หรือไม่ฉลาด เพราะอาจทำให้อีกฝ่ายเกิดความฉุนเฉียวจนลืมมองถึงเหตุผลไปได้ทันที

ทริคสำหรับคนที่กลัวว่าตัวเองจะเผลอพูดออกมา ให้ตัดคำคุณศัพท์ (คำที่บอกลักษณะต่างๆ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Adjective นั่นแหละ) ออก และพูดเพียงแค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น เช่น แทนที่จะพูดว่า การจะทำงานให้เสร็จทันภายในสิ้นเดือนเป็นเรื่องไร้สาระมาก ลองเปลี่ยนเป็น ด้วยปริมาณงานเท่านี้ อาจเสร็จไม่ทันสิ้นเดือนนี้ได้ เราลองมาคำนวณเวลากันใหม่ดีไหม จะทำให้รู้สึกว่าไม่มีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้จัดการได้ง่ายขึ้น

ถ่อมตัว

อย่าลืมว่าตัวเองกำลังพูดถึงความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่ “ข้อเท็จจริง” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลแค่ไหน ข้อมูลจริงจังเพียงใด ก็ยังเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวในตอนแรกอยู่ดี ดังนั้นต้องพูดด้วยความถ่อมตัว ไม่ใส่อารมณ์หรือแสดงถึงความก้าวร้าว  พยายามใช้รูปประโยคที่เป็นการแนะนำ เช่น ลองเปลี่ยนเป็น, ลองทำเป็น, หรือถ้าทำแบบนี้อาจจะช่วยเรื่องนี้ได้มากขึ้น หลังจากแนะนำแล้ว ก็เชิญชวนให้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อกัน อาจเริ่มด้วยประโยคว่า คุณเห็นด้วยกับผมไหม หรือเราสามารถทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง

ท้ายที่สุดแล้ว ต้องไม่ลืมว่าคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจคือหัวหน้า และแม้จะแสดงความเห็นออกไปแล้วไม่ได้รับการตอบรับ ก็ต้องเคารพในอำนาจของแต่ละคน เพราะการแสดงออกถึงความเคารพและไม่ใช้อารมณ์ ก็เป็นการแสดงถึงความเคารพในตัวของเราเองเช่นเดียวกัน

 

Writer Profile : Patta.pond
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

มีอะไรใหม่ใน WWDC 2021


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save