category รู้จักแคมเปญ Hold Your Breath กับภาวะอันตรายของเด็กไทยอย่าง Asphyxia

Writer : icediry

: 5 ตุลาคม 2560

ว่ากันว่าคนทั่วไป สามารถกลั้นหายใจได้ 30 วินาที

แต่กับคนบางกลุ่มอาจไม่มีโอกาสเหมือนกับเรา

นี่คือส่วนหนึ่งของคำพูดที่เป็นที่มาของแคมเปญ Hold Your Breath ที่ Generali Thailand ตั้งใจสร้างสรรค์ เพื่อให้คนไทยได้รู้จักกับภาวะ Asphyxia หรือภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมรูปแบบใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้คนในสังคม

generaly

คุณบัณฑิต  เจียมอนุกูลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่ ประจำประเทศไทย เผยถึงที่มาของแคมเปญนี้ว่า ทาง Generali Group บริษัทแม่ที่ประเทศอิตาลี  ได้มีการระดมไอเดียของพนักงานจากทุกประเทศทั่วโลกเพื่อเลือกเฟ้นสิ่งที่บริษัทจะก้าวเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่ง “Asphyxia” ก็เป็นอีกหนึ่งภัยร้ายที่ได้รับการคัดเลือกจาก Generali Group โดยทีมงาน Generali Thailand เอง ก็ ได้เลือกนำนโยบายดังกล่าว จากหลายๆนโยบาย มาคิด ต่อยอด ให้เป็นแคมเปญที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะ brand essence ของเราก็คือการ “Protect Your Love” ดังนั้น การเริ่มต้นก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเด็กไทย ก็คงเป็นเหมือนการปกป้องดูแลความรักที่เรามีต่อสังคมไทยในอนาคตข้างหน้า

เมื่อการทำ CSR เป็นมากกว่าแค่ในบริษัท

จะเห็นได้ว่าโรค Asphyxia เป็นภาวะอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม กิจกรรม CSR ของ Generali เองจึงไม่ได้มุ่งแค่การบริจาคหรือการระดมทุนเฉพาะภายในองค์กร แต่นี่คือแนวทางของกิจกรรมเพื่อสังคมแบบใหม่ของ Generali Group ที่เรียกว่า “The Human Safety Net” ที่นอกจากช่วยเหลือสังคมแล้ว ยังเปิดกว้างให้คนทั่วไปได้ตระหนักรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสังคมร่วมกันอีกด้วย เพราะนี่คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนโดยที่ทุกท่านเองก็อาจจะไม่รู้ตัว

Generali-csr-2

จากนั้นในคลิปของแคมเปญเราจะได้เห็นน้องๆดาราเซเลบ New Gen ทั้ง เกรท สพล, เต้ ชยพัทธ์, มิ๊วซ์ ณัฐวิทย์, บอส อภิชา, เนม ภูมิพัฒน์ ที่มาช่วยกันส่งต่อแคมเปญนี้ โดยเฉพาะพี่ใหญ่ใจดีของแคมเปญอย่าง ณัฐ ศักดาทร ที่ไม่ใช่แค่ร่วมโปรโมทแคมเปญ เขายังเป็นส่วนหนึ่งในการชักชวนเหล่า Online Influencers มาร่วมกันส่งต่อพร้อมร่วมบริจาคด้วย

0

รู้จักกับภาวะ  Asphyxia โรคร้ายในเด็กอันดับต้นๆ ของไทย แต่พ่อแม่หลายคนไม่เคยรู้

image6

ถ้าพูดถึงภาวะ  Asphyxia หลายๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นหูนัก ซึ่งภาวะนี้โรคนี้เป็นการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่นำเป็นสู่อาการอันตรายหลายๆอย่าง  โดยพบในเด็กถึง 2 ใน 3 จาก 1,000 คน

เราเลยมาพูดคุยกับ  นายเเพทย์ ธนินทร์ เวชชาภินันท์ นายเเพทย์เชี่ยวชาญด้านกุมารประสาทวิทยา จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เกี่ยวกับรายละเอียดของภาวะนี้กัน

image

สาเหตุของภาวะ Asphyxia

สาเหตุเแรก คือ เริ่มตั้งเเต่ในท้องเเม่ก่อนคลอด มาจากหลายอย่าง เช่น

  • เด็กสายรกเสื่อม
  • ปัญหาจากการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ เนื่องจากเเม่มีความดันโลหิตสูง
  • ภาวะที่เเม่ช็อกเพราะเสียลือดมาก ดังนั้นเลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงเด็กได้ เพราะความดันโลหิตต่ำ
  • กรณีแม่ประสบอุบัติเหตุ ที่ส่งผลต่อความดันโลหิตของแม่
  • เด็กติดอยู่ในปากมดลูกนานเกินไป เนื่องจากการคลอดมีปัญหา เเละขาดออกซิเจนในที่สุด

ซึ่งถ้าเเพทย์หรือผู้ดูเเลวิเคราะห์ว่าเด็กมีภาวะ Asphyxia  ตั้งเเต่อยู่ในท้องเเล้ว ก็อาจจต้องคลอดด้วยวิธีอื่น เช่น ผ่าตัดออกทางหน้าท้องโดยด่วน เพื่อให้เด็กคลอดออกมาในช่วงที่สมองเด็กไม่ขาดออกซิเจนมากไปกว่านี้ จากนั้นก็พาออกมาดูแลข้างนอกแทน

image9

หรือในบางราย เด็กอาจมีภาวะบางอย่างจนทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด”  โดยที่จริงเเล้วปกติการคลอดจะต้อง 38 สัปดาห์ขึ้นไป หรือ 9 เดือน เด็กจึงจะร่างกายสมบูรณณ์ มีปอด เเละสมองสมบูรณ์พร้อมที่จะออกมาหายใจภายนอกได้ เเต่การที่เด็กคลอดก่อนกำหนดอาจมาจากที่ในท้องมีความผิดปกติบางอย่าง ดังนั้นเด็กจึงเกิดการป้องกันตัวเอง ด้วยการพยายามออกมาจากในท้องเเม่ จนเกิดเป็นภาวะเกิดก่อนกำหนดในที่สุด

โดยการคลอดก่อนกำหนดนี้ อาจทำให้ปอดยังไม่พร้อมทำงาน เพราะขาดสารยืดหยุ่นของปอด ดังนั้นปอดจึงไม่ขยายตัว ประกอบกับปอดยังขยายตัวไม่เต็มที่ มีปัญหาในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองจึงน้อย เเละสมองเองก็เป็นอวัยวะที่ต้องใช้ออกซิเจนมาก และอาจมีอาการเเสดงออกทางสีผิว คือ อาจจะตัวเขียว (ภาวะเด็กเขียว”) หรือ บางรายมาโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเเล้ว  หรือมีอีกประเภท คือ เด็กที่คลอดตามเวลาปกติครบ 38 สัปดาห์ เเต่มีปัญหาเกิดขึ้นขณะคลอด เช่น

  • ภาวะรกมีปัญหา เช่น รกเกาะต่ำ
  • คลอดปกติ เเล้วมาขาดออกซิเจนข้างนอก
  • เด็กปอดอักเสบ ติดเชื้อตั้งเเต่อยู่ในท้องเเล้วออกมาขาดออกซิเจนอยู่ข้างนอก ทำให้ระบบเเลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่สมบูรณ์ เป็นผลให้ได้รับออกซิเจนน้อย

เด็กกลุ่มอายุครรภ์ปกตินี้เมื่อเกิดสภาวะ Asphyxia จะทำให้ความดันในปอดสูง เลือดผ่านเข้าปอดไม่ได้ พอเลือดผ่านปอดไม่ได้ ก็ไม่สามารถเเลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ ทำให้สมองขาดออกซิเจนอีก นั่นหมายความว่าแม้เด็กอายุครรภปกติก็อาจเกิดภาวะ Asphyxia ได้เช่นกัน

image10

ซึ่งจากปัจจัยทั้งหมดอาจนำไปสู่การที่สมองของเด็กๆ ขาดออกซิเจน และอาจจะทำให้มีอาการแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา คือ

ชักตั้งเเต่เเรกเกิด

  • ชักหลบใน (แบบไม่มีอาการให้เห็น) จะเห็นแค่เด็กนอนนิ่งๆ
  • อวัยวะในร่างกาย ทำงานไม่สมบูรณ์ เช่น สมอง หัวใจ ตับ ไต ลำไส้ เป็นต้น
  • ส่งผลให้สมองเหี่ยวเล็กลง หรือ สมองพิการ (Cerebral palsy)
  • โรคพัฒนาการช้า หรือ ภาวะไอคิวต่ำ ทำให้มีปัญหาด้านการเรียนในอนาคต
  • โรคลมชัก

       เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้แล้ว สิ่งที่ทำได้ดีที่สุด คือ ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับเด็กโดยเฉพาะ ในโรงพยาบาลที่บุคลากรพร้อมดูแลเด็กแรกเกิดจริงๆ

Generali-

และในแคมเปญนี้ ยังรวมความเป็นสังคมยุคโชเชียล หลังจากดูคลิปนี้จบ ให้ลองจับเวลาการกลั้นหายใจพร้อมกับแชร์ภาพและวินาทีที่ทำได้ พร้อมใส่แฮชแท็ก #HoldYourBreathTH #ProtectYourLove และแชร์ต่อลงโซเชียล พร้อมแท็กเพื่อนอีก 3 คนท้าแข่งกันกลั้นหายใจซึ่งไอเดียนี้เป็นอีกหนึ่งความต้องการที่ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจถึงโรคนี้มากขึ้นหากต้องขาดอากาศหายใจ

อย่างที่บอกว่า CSR นี้เป็นสิ่งที่ทำทุกคนได้มีส่วนผล ผ่านการบริจาคให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก ผ่านทาง SMS กด*948*1415*100#โทรออก เพื่อร่วมบริจาคครั้งละ 100 บาท หรือโอนเข้าบัญชี มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก กองทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักรัชโยธิน เลขที่ 111-410586-1 ก็ได้ค่ะ

ถือว่าเป็นกิจกรรม CSR ที่ให้สังคมได้มามีส่วนรวมและตระหนักถึงโรคนี้ ลองเข้าไปกลั้นหายใจกันดู แล้วจะเข้าใจโรคนี้กันมากขึ้นค่ะ… holdyourbreaththailand

Writer Profile : icediry
ชอบสะสมแมวปลอม รักแมวจริง และมีไอทีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต :)
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

รวมภาพ S2O2018 สนุก ชีวิตดี กับ BLEND 285


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save