category แค่คลิกก็ได้ปลูกป่าจริง !! กับแคมเปญสุดน่ารัก “ออรา ปลูกป่า 5 ภาค” มาปลูกป่ากันเถอะ

Writer : nardpradabt

: 24 เมษายน 2561

aura-campaign-my-plants-info-02

“ทำไมหน้าร้อนแล้วมันร้อนขนาดนี้” “ทำไมบ้านเราร้อนอากาศก็แห้งแล้ง” “ทำไมอากาศแปรปรวน อยู่ๆก็ร้อน อยู่ๆก็ฝนตก” หรือ “ทำไมฝนตกแล้วน้ำท่วม” เชื่อว่าเป็นประโยคที่หลายคนต้องเคยพูดแน่นอน แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่าเหตุผลที่เป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดสิ่งนั้น นั่นคือ ป่าไม้ถูกทำลาย ระบบนิเวศไม่สมบูรณ์ พื้นที่ป่าลดน้อยลงทำให้ร้อน แห้งแล้ง หรือ ฝนตก ไปจนถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ คงถึงเวลาแล้วที่มนุษย์อย่างเราต้องมาดูแลสิ่งที่เหมือนไกลตัวเราแต่ส่งผลใกล้ตัวเรามากที่สุด “แล้วเราจะช่วยป่าไม้บ้านเราในทางไหนได้บ้าง” ต้องลงทุนไปต่างจังหวัดเพื่อไปปลูกป่าเลยไหม หรือจะมีทางไหนที่เราจะพอช่วยได้บ้าง

ทำไมต้องเป็นป่าต้นน้ำ ป่าต้นน้ำคืออะไร

หลายๆคนอาจยังไม่ทราบว่า ป่าที่สําคัญที่สุดสําหรับประเทศไทยในวันนี้ก็คือ “ป่าต้นน้ํา” ป่าธรรมชาติที่ปรากฎอยู่บริเวณพื้นที่ต้นน้ําลําธาร โดยทั่วไปจะอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป ซึ่งคุณค่าของป่าต้นน้ำ คือ ช่วยดูดซับและเก็บกักน้ําฝนตามธรรมชาติ ตลอดจนการควบคุมการกัดชะพังทลายของดิน ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่ง และดูแลให้มีความอุดมสมบูรณ์ นำไปสู่การเป็นลําธาร น้ําตก ไหลลงสู่ แคว ลําคลอง ไปสู่ ปลายน้ําอย่างทั่วถึงสู่ชุมชนให้พวกเราได้ใช้กันทุกครัวเรือน นั้นทำให้ป่าต้นน้ำมีความสำคัญมากต่อทุกชีวิตไม่ใช่เพียงเฉพาะมนุษย์เท่านั้น รวมไปถึงสัตว์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ

แต่ละพื้นที่ป่าต้นน้ำต่างๆ จะมี “ต้นไม้ประจำถิ่น” ขึ้นอยู่กับ สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และระบบนิเวศต่างๆ การปลูกป่าที่ถูกต้อง จึงต้องมีศึกษาการเลือกพันธุ์ไม้ที่จะไปปลูกในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นป่าด้วย  ยกตัวอย่างเช่น ภาคใต้  ที่มีลมทะเลจากทั้งสองฝั่งทะเล จึงเหมาะกับพันธุ์ไม้อย่าง ต้นยางนา ที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิใน อากาศ ช่วยให้ร่มเงา กําบังลม และให้ความชุ่มชื้น หรือ ภาคเหนือ เป็นพื้นที่สูง เต็มไปด้วยหุบเขา มีไร่เลื่อนลอย อากาศเย็น จึงเหมาะแก่การปลูก ต้นพญาเสือโคร่ง หรือ ซากุระเมืองไทย ที่สามารถอยู่บนพื้นที่ต้นน้ำลำธารได้ดี สามารถฟื้นฟูสภาพป่าดิบเขาในพื้นที่ต้นน้ำ เป็นต้น

ดังนั้นการเลือกพันธุ์ไม้ต่างๆที่จะปลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญในการคำนึงถึงลักษณะทางพันธุ์พืช ลักษณะพื้นที่ ภูมิอากาศ และประโยชน์ที่ได้จากการปลูกพันธุ์พืช เพื่อให้พันธุ์ไม้อยู่กับเราให้ได้นานที่สุดเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สิ่งมีชีวิตได้อีกนาน

การคัดเลือกพันธ์ุไม้กับพื้นที่ปลูก

  1. ศึกษาโครงสร้างของป่าที่พบโดยรอบหรือใกล้เคียง ว่ามีพันธ์ุไม้ชนิดใดบ้าง โครงสร้างเรือนยอดของป่ามีพันธ์ุไม้ชนิดใด
  2. ยึดหลัก “ปลูกไม้ 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง” สำรวจความต้องการชุมชนที่เราต้องการจะปลูกและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกชนิดพันธ์ุไม้
  3. คัดเลือกให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ และ ภูมิอากาศของพื้นที่ ไม่เลือกไม้ต่างถิ่นที่อยู่ หรือ พันธ์ุไม้ที่ยังไม่เคยปลูกในพื้นที่นั้นมาก่อน โดยเฉพาะในพื้นที่ต้นน้ำลำธารในเขตอุทยานแห่งชาติ และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ความแตกต่างของพันธุ์ไม้ในแต่ละพื้นที่

  • ภาคเหนือ ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นทิวเขา หุบเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขาที่มีความลาดชัน ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ บริเวณพื้นที่สูงพบป่าดิบเขา ป่าสนเขา ซึ่งภาคเหนือเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย จึงเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และ ประกอบกับเป็นภาคที่มีอากาศเย็น ทำให้พืชที่นำมาปลูกต้องเติบโตได้ดีในลักษณะภูมิประเทศและอากาศนี้ เช่น ต้นสัก เต็ง รัง แดง ตะแบก ต้นพญาเสือโคร่ง ต้นมะค่าโมง ต้นเสี้ยวดอกขาว จำปี ต้นเติม หรือ ประดู่ส้ม เป็นต้น
  • ภาคตะวันตก ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นทิวเขา หุบเขาแต่ไม่มีที่ราบระหว่างหุบเขาเหมือนทางภาคเหนือ สภาพเป็นดินทราย มีน้ำน้อยเพราะอยู่ในเขตอับฝน มีแม่น้ำสายสั้นๆ ส่วนใหญเป็นป่าดงดิบและป่าเบญพรรณ ภูมิอากาศ ร้อนชื้นสลับแล้ง ฝนตกน้อย ฤดูหนาวจะหนาวจัด พันธุ์ไม้ที่เหมาะสม เช่น แดง ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ยางนา  ที่สามารถพบได้ทั่วไป เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ต้นสัก ประดู่ เป็นต้น
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็น ภาคนี้มีป่าไม้น้อย ป่าที่พบ คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าแดง ซึ่งเป็นป่าโปร่งสลับกับไม้พุ่มและหญ้าใบยาว ป่าดิบเขา และป่าสนเขา พบในพื้นที่สูง เป็นป่าดิบแล้ง (Dry-evergreen forest) ซึ่งเป็นป่าดิบที่มีต้นไม้ ไม่ผลัดใบซึ่งมีความสูงปานกลาง มีใบหนาแข็ง เรือนยอดมีใบหนาแน่น เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้คงคาเดือด ไม้มะพลับดง ไม้ตะเคียนหิน ไม้ตะแบกต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนไม้เล็กและไม้ระดับพื้นดินมีไม่หนาแน่นเท่าป่าดิบชื้น ซึ่งเหมาะกับดินแห้ง โปร่ง ถ่ายเทน้ำได้ดี
  • ภาคใต้ เป็นป่าที่มีใบไม้สีเขียวตลอดปี สภาพป่ารกทึบ มักจะพบป่าชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามบริเวณหุบเขา เนินเขา พื้นที่ริมห้วย แม่น้ำ ลำธารต่าง ๆ หรือบริเวณที่อยู่บนภูเขาที่มีความชุ่มชื้นสูง เป็นบริเวณที่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย ที่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้นาน ต้นไม้ที่มีอยู่ในป่าชนิดนี้ จะมีลำต้นใหญ่ขึ้นหนาแน่น แสงสว่างส่องไม่ถึงพื้น ทำให้อากาศในป่านี้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา พันธุ์ไม้ที่เหมาะสม เช่น ยางนา เหรียง ตะเคียนทอง โกงกาง เป็นต้น
  • ภาคกลาง เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน และในพื้นที่ที่ติดกับชายฝั่งทะเลจะพบป่าชายเลน ด้วยลักษณะภูมิประเทศทำให้เกิดน้ำท่วมได้ง่ายในฤดูฝน ในฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากนัก และในฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ ดินเป็นดินร่วน อุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่เหมาะสม เช่น ประดู่ส้ม หรือ เติม หว้า นนทรี ประดู่ มะค่าโมง และ ตะแบก เป็นต้น

21mar2018-07

แล้วเมื่อเราตระหนักได้ถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำแล้ว เราอยากปลูกป่า ในความคิดเบื้องต้นมันต้องเกิดได้ยากแน่นอนในชีวิตประจำวันของเรา ไม่มีเวลา มีความยากลำบากในการเดินทางไปปลูกป่าในพื้นที่ไกลๆเนื่องจากข้อจํากัดด้านต่างๆ ไม่มีเวลาในการศึกษาพันธุ์ไม้และจัดเตรียม หรือ ข้อจำกัดด้านต่างๆที่ทำให้เราไม่สามารถปลูกป่าได้จริง แล้วถ้าเรามีโครงการดีดีที่ทำให้เราทุกคนสามารถรัก(ษ์) ป่าต้นน้ำได้ โดยที่ไม่ต้องไปปลูกจริงดูล่ะ !

โครงการ “ออรา ปลูกป่า 5 ภาค”

ตอนนี้มีโครงการดีๆที่จะทำให้การปลูกป่าง่ายเพียงคลิ๊กนิ้ว จะอยู่ไหน ทำอะไรที่ไหน ก็สามารถปลูกป่าช่วยชาติได้ กับ โครงการเจตนารมณ์ดี “ออรา ปลูกป่า 5 ภาค” แค่เพียงเราเข้าไปร่วมสนุกได้ง่ายมากโดยการ Scan QR Code ผ่านทางขวดน้ำแร่ “ออรา” ทุกขวด จะพาเราไปร่วมปลูกป่ายังเว็บไซต์ ออราปลูกป่า5ภาค.com เพียงแค่นี้คุณก็เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาป่าไม้ และ สร้างความรับผิดชอบที่ดีแก่สังคมแล้ว

aura-campaign-my-plants-info

จากภาพอินโฟกราฟิกด้านบน ทำให้ทราบแล้วว่า ทำไมเราถึงต้องมาตระหนักในการอนุรักษ์และรักษาป่าไม้กันเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ป่าไม้บ้านเราลดน้อยลงมาก ตามปัจจัยต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น และสาเหตุส่วนใหญ่ล้วนมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น คงถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องมาช่วยกันสร้างสิ่งดีๆคืนสู่ธรรมชาติ กับโครงการปลูกป่าที่สามารถปลูกที่ไหนก็ได้ จะอยู่บ้าน ที่ทำงาน ที่โรงเรียน หรือที่ไหนๆ ก็สามารถทำได้

โครงการ “ออรา ปลูกป่า 5 ภาค” สร้างเจตนารมณ์ดีๆ สู่สังคมกับ “ออรา ปลูกป่า 5 ภาค” นับเป็นโครงการที่ต้องการสืบสาน เจตนารมณ์ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำแบบยั่งยืนทั่วประเทศ นับเป็นหนึ่งในนโยบายของบริษัท ทิปโก้ เอฟ แอนด์บี จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำแร่ธรรมชาติ ภายใต้แบรนด์ ออรา ที่มุ่งเน้นการทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอด

ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และชาวชุมชนในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในการเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ ใน 5 ภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้ โดยกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนคนทั่วไปและกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่พร้อมสร้างจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคม ในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อป่าต้นน้ำทั่วประเทศไทย

aura1

อยากปลูกป่าออนไลน์มีขั้นตอนยังไงบ้าง

21mar2018-08

  1. Scan รหัส QR code (คิวอาร์โค้ด) ที่ติดอยู่บนฉลากของน้ำแร่ “ออรา” ที่มีทุกขวด
  2. รหัสจะนำพาเรามายังหน้าเว็บไซต์ http://www.ออราปลูกป่า5ภาค.com
  3. จากนั้น คลิกที่ “คลิกเริ่มปลูกป่า”
  4. เลือกภูมิภาคที่เราต้องการจะปลูกต้นไม้ของเรา
  5. ลงทะเบียนด้วย Facebook หรือ Email ของเราได้เลย
  6. เลือกชนิดต้นไม้ที่จะปลูก และ ตั้งชื่อต้นไม้ของเราได้ และ กด “ยืนยันการปลูก”
  7. จากนั้นเราสามารถแชร์ต้นไม้ที่เราปลูกได้ที่ Facebook พร้อมทั้งติดตามการปลูกต้นไม้ของเราได้ต่อ และยังสามารถชวนเพื่อนมาปลูกต้นไม้ทางแอพพิเคชั่นต่างๆได้อีกด้วย

ติดตามต้นไม้ที่เราปลูกได้ในมิถุนายน 61 ผ่านทางเว็บไซต์ของโครงการ และ รายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายจะนำไปสนับสนุนในโครงการนี้

aura2

aura4

การเลือกป่าต้นน้ำที่จะปลูก

โดยป่าทั้ง 5 ภาคนี้ โครงการออราปลูกป่า 5 ภาคในปีนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และชุมชนบ้านปงไคร้ ต. โป่งแยง อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ ในการเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ํา ใน 5 ภาคอย่างยั่งยืน โดยการคัดเลือกพื้นที่ที่จะดำเนินการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ จะเน้นพื้นที่ดำเนินการที่เสื่อมโทรมมากหรือพื้นที่ที่เสียหายมากตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของระบบนิเวศต้นน้ำ จึงทำการคัดเลือกพื้นที่ที่ปลูก ดังนี้ ภาคเหนือ ปลูกที่ ชุมชนบ้านปงไคร้ จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย ภาคตะวันตก ปลูกที่ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ภาคกลาง ปลูกที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และ ภาคใต้ ปลูกที่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จ.ระนอง

การดูแลรักษาต้นไม้ของคุณในอีก 10 ปี

และทางออรามีการดูแลรักษาต้นไม้ของคุณไปอีก 10 ปี ด้วยวิธีการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ 4 วิธี ประกอบไปด้วย

  • การปลูกป่าฟื้นฟูป่าต้นน้ำในพื้นที่เสื่อมโทรม เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ เช่น การคัดเลือกพันธ์ุไม้ การเตรียมพื้นที่ การเตรียมกล้าไม้ การปลูกต้นไม้ การทำแนวกันไฟป่า การถางวัชพืชและปลูกซ่อมต้นที่ตายทดแทน และ การรังวัดแปลงปลูกป่า เป็นต้น ในการเริ่มปลูกในปีที่ 1 ที่ต้องให้ความสำคัญในการเก็บข้อมูล การปฏิบัติวางแนวทางเพื่อให้การปลูกต้นไม้ออกมาสมบูรณ์ที่สุด และ การติดตามอย่างใกล้ชิด พร้อมกับการประชาสัมพันธ์และลาดตะเวนป้องกันพื้นที่
  • การปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ การเลือกพื้นที่ต้นน้ำที่เสื่อมโทรมมาก มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของระบบนิเวศต้นน้ำให้มากที่สุด
  • การบำรุงรักษาแปลงปลูกป่าฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ และ แปลงปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ โดยในปีแรกดำเนินการปลูกป่าฟื้นฟูและปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ ในปีที่ 2-6 จึงจำเป็นที่เพิ่มการบำรุงดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสำเร็จที่สุด
  • การบำรุงรักษาแปลงปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำ โดยในปีที่ 2-6 ต่อเนื่องจนปีที่ 7-10 จึงเป็นการบำรุงดูแลที่ได้ดำเนินการปลูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อคืนป่าให้สมบูรณ์ที่สุด

เราทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ และ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆ ทุกคนสามารถทําได้ เพียงมีจิตสํานึกที่ดีต่อส่วนรวม และ แสดงออกมาอย่างถูกต้อง

ที่มา : dnp และ thairakpa


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save