Upper Crossed Syndrome ปวด คอ บ่า ไหล่ อาการใกล้ตัวที่ไม่ควรละเลย

Writer : incwaran

: 23 เมษายน 2564

อาการยอดฮิตของมนุษย์ออฟฟิศ ไม่ได้มีแค่ Office Syndrome นั่งทำงานนาน ๆ จนปวด คอ บ่า ไหล่ อาจเข้าข่าย Upper Crossed Syndrome นอกจากอาการปวดแล้ว ยังส่งผลต่อสรีระของเราในระยะยาว เช่น ไหล่ห่อ หลังค่อม มาดูกันว่าเกิดจากอะไร แล้วมีวิธีแก้ไหม เพราะอาการเหล่านี้ใกล้ตัวกว่าที่คิด!

มาทำความรู้จัก Upper Crossed Syndrome กันก่อน

Upper Crossed Syndrome (UCS)  คือภาวะที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และอก ทำงานหนักอย่างไม่สมดุลกัน โดยมีกล้ามเนื้อส่วนที่หดตัว และอ่อนล้า ครอสกันเป็นรูปกากบาท (X) 

  • กล้ามเนื้อส่วนที่หดตัว (Tightness) : กล้ามเนื้อคอ บ่าส่วนบน และกล้ามเนื้ออก 
  • กล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรง (Weakness) : กล้ามเนื้อช่วงสะบัก บ่าส่วนกลางและล่าง รวมถึงกล้ามเนื้ออกด้านข้าง

สาเหตุของ Upper Crossed Syndrome

เกิดจากการอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เกิดอาการเกร็งโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้กล้ามเนื้อทำงานหนักและทำงานไม่สมดุลกัน มักเกิดจากการทำกิจกรรมเหล่านี้เป็นเวลานาน ๆ 

  • นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ 
  • ก้มเล่นสมาร์ทโฟน
  • อ่านหนังสือ 
  • ขับรถ
  • ปั่นจักรยาน

อาการเป็นยังไง?

  • ปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ และอก อาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือปวดตลอดเวลา
  • บางครั้งอาจมีรู้สึกชาไปถึงแขน ข้อศอก และมือ
  • ปวดหลังส่วนล่าง เนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อเชื่อมถึงกัน
  • ปวดหัวจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอ
  • รู้สึกอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อดังกล่าว

ข้อสังเกตของ Upper Crossed Syndrome 

  • หลังงอ ไหล่งุ้ม บ่ายกขึ้น
  • ศีรษะยื่นไปข้างหน้า
  • กระดูกสันหลังส่วนคอแอ่น
  • กระดูกสันหลังส่วนบนโค้งงอ

วิธีรักษา

  • ออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) เพื่อผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ
  • นวดคอบ่าไหล นวดผ่อนคลาย หรือทำกายภาพบำบัด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการนวด เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง จะได้ไม่เสี่ยงต่อการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือปวดมากกว่าเดิม
  • ปรับร่างกายให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง หากต้องอยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ควรสลับไปท่าอื่นเพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้าง

ที่มา 

medicalnewstoday

healthline

thaijo.org

blockdit


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save