category บทความพิเศษ : The Future of Mobile Banking อนาคตของธนาคารในไทย กับบทบาทที่เปลี่ยนไป

Writer : Nokkaew

: 13 กรกฏาคม 2560

ธนาคารตามความเข้าใจของเราก็คือสถานที่ฝากเงิน ถอนเงิน กู้เงิน และเป็นแหล่งลงทุนสำหรับเรา แต่ถ้าอธิบายอย่างจริงจังของความหมายธนาคารตามราชบัณฑิตยสถาน นั้นได้ระบุบว่า ‘ธนาคาร’ มาจากคำว่า ‘ธน’ แปลว่าเงินทอง ทรัพย์สิน และคำว่า ‘อาคาร’ มารวมกันเป็น ‘อาคารที่ทำกิจการเกี่ยวกับการเงิน’ ซึ่งนี่คือนิยามคำจำกัดความที่ถูกต้องที่สุดของธนาคาร

แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านต่างๆ ธนาคารจึงไม่ได้จำกัดอยู่ในรูปแบบการให้บริการแบบเดิม ดังนั้นบริบทของธนาคารในอนาคตจึงอาจไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป แต่โดยนัยยะ และความสำคัญแล้วธนาคารก็ยังมีความสำคัญในฐานะตัวกลางที่ถือเงินเยอะอยู่ดี

ทว่าเมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ธนาคารจึงมีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ไปตามเทคโนโลยี และหลังจากนี้เราจะมาชวนคุณไปดูเรื่องราวของธนาคารในอนาคตกับนวัตกรรมที่เกิดขึ้นบนมือถือ

เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนบทบาทธนาคาร แล้วอนาคตธนาคารจะเป็นอย่างไร

  • Online Banking ธนาคารที่ไม่ต้องมีสาขา : ปัจจุบันนี้มีธนาคารออนไลน์ที่ไม่ต้องมีสาขาอยู่บนโลกจริงๆ เลยสักสาขาก็สามารถให้บริการลูกค้าได้ผ่านแอปพลิเคชั่น และกำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จากเหล่าคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ต้องการธนาคารไว้ฝากเงิน แต่อยากมีธนาคารไว้บริหารไลฟ์สไตล์การจับจ่าย
  • Mobile Banking เปลี่ยนวิถีชีวิต : ปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอปของธนาคารบนสมาร์ทโฟนทั่วโลกกว่า 1.2 พันล้านคน และอนาคตแอปธนาคารบนมือถือจะทำให้ผู้ใช้งานแทบไม่ต้องไปทำธุรกรรมใดๆ หรือธุรกิจ SMEs ก็ยังไม่ต้องไปธนาคาร แค่มีแอปเช่น K PLUS SME ที่ช่วยบริหารจัดการเรื่องจ่ายเงิน หรือรับเช็คก็จบ แล้วแบบนี้อนาคตสาขาธนาคารจะยังมีอยู่หรือเปล่า
  • ธนาคารจะเป็นผู้ผลักดันให้ไม่ต้องใช้เงินสด : อนาคตการใช้เงินสดจะน้อยลงไปเนื่องจากมีการพัฒนาระบบการจ่ายเงินผ่านออนไลน์มากขึ้นโดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งธนาคารทั้งหลายก็ตั้งหน่วยพัฒนา FinTech เพื่อพัฒนาระบบจ่ายเงินของตัวเองและเป็นหนึ่งในตัวกลางหลักที่ผลักดันให้ลดการใช้เงินสด แล้วใช้มือถือนี่แหละเป็นกระเป๋าเงิน

2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เกิดระบบกู้ยืมสินค้าการเกษตร

ธนาคารหรือรูปแบบที่ใกล้เคียงกับธนาคารมากที่สุดเกิดขึ้นในยุคอาณาจักรอัสซีเรีย และอาณาจักรบาบิโลนเฟืองฟู โดยธนาคารมีสถานะเป็นจุดกู้ยืม หรือจุดเพื่อแลกสินค้าทางการเกษตรกันระหว่างคนในเมืองต่างๆ

ปี ค.ศ. 1157 เกิดธนาคารที่รัฐบาลรับรองแห่งแรกที่อิตาลี

‘Bank of Venice’ คือธนาคารแห่งแรกของโลกถูกตั้งขึ้นที่เมืองเวนิช โดยรัฐบาลอิตาลี เป็นผู้รับรอง ธนาคารแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นมาครั้งแรกเพื่อขอระดมทุนจากคนมีฐานะเพื่อนำเงินไปใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆ ของรัฐบาล แล้วรัฐบาลจะจ่ายผลตอบแทนร้อยละ 4 ต่อมาภายหลังเริ่มให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และระบบฝาก – ถอนเงินด้วย ซึ่งใกล้เคียงกับระบบธนาคารในปัจจุบัน

ส่วนธนาคารพาณิชย์แห่งแรกที่ตั้งขึ้นมาเป็นสาขาโดยไม่มีรัฐบาลมาเกี่ยวข้องนั้นมีชื่อว่า ‘The Taula de la Ciutat’ เปิดเมื่อปี ค.ศ. 1401 ตั้งอยู่ที่เมืองบาเซโลน่า สเปน และปัจจุบันสาขานี้ก็ยังคงอยู่

ปี ค.ศ. 1956 มีการก่อตั้งธนาคารกลางเพื่อกำหนดมาตรฐานต่างๆ ของธนาคารในประเทศ


เกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกอันเนื่องมาจากเพิ่งผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง หมาดๆ จึงต้องมีธนาคารที่เป็นตัวกลางมาคอยจัดการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และระบบการเงินในประเทศ หลายประเทศเริ่มก่อตั้งธนาคารกลางของตัวเอง ก่อนที่ระบบธนาคารจะเริ่มแพร่หลายในเวลาต่อมา

ปี ค.ศ. 2010 เกิดแอปพลิเคชั่น Mobile Banking ครั้งแรกบนโลก

ยุคที่สมาร์ทโฟนเริ่มเบ่งบานเริ่มมีผู้พัฒนาแอปโมบายแบงกิ้ง ที่เข้ามาช่วยทดแทน sms banking ที่จากเดิมทำได้แค่แจ้งเตือนเงินเข้า เงินออก และทำรายการง่ายๆ กลายมาเป็นการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ทำรายการต่างๆ ได้มากขึ้นผ่านอินเทอร์เน็ตที่ทำรายการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ในยุคนั้นไม่สามารถทราบได้ว่าใครคือแอปแรก เพราะหลายธนาคารในไทยก็พัฒนาแอปโมบายแบงกิ้งในช่วงนั้น ที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยปัจจุบันคือ K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย

ปี ค.ศ. 2012 เกิดธนาคารบนมือถือขึ้นที่อเมริกา


Simple Bank เป็นธนาคารแบบออนไลน์ที่ไม่มีสาขาใดๆ นอกโลกออนไลน์ลูกค้าต้องทำธุรกรรมผ่านออนไลน์กับบัตรเดบิตของ simple bank โดยเปิดตัวให้ทดลองใช้ครั้งแรกปี 2012 แบบ Beta Version

ก่อนจะค่อยๆ พัฒนาเวอร์ชั่นที่เปิดให้ใช้งานอย่างจริงจังในปีถัดมา ในปีแรกของการเปิดตัวใช้อย่างเต็มรูปแบบมีลูกค้า 20,000 คนใช้งาน Simple Bank และมี transactions เกิดขึ้นรวม 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตัวเลขการเติบโตของ
K PLUS ใน Q1/2017 

%

การเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานแอป K PLUS

%

จำนวนผู้ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ

%

การเติบโตของมูลค่าการทำธุรกรรม

หลังจากอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนในการใช้ชีวิต บทบาทของธนาคารเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเช่นกัน โดยธนาคารเองก็ต้องพัฒนา หรือนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมให้บริการน่าสนใจมากขึ้น ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงการธนาคารมากมาย มาดูกันว่าจะเกิดวิวัฒนาการใดขึ้นบ้างที่ทำให้สมาร์ทโฟน เป็นธนาคารได้

Mobile Banking มาแรงเปลี่ยนวิถีคนใช้

นอกเหนือจาก ATM จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนให้การเบิกถอนเงินเป็นเรื่องง่ายแล้ว การมาถึงของ Mobile Banking Application ก็ทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป ปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้งแอปพลิเคชั่น ทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 1.2 พันล้านคน สมาร์ทโฟนกลายร่างตัวเองเป็นธนาคารบนมือถือให้กับผู้ใช้งานแอปทุกคน

นับตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปัจจุบันนี้ธนาคารไหนไม่มีแอปของตัวเองต้องพิจารณาแล้วเพราะแอปธนาคารบนมือถือฟังก์ชั่นสำคัญคือการโอนเงิน หรือจ่ายเงินโดยไม่ต้องพึ่งตู้เอทีเอ็ม หรือไปโอนเงินที่ธนาคารอีกต่อไป มีสถิติระบุไว้ว่าปี 2012 ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการใช้งาน Mobile Banking ของหลายประเทศ ประเทศไทยติดอยู่ในอันดับที่ 12 โดยเฉลี่ยมีคนใช้งานโมบายแบงกิ้ง 24% ส่วนอันดับหนึ่งเป็นเกาหลีใต้ตัวเลขอยู่ที่ 47%

AI และ Bots บนแอปกำลังจะมาทดแทน Call Center

คนไทยอาจคุ้นชินกับการใช้บริการ Call Center ที่เป็นคนในการแก้ปัญหา หรือสอบถามข้อมูล แต่ธนาคารที่อเมริกาอย่าง Bank of America โล๊ะ Call Center ออกบางส่วน ใช้โปรแกรมแชทบอทที่ชื่อ Erica มาช่วยเหลือลูกค้าแบบเรียลไทม์อยู่ในแอปพลิเคชั่นโมบายแบงกิ้งของตัวเอง

ความเจ๋งของทำหน้าที่ตอบคำถามลูกค้าที่แชทมาถามปัญหาการใช้บริการอย่างทันที ซึ่งไม่ใช่แค่พิมพ์ถาม แต่ถามด้วยคำพูดเอริก้า ก็ตอบได้ไม่ว่าจะเป็นจ่ายหนี้ เช็คยอดคงเหลือ ขอขยายระยะเวลาการจ่ายหนี้ ปรึกษาการลดดอกเบี้ย และอีกสารพัดที่ปกติต้องไปทำที่ธนาคาร ทุกอย่างบอกกับเอริก้า จบ

เอริก้า ไม่ใช่แค่โปรแกรมนกแก้วนกขุนทอง แต่ยังมีการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพื่อวิเคราะห์ลูกค้าตามเคสต์ต่างๆ ที่ได้รับเพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้าตลอด การพัฒนา AI หรือ Bots ที่คอยตอบสนองผู้ใช้งาน ทำให้ธนาคารอื่นๆ เริ่มที่จะพัฒนาแชทบอท ของตัวเองเพื่อทำให้บริการของตัวเองน่าสนใจมากขึ้น

AI และ Bots บนแอปกำลังจะมาทดแทน Call Center

คนไทยอาจคุ้นชินกับการใช้บริการ Call Center ที่เป็นคนในการแก้ปัญหา หรือสอบถามข้อมูล แต่ธนาคารที่อเมริกาอย่าง Bank of America โล๊ะ Call Center ออกบางส่วน ใช้โปรแกรมแชทบอทที่ชื่อ Erica มาช่วยเหลือลูกค้าแบบเรียลไทม์อยู่ในแอปพลิเคชั่นโมบายแบงกิ้งของตัวเอง

ความเจ๋งของทำหน้าที่ตอบคำถามลูกค้าที่แชทมาถามปัญหาการใช้บริการอย่างทันที ซึ่งไม่ใช่แค่พิมพ์ถาม แต่ถามด้วยคำพูดเอริก้า ก็ตอบได้ไม่ว่าจะเป็นจ่ายหนี้ เช็คยอดคงเหลือ ขอขยายระยะเวลาการจ่ายหนี้ ปรึกษาการลดดอกเบี้ย และอีกสารพัดที่ปกติต้องไปทำที่ธนาคาร ทุกอย่างบอกกับเอริก้า จบ

เอริก้า ไม่ใช่แค่โปรแกรมนกแก้วนกขุนทอง แต่ยังมีการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพื่อวิเคราะห์ลูกค้าตามเคสต์ต่างๆ ที่ได้รับเพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้าตลอด การพัฒนา AI หรือ Bots ที่คอยตอบสนองผู้ใช้งาน ทำให้ธนาคารอื่นๆ เริ่มที่จะพัฒนาแชทบอท ของตัวเองเพื่อทำให้บริการของตัวเองน่าสนใจมากขึ้น

Voice Payments เลิกใส่พาสเวิร์ด แล้วสั่งจ่ายเงินด้วยเสียง

เทรนด์ที่คาดว่าจะมาในปี 2017 ก็คือระบบ Voice Payment ซึ่งจะมาอยู่ในแอปพลิเคชั่นของโมบายแบงกิ้ง ต่างๆ เป็นหนึ่งในฟังก์ชั่นที่ใช้เสียงในการยืนยันตัวตนก่อนสั่งจ่ายเงิน หรือโอนเงินตามที่เจ้าของต้องการโดยที่ไม่ต้องวุ่นวายใส่พาสเวิร์ดอีกต่อไป

ถือเป็นการใช้เสียงเพื่อยืนยันตัวเองที่มีความปลอดภัยล้ำไปอีกขั้นหนึ่งจากเดิมที่ใช้การสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งธนาคารหลายแห่งก็กำลังเร่งพัฒนาระบบนี้ขึ้นมา หากสำเร็จนวัตกรรมเริ่มใช้งานจะถือว่าการเปลี่ยนภูมิทัศน์ใหม่ของระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคารเลยก็ว่าได้

เงินสดจะไม่จำเป็นเมื่อมี Digital Money

เดนมาร์ค เป็นประเทศแรกในโลกที่บอกว่าจะเลิกใช้เงินสดและใช้เงินดิจิทัลแทนตั้งแต่ปี 2015 ปัจจุบันเดนมาร์ค แทบไม่ใช้เงินสดแล้ว และประเทศอื่นก็เริ่มเปลี่ยนสู่โลกไร้เงินสดเช่นกัน อีกทั้งปัจจุบันมีดีไวซ์ที่พัฒนามารองรับโลกที่ไร้เงินสดด้วยเช่นสมาร์ทโฟนบางรุ่นที่ใช้มือถือแทนกระเป๋าเงิน หรือ Token Ring แหวนที่เชื่อมต่อกับระบบ eWallet  เมื่อไม่ใช้เงินสดแล้วธนาคารจะรับมือกับอนาคตนี้อย่างไร

ธนาคารในฐานะสถาบันทางการเงินหลักจึงต้องหันมาพัฒนาหรือลงทุนใน FinTech ที่ตัวเองสามารถเป็นเจ้าของได้ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าของธนาคารยังอยู่ และใช้แพลตฟอร์มจ่ายเงินแบบดิจิตอลของตัวเอง แต่ขณะเดียวกันธนาคารก็ไม่ได้เสียอะไร เพราะสุดท้ายตัวกลางที่เป็นผู้ดูแลเงินลูกค้า ก็เป็นธนาคารอยู่ดี

อย่างที่เห็นว่าในไทยก็กำลังกระตุ้นให้เกิดการใช้ระบบ ‘พร้อมเพย์’ มากขึ้น แต่ความที่พร้อมเพย์ นั้นกำหนดว่าทุกธนาคารห้ามคิดค่าธรรมเนียมใดๆ จาการโอนจ่ายโดยพร้อมเพย์ที่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อครั้ง ทำให้ทุกธนาคารจึงมีหน่วยงานพัฒนา FinTech ของตัวเองอย่างเช่นที่ธนาคารกสิกรไทยมี KBTG จะได้เป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้ใช้งานระบบ Payment Platform ใหม่ๆ ของตัวเอง

เงินสดจะไม่จำเป็นเมื่อมี Digital Money

เดนมาร์ค เป็นประเทศแรกในโลกที่บอกว่าจะเลิกใช้เงินสดและใช้เงินดิจิทัลแทนตั้งแต่ปี 2015 ปัจจุบันเดนมาร์ค แทบไม่ใช้เงินสดแล้ว และประเทศอื่นก็เริ่มเปลี่ยนสู่โลกไร้เงินสดเช่นกัน อีกทั้งปัจจุบันมีดีไวซ์ที่พัฒนามารองรับโลกที่ไร้เงินสดด้วยเช่นสมาร์ทโฟนบางรุ่นที่ใช้มือถือแทนกระเป๋าเงิน หรือ Token Ring แหวนที่เชื่อมต่อกับระบบ eWallet  เมื่อไม่ใช้เงินสดแล้วธนาคารจะรับมือกับอนาคตนี้อย่างไร

ธนาคารในฐานะสถาบันทางการเงินหลักจึงต้องหันมาพัฒนาหรือลงทุนใน FinTech ที่ตัวเองสามารถเป็นเจ้าของได้ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าของธนาคารยังอยู่ และใช้แพลตฟอร์มจ่ายเงินแบบดิจิตอลของตัวเอง แต่ขณะเดียวกันธนาคารก็ไม่ได้เสียอะไร เพราะสุดท้ายตัวกลางที่เป็นผู้ดูแลเงินลูกค้า ก็เป็นธนาคารอยู่ดี

อย่างที่เห็นว่าในไทยก็กำลังกระตุ้นให้เกิดการใช้ระบบ ‘พร้อมเพย์’ มากขึ้น แต่ความที่พร้อมเพย์ นั้นกำหนดว่าทุกธนาคารห้ามคิดค่าธรรมเนียมใดๆ จาการโอนจ่ายโดยพร้อมเพย์ที่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อครั้ง ทำให้ทุกธนาคารจึงมีหน่วยงานพัฒนา FinTech ของตัวเองอย่างเช่นที่ธนาคารกสิกรไทยมี KBTG จะได้เป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้ใช้งานระบบ Payment Platform ใหม่ๆ ของตัวเอง

Online Banking ธนาคารทางเลือกของคนรุ่นใหม่

เมื่อก่อนเราเคยเข้าใจว่าธนาคาร = สถานที่ออมเงิน  ทว่าเมื่อปี 2011 เป็นจุดเปลี่ยนใหม่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปิดตัวธนาคารออนไลน์ชื่อ ‘Simple Bank ’ FinTech สัญชาติอเมริกา ที่เปิดธนาคารออนไลน์แต่ไม่มีสาขาออกมาตั้งอยู่ข้างนอกเลย เพราะ Simple Bank นำเสนอบริการธนาคารในรูปแบบแอปที่หน้าตาดูเรียบง่าย

Simple Bank ไม่ได้เป็นธนาคารที่ฝากเงินเพื่อเก็บกินดอกเบี้ย หรือเป็นธนาคารที่มีเงินให้กู้ แต่เป็นธนาคารออนไลน์ที่ช่วยบริหารการใช้เงินเป็นหลัก โดยผู้ใช้งาน Simple Bank จะมีบัตรเดบิตที่การันตีโดย Visa เอาไปใช้ต่างหากด้วย ส่วนรายได้ของธนาคารออนไลน์มาจากการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ และดอกเบี้ย

หลังจากนั้นก็มีหลายธนาคารออนไลน์เกิดขึ้นตามมา อาทิ GoBank, Ally, USAA, Vitual Wallet by PNC แต่อย่างไรก็ตามธนาคารออนไลน์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นพาร์ทเนอร์กับสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ส่วนสถาบันการเงินก็ยังเป็นตัวกลางในการ ‘จ่าย’ อยู่ดี เพียงแต่มี Online Banking มาเป็นด่านหน้าเพื่อปรับให้ไลฟ์สไตล์การจับจ่ายของคนใช้งานมีความสะดวกมากขึ้น

สำหรับธนาคารในเมืองไทย ตอนนี้ทันสมัยที่สุดในแง่ของการให้บริการที่ได้รับการยอมรับ และครอบคลุมก็คือเรื่องของโมบายแบงกิ้ง ซึ่งผู้นำของการให้บริการโมบายแบงกิ้งคงไม่มีใครปฏิเสธว่าธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารของไทยที่บุกเบิกเรื่องนี้อย่างจริงจัง

นับตั้งแต่ยุค ATM SIM จนมาถึง K PLUS  แล้วในอนาคตธนาคารกสิกรไทยจะมองบทบาทของธนาคารที่เปลี่ยนไปอย่างไร เมื่ออินเทอร์เน็ตคือสิ่งสำคัญ Mango Zero จึงมาพูดคุยกับ ‘คุณศุภนีวรรณ จูตระกูล‘ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

Khun-Supaneewan-open-new

ธนาคารในไทยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแง่ของบทบาทที่มีต่อผู้คนเมื่ออินเทอร์เน็ตส่งผลต่อชีวิต

ศุภนีวรรณ : บทบาทของธนาคารต่อไปจะเป็นการพัฒนา Digital Solutions ต่างๆ ให้เป็นได้มากกว่าผู้ให้บริการด้านธุรกรรมการเงินเหมือนเช่นในปัจจุบัน เช่น โอนเงิน จ่ายบิล เติมเงิน โอนเงินเดือน และธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ โดยจะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ พัฒนาการของโมบาย แบงกิ้ง ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล ตอบรับกับกระแสดิจิทัล โมบิลิตี้” (Digital Mobility) ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่ไม่อยู่นิ่ง และต้องการความสะดวกสบาย และจัดการทุกสิ่งได้ด้วยตนเองผ่านสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้สะดวก และรวดเร็ว ในทุกเรื่องที่ต้องการ ทุกที่ และทุกเวลา

หลังจากที่เริ่มต้นใช้งานโมบายแบงกิ้ง จนถึงวันนี้การเติบโตเป็นอย่างไร

ศุภนีวรรณ : โมบาย แบงกิ้งของธนาคารกสิกรไทย เริ่มพัฒนาเป็นรายแรกๆ เมื่อ 10 กว่าปีก่อน และบุกเบิกพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มาโดยตลอด จนกลายเป็นแอพพลิเคชั่น K PLUS  ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปิดรับ หันมาทดลองใช้บริการ ทำให้ K PLUS เติบโตอย่างรวดเร็ว ได้รับการยอมรับจากลูกค้าถึงความสะดวกสบายและปลอดภัย 

K-Bank-longform-kplus-app

พอมีคนใช้งาน K PLUS มากขึ้น จะทำให้ธนาคารลดจำนวนสาขาลงด้วยไหม

ศุภนีวรรณ : สาขายังคงมีความสำคัญสำหรับธุรกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น สินเชื่อ การวางแผนการลงทุน ซึ่งต้องมีการพูดคุยให้ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ รวมถึงในบางธุรกรรมจำเป็นต้องได้รับการเซ็นเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ลูกค้าจึงยังต้องมาที่สาขา ทำให้บทบาทของสาขายังคงมีความจำเป็น แต่เป็นคนละด้านกับโมบาย แบงกิ้ง

นโยบายหลักของการบริหารจัดการสาขา คือ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งทางด้านการบริหารจัดการและการให้บริการที่ดีกับลูกค้า สามารถใช้บริการได้รวดเร็วขึ้นผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเสริมการให้บริการที่สาขา ซึ่งจะช่วยสร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้าได้มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีทีมงานที่เรียกว่า Digital Service Officer (DSO) ประจำอยู่ตามสาขาธนาคารกสิกรไทย เพื่อให้ข้อมูล คำแนะนำวิธีการใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ ของ K PLUS

จากนี้ไป เราจะได้เห็นธนาคารพัฒนาอะไรเพื่อสอดรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า

ศุภนีวรรณ :  แนวโน้มการทำธุรกรรมผ่านดิจิทัล แบงกิ้ง ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มมองหาความสะดวกสบาย จากการพึ่งพาเทคโนโลยีใกล้ตัวมากขึ้น ยิ่งทำให้ธนาคารต้องปรับตัว และแข่งขันพัฒนาการให้บริการที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกส่วนหนึ่งคือการผลักดันการชำระเงินตามแผน National e-Payment ของภาครัฐเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้ธุรกรรมการชำระเงินผ่านดิจิทัลแบงกิ้งเติบโตมากขึ้นในอนาคต

K PLUS ซึ่งเป็นโมบาย แบงกิ้ง ของธนาคารกสิกรไทย จะเป็นแอปพลิเคชันที่ทำให้ลูกค้าสามารถจัดการทุกสิ่งได้ด้วยตัวเองผ่านสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียวตามคอนเซปต์ A Bank in Your Hand

มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ลูกค้า ให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความต้องการ (Personalization) โดยให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้งานในด้านฟังก์ชันการใช้งาน (Functional Benefits) และสร้างสีสันด้านความรู้สึก (Emotional Benefits) เช่น การออกลายบน  e-Slip ในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่นลายตรุษจีน  วาเลนไทน์ สงกรานต์ เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่และใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลขั้นสูง 

คงเห็นด้วยใช่ไหมที่ยุคนี้อินเทอร์เน็ตคือสิ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเพื่อให้ชีวิตคนง่ายขึ้นที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้โดย ธนาคารเองก็ถือเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดตั้งแต่ยุคก่อนจนถึงยุคปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งบทความนี้เป็นการคาดการณ์อนาคตอันใกล้เท่านั้น แต่อนาคตหลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับระบบธนาคารที่มีบทบาทอยู่บนสมาร์ทโฟนที่ง่ายกับชีวิตกว่านี้ก็คงไม่ใช่เรื่องน่าตกใจอะไรอีกแล้ว

 

ที่มา – History of banking  , First Bank in the World , Top 5 Mobile Banking Trends to Watch in 2017 , Bank of Venice และ The Taula de la Ciutat

Writer Profile : Nokkaew
ชายหนุ่มที่กินข้าวอย่างน้อยวันละ 3 มื้อ กินข้าวเสร็จก็กินน้ำ เสร็จแล้วก็ไปอาบน้ำ ตอนเรียนไม่ค่อยตั้งใจเรียน ชอบซื้อหนังสือมุราคามิ แต่ยังไม่ได้อ่านสักเล่ม อยากเห็นโลกออนไลน์มีแต่สิ่งดีๆ และมีความสนุก
Blog : www.goohiw.com Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save