ตอบทุกข้อสงสัยของสิทธิ์รับ 5,000 บาท เยียวยาโควิด-19

Writer : Yoom

: 10 เมษายน 2563

หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาเงิน 5,000 บาท บนเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ว่าใครบ้างที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับการเยียวยา หรือจะมีการจ่ายเงินแบบไหน วันนี้ทีมงาน Mango Zero ได้นำรวบรวมคำตอบมาให้ทุกคนแล้ว

ผู้ที่ได้รับสิทธิ์

  • อายุ 18 ปีขึ้นหรือไม่เกิน 60 ปีขึ้นไป
  • ไม่อยู่ในสถานะว่างงานก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • ไม่ถูกเลิกจ้างหรือถูกลดเงินเดือนก่อนโรคโควิด-19
  • ประกอบอาชีพอิสระ
  • โดยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ก่อนก็คือ ก่อนก็คือ ผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล, คนขับแท๊กซี่, วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, มัคคุเทศก์

และจะเริ่มจ่ายเงินชดเชยตั้งแต่ 8 เม.ย 63 เป็นต้นไป โดยมีระยะเวลาในการชดเชย 6 เดือน (ตั้งแต่เดือน เม.ย-ก.ย.)

ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์

  • อายุต่ำกว่า 18 ปีหรือมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • เป็นผู้ว่างงานอยู่ก่อนแล้ว
  • ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม
  • ข้าราชการ
  • ได้รับบำนาญ
  • นักเรียนหรือนักศึกษา
  • เกษตรกร
  • ผู้ค้าขายออนไลน์
  • โปรแกรมเมอร์
  • คนงานก่อสร้าง

เนื่องจากบางอาชีพไม่ใช่กลุ่มผู้ใช้แรงงานหรืออาชีพอิสระที่ตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ทำให้ไม่ได้รับสิทธิ์ในการได้รับงดชดเชย หรือบางอาชีพอิสระเช่น ผู้ค้าขายออนไลน์ โปรแกรมเมอร์ และคนงานก่อสร้างนั้นเป็นอาชีพที่สามารถทำงานได้ตามปกติจึงไม่ได้รับเงินชดเชย ส่วนอาชีพเกษตร ทางรัฐบาลได้เตรียมการช่วยเหลือไว้อยู่แล้วในระยะที่ 3

อ้างอิง สิทธิ์มาตรการเยียวยา 5,000 บาท1 สิทธิ์มาตรการเยียวยา 5,000 บาท2 สิทธิ์มาตรการเยียวยา 5,000 บาท3

Writer Profile : Yoom
เด็กหนุ่มจบปรัชญาและศาสนาแต่มาทำงานเป็น Content Creator รักการปีนเขา เวลาว่างชอบเล่นกับแมว และชอบถ่ายวิดิโอเป็นชีวิตจิตใจ
View all post

[Covid-19 Phenomena] 12 New Normal ในมุมเศรษฐกิจ หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิดระบาด

[Covid-19 Phenomena] 10 New Normal ในมุมกีฬาและความบันเทิง หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิดระบาด


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save