จ่อเพิ่มผู้ป่วย 'เบาหวาน-ความดัน-ลมชัก-อารมณ์สองขั้ว-ออทิสติก” ห้ามทำใบขับขี่ เริ่ม ก.พ. 64


: 29 ตุลาคม 2563

กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เผยกรณีเว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกฎกระทรวงคมนาคมเรื่องการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2563 มีผลใช้บังคับภายใน 120 วัน หรือภายในประมาณวันที่ 20 ก.พ. 64 

โดยมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “การออกใบรับรองแพทย์ประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถหรือขอใบขับขี่“ 

ซึ่งขณะนี้ทางกรมการขนส่งทางบก อยู่ระหว่างหารือแพทยสภา เพื่อจัดทำรายละเอียดให้สอดคล้องกับกฏกระทรวง โดยกำหนดให้ใบรับรองแพทย์ต้องแสดงว่าไม่มีโรคประจำตัว หรือสภาวะของโรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่า อาจเป็นอันตรายขณะขับรถหรือมีอาการผิดปกติทางจิต หรือมีโรคที่ไม่เหมาะสมกับการขับรถ

เดิมทีได้กำหนดโรคต้องห้ามในการขับขี่ไว้ 5 โรค ได้แก่ 

1.โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม

2.โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ

3.โรคเรื้อน

4.โรคพิษสุราเรื้อรัง

5.โรคติดยาเสพติดให้โทษ

และกำลังพิจารณาเพิ่มโรคต้องห้าม อาทิ โรคลมชัก, โรคเบาหวาน, โรคความดัน, โรคอารมณ์สองขั้ว, ออทิสติก หรือตัวเตี้ยผิดปกติ 90 ซม. เนื่องจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในหลายปีที่ผ่านมา ก็จะมีเหตุของผู้ป่วยในกลุ่มโรคดังกล่าวเข้าไปเกี่ยวข้อง 

ซึ่งแพทย์ที่ต้องออกใบรับรองแพทย์ ต้องเป็นผู้ประเมินสภาพทางด้านร่างกายของผู้ขอใบรับรองแพทย์ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ เพื่อให้ทัน 120 วัน 

โดยกรณีการขอใบรับรองแพทย์นี้ จะใช้กับรถทุกประเภทที่มารับใบขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ รถโดยสารสาธารณะ ขณะเดียวกันอาจให้นำใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าเหมาะสมกับการขับรถอย่างปลอดภัยมาแสดงเพิ่มเติม

นอกจากนี้ จะมีเจ้าหน้าที่จะประเมินความพร้อมด้านร่างกายของผู้ขอต่อใบขับขี่ ถ้าสังเกตหรือประเมินแล้วพบว่ามีสภาวะด้านร่างกายไม่พร้อม มีความเสี่ยงต่ออันตรายในการขับรถ จะนำบุคคลนั้นไปทดสอบการขับรถเพิ่มเติมจากเดิมการขอต่อใบขับขี่ต้องทดสอบสมรรถภาพทางด้านร่างกาย เช่น ตาบอดสี และ เข้าอบรมการขับรถจะต่อใบขับขี่ได้ทันที

ที่มา : ch3thailandnews

TAG :
Writer Profile : jazz.ordinaryday
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save