category เพราะตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ : พามารู้จักดวงตา มองและเรียนรู้อวัยวะชิ้นนี้กัน

Writer : Kreenp

: 25 เมษายน 2562

ร่างกายมนุษย์แสนซับซ้อน ดวงตาก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่เราอยากพาทุกคนให้มาทำความรู้จักกัน ทั้วเรื่องสีของดวงตา, ความชัด, การกระพริบตา และเรื่องน่าสนใจอีกมากมายที่น่าจะทำให้เราได้สังเกตตัวเองและดูแลอวัยวะแสนสำคัญนี้ไม่ให้ล้าและเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร เอาล่ะ ลองไปดูกันเลย

เรามองเห็นได้อย่างไร

เริ่มจากเมื่อเรามองวัตถุต่างๆ แสงจะสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่ตาของเราผ่านกระจกตา สู่รูม่านตา และทะลุผ่านเลนส์ตา กระจกตาและเลนส์ตาจะเบี่ยงเบนแสงให้ตกที่จอประสาทตา เซลล์จอประสาทตาจะเปลี่ยนลำแสงเป็นคลื่นไฟฟ้า คลื่นไฟฟ้าจะวิ่งผ่านระบบประสาทของตาไปสู่สมอง และสมองนี่ล่ะที่จะแปลสัญญานเหล่านี้ให้ออกมาเป็นภาพ

สีของตา

  • สีของตาขึ้นอยู่กับเมลานินในม่านตายิ่งมีมากตาของเราจะเป็นสีน้ำตาลแต่ถ้ามีน้อยจะเป็นสีฟ้า
  • 55% ของคนบนโลกมีตาสีน้ำตาล

** คนที่มีตาสีฟ้าคนแรกเกิดขึ้นเมื่อ 6,000-10,000 ปีก่อนนี่เอง ก่อนหน้านั้นคนมีตาสีน้ำตาลเกือบทั้งหมด

พันธุกรรมสีดวงตา

การกระพริบตา

  • เวลาอ่านหนังสือหรือเล่นคอมพิวเตอร์เราจะกระพริบตาน้อยลงเป็นสาเหตุที่ทำให้ดวงตาล้าได้ไวขึ้นกลับกันเวลาเราพูดคุยเราจะกระพริบตาถี่ขึ้น
  • เรากระพริบตา 17 ครั้งใน 1 นาที
  • ในหนึ่งปี เรากระพริบตาถึง 5.2 ล้านครั้ง

ดวงตาของเราชัดแค่ไหน

วัดเป็นหน่วยพิเซลง่ายๆก็คือ 576 ล้านพิเซล (เทียบกับทีวี 4k ซึ่งชัด 8.29 ล้านพิกเซล) จะเห็นว่าดวงตาของเรามองเห็นได้ชัดมากๆ

  • คนที่สายตาสั้นยาวหรือเอียงก็ยังมีความชัดเท่านี้อยู๋เพียงแต่ระยะโฟกัสจะต่างกันไปเท่านั้นเอง

การดูแลสุขภาพตา

  • พักสายตา 5-10 นาทีต่อการทำงาน 1 ชั่วโมง
  • ศรีษะควรอยู่สูงกว่าจอคอมพิวเตอร์การเงยหน้ามองจอจะทำให้เมื่อยล้าได้ง่าย

ขอบคุณที่มาจาก ​: Essilor, Lenstore, The Power, Thai Health

บำรุงสวยตาด้วยเครื่องดื่มที่สดชื่น มีประโยชน์ต่อร่างกาย -> เครื่องดื่มที่มีส่วนช่วยคงสภาพปกติของการมองเห็น

Writer Profile : Kreenp
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

[Breaking News] ด่วน! พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอีก 35 คน ทำให้ผู้ป่วยสะสมในไทยอยู่ที่ 212 คน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save