category Brand Presenter VS Brand Ambassador สองบทบาทนี้ มีอะไรต่างกัน?

Writer : incwaran

: 14 สิงหาคม 2563

เมื่อพูดถึงสินค้าชิ้นหนึ่ง แล้วเรานึกถึงดาราคนไหน นั่นแปลว่าเรามีภาพจำสินค้าแบรนด์นั้นกับดาราคนนั้น เรามักจะคุ้นเคยกับการเรียกดาราที่มาโปรโมทสินค้าว่า Presenter แต่ยังมีอีกหนึ่งบทบาทที่ผูกแบรนด์เข้ากับผู้เป็นตัวแทนของแบรนด์ นั่นคือ Brand Ambassador 

ทั้งสองบทบาท ต่างก็ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ ให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงสร้างยอดขายให้กับแบรนด์

ฟังดูคล้ายๆ กัน แต่สองบทบาทนี้ก็มีความแตกต่างกัน และมีความสำคัญกับแบรนด์อย่างไร Mango Zero สรุปมาให้แล้ว 

Brand Presenter 

โฆษณาสินค้าส่วนใหญ่ มักใช้นักแสดง หรือคนที่มีชื่อเสียงมาเป็นองค์ประกอบหลักในการโฆษณาสินค้า นั่นก็เพราะว่าจะช่วยสร้างการจดจำให้ผู้ชม และแสดงถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ง่ายขึ้น ดาราหรือคนดังเหล่านั้นก็คือพรีเซนเตอร์ของแบรนด์นั่นเอง 

  • ตัวแทนแบรนด์ที่มาโปรโมทสินค้า 
  • แบรนด์สามารถเปลี่ยนแปลงพรีเซนเตอร์ได้ตลอดเวลา ระยะเวลาการจ้างมักจะสั้นกว่าแบรนด์แอมบาสเดอร์
  • มักปรากฏในโฆษณาทีวี โปสเตอร์โฆษณา รวมถึงสื่อโฆษณาอื่นๆ และกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในบางครั้ง
  • ทำความรู้จักสินค้าและแบรนด์เพื่อให้โฆษณาได้ แต่ไม่จำเป็นต้องผูกพันกับแบรนด์มากเท่าแบรนด์แอมบาสเดอร์
  • มักเลือกจากคนที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและโดดเด่นมากในขณะนั้น พิจารณาระยะสั้นมากกว่าระยยาว เป็นได้ทั้งนักแสดง ศิลปิน หรือผู้ที่เป็นที่รู้จักในวงการสินค้านั้นๆ 

Brand Ambassador 

  • ฑูตของแบรนด์ เป็นตัวแทนของแบรนด์ที่สามารถแสดงตัวตนแและเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้
  • ระยะเวลาการเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ มักจะต่อเนื่องและยาวนานกว่าพรีเซนเตอร์ 
  • มักมีข้อผูกมัดและเงื่อนไขมากกว่าพรีเซ็นเตอร์ เช่น ต้องใช้สินค้าของแบรนด์ ต้องโปรโมตสินค้าของแบรนด์ในชีวิตประจำวัน แสดงถึงความผูกพันกับแบรนด์ ไปจนถึงร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของแบรนด์ที่มีอย่างต่อเนื่อง
  • แบรนด์แอมบาสเดอร์ควรทำความเข้าใจและรู้จักแบรนด์ให้ลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ไปยังผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง
  • แบรนด์แอมบาสเดอร์มักจะเป็นดารา นักแสดง คนที่มีชื่อเสียง หรือคนที่มีภาพลักษณ์สอดคล้องกับแบรนด์ สามารถสะท้อนตัวตนของแบรนด์ผ่านทางคนๆ นั้นได้ 
  • จริงๆ แล้วคนในองค์กรโดยเฉพาะผู้บริหารหรือเจ้าของแบรนด์เอง ก็เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ได้ (เช่น ตัน ภาสกรนที แห่งแบรนด์โออิชิ) เพราะรู้จักเกี่ยวกับแบรนด์ดีอยู่แล้ว แต่คนทั่วไปจะจดจำได้ยากกว่า จึงมักเลือกบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงกว้างอยู่แล้วอย่างดารา

ปัจจัยในการเลือก Brand Presenter และ Brand Ambassador 

  • ตัวตนของบุคคลต้องสะท้อนถึงความเป็นแบรนด์ และไม่มีประวัติที่สร้างภาพจำด้านลบ
  • เลือกคนที่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์อยู่แล้ว เช่น ใช้สินค้าของแบรนด์อยู่แล้ว 
  • ไม่ซ้ำกับแบรนด์อื่น เพื่อสร้างความโดดเด่น และผู้บริโภคไม่สับสนกับแบรนด์อื่น
  • มีฐานแฟนคลับค่อนข้างมาก โดยเฉพาะฐานแฟนคลับที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ จะช่วยสร้างการรับรู้ (Awareness) การจดจำ ไปจนถึงสร้างยอดขายให้กับแบรนด์

ที่มา contentshifu

im2market

everyonesocial

positioningmag


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save