พาชม นิทรรศการ “ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย: พระเมรุมาศ จุดเชื่อมจักรวาล และการออกแบบ”

Writer : Taey Ch

: 12 ตุลาคม 2560

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-3-33

พระเมรุมาศ คืออะไร? ชาวไทยอาจทราบกันว่า พระเมรุมาศนั้นมีไว้ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีความเชื่อมาตั้งแต่อดีต..  แต่หลายคนอาจยังไม่รู้อย่างถ่องแท้ถึงที่มา ความเชื่อ และการก่อสร้าง ที่กว่าจะเกิดพระเมรุมาศขึ้นได้ ต้องอาศัยแรงกายแรงใจของคนไทยผู้รอบรู้งานศิลปกรรมของชาติถึงหลายฝ่ายด้วยกัน

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-01

นิทรรศการ “ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย: พระเมรุมาศ จุดเชื่อมจักรวาล และการออกแบบ” เป็นนิทรรศการที่จะบอกเล่ารายละเอียดทุกส่วน ตั้งแต่เรื่องความเชื่อ การออกแบบ ขั้นตอนการลงมือทำ รวมถึงมีเวิร์คช็อปให้คนทั่วไปได้มีประสบการณ์ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับพระเมรุมาศด้วย และนอกจากเรื่องของพระเมรุ หลังจากชมนิทรรศการนี้เสร็จรับรองว่าเราจะรู้จักความเป็น ‘สถาปัตยกรรมไทย’ ได้ลึกขึ้น

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum

ขอออกตัวว่า เราเองก็เป็นหนึ่งในคนรุ่นใหม่ ที่มีความรู้เกี่ยวกับ ‘พระราชพิธีพระบรมศพและพระเมรุมาศ’ ไม่มากนัก และคิดว่าเรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ไกลตัว ยากที่จะทำความเข้าใจ แต่หลังจากได้ชมนิทรรศการนี้เราก็ค่อยๆ ต่อจิ๊กซอว์ความรู้ได้ง่ายขึ้น หลายๆ อย่างกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น จึงอยากแนะนำให้คนไทยหาโอกาสไปเยี่ยมชมกัน งานจัดตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2560 – 7 มกราคม 2561 (ปิดทุกวันจันทร์) ที่ TCDC กรุงเทพฯ ไปรษณีย์กลางบางรัก

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-03

หุ่นจำลองพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงฯ ขนาด 1:50

พระเมรุมาศ คือ?

เมรุ ตามความหมายในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์” ซึ่งมีอีกความหมายคือ “เป็นที่เผาศพมีหลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ สำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระเมรุมาศ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์เรียกว่า พระเมรุ และสำหรับสามัญชนเรียกว่า เมรุ”

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-04

ในความเชื่อแบบพราหมณ์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ ซึ่งสถิตบนเขาพระสุเมรุ อันล้อมรอบด้วยเขาสัตบริภัณฑ์ และเมื่อจุติลงมายังมนุษยโลกเป็นสมมติเทพ เมื่อสวรรคตจึงตั้งพระบรมศพบนพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ เพื่อเป็นการส่งพระศพ พระวิญญาณกลับสู่เขาสุเมรุดังเดิม

(จากหนังสือ “พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุสมัยรัตนโกสินทร์” ของ ศ.น.อ.สมภพ ภิรมย์)

 

นิทรรศการแบ่งออกเป็น 4 โซน

โซนที่ 1 : คติจักรวาลและงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทย

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-06

แบบจำลองพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม

ในโซนนี้จะเป็นการปูพื้นความรู้ให้กับพวกเราก่อน จะเสนอเกี่ยวกับความเชื่อที่เป็นพื้นฐานในการจัดผังของสถาปัตยกรรมไทยอันมีมาแต่โบราณ อย่างเช่น

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-07

1. สถาปัตยกรรมไทย : นอกจากจะออกแบบโดยคำนึงถึงการใช้งานแล้ว งานสถาปัตยกรรมไทยยังมีแกนเป็นเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์ นรก และโลกมนุษย์ด้วย โดยจะเห็นตัวอย่างได้จากแบบจำลองพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ที่มีแกนกลางเป็นเขาพระสุเมรุ และมีสัตตบริภัณฑคีรีล้อมรอบ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สะท้อนการวางแผนผังตามหลักคติจักรวาลได้อย่างสมบูรณ์

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-08

2. พลแบก : จะเห็นจากพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ว่าจะมี พลแบก หรือกองทัพอารักขาดาวรึงส์ไว้รอบปรางค์บริวาร มณฑปทิศ และปรางค์ประธาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงกองทัพที่พระอินทร์โปรดให้มาคุ้มครองเขาพระสุเมรุนั่นเอง

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-02

3. ความเปลี่ยนแปลงในด้านการออกแบบของพระเมรุมาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน : ในห้องนี้จะไล่เรียงพระเมรุในยุคต่างๆ ให้เราดู ว่าในแต่ละยุคมีการออกแบบต่างกันอย่างไรบ้าง โดยก็จะยึดกับยุคสมัยนั้นๆ ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมไทยและการสร้างพระเมรุจะดูเป็นเรื่องที่ต้องทำตามแบบแผนและยึดประเพณีดั้งเดิม แต่ในปัจจุบันก็มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการก่อสร้างด้วย เช่นมีการใช้วัสดุเรซินในการตกแต่งพระเมรุบางส่วนเพื่อความรวดเร็วและลดปริมาณไม้

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-10

4. การสร้างเพื่อรื้อถอน : พระเมรุ ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมชั่วคราวในพิธีเฉลิมพระเกียรติแก่พระบรมศพ โดยถือเป็นการถวายพระเกียรติยศที่พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ถวายแด่พระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตล่วงแล้ว การสร้างพระเมรุนั้นจึงเลือกใช้วัสดุ เทคนิควิธี และโครงสร้างที่มีลักษณะการใช้งานที่ชั่วคราว

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-09

ผังบริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง

 

โซนที่ 2 : โรงขยายแบบเท่าจริง ศิลปกรรม และศิลปสำหรับงานสถาปัตยกรรม

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-14

ในงานสถาปัตยกรรมไทยเป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถใช้การคำนวณแบบย่อส่วนได้ ในโซนนี้จึงเป็นการจำลองบรรยากาศโรงขยายแบบ พร้อมวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการออกแบบและขยายลาย รวมไปถึงจัดแสดงแบบร่างมือเท่าขนาดจริง (1:1) ในการสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-17TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-18TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-20

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอศิลปะต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมชั่วคราวในงานพระราชพิธีฯ ด้วย เช่น ศิลปะการซ้อนไม้ ที่ใช้แทนการแกะสลักในสถาปัตยกรรมถาวร, ศิลปะการฉลุผ้าทองย่น สาบสี สอดแวว แทนการประดับกระจกสีสมัยโบราณในอาคารถาวร, และศิลปะการตบสี ลักษณะคล้ายการทำ stencil สมัยโบราณใช้การจุ่มสีทองคำเปลว

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-15TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-16

 

โซนที่ 3 : ครูสร้างนักออกแบบให้เป็นคน

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-21

ในโซนนี้จะเป็นการบอกเล่าแนวความคิดและวิถีการถ่ายทอดความรู้จากครูทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-24

มีวิดิโอจากลูกศิษย์ ของอาจารย์อาวุธ เงินชูกลิ่น (อดีตอธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานคณะทำงานการออกแบบพระเมรุ ในงานก่อสร้างพระเมรุ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ) ได้บอกเล่าแนวคิด และแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ และเป็นสืบทอดงานศิลป์สู่คนรุ่นหลัง

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-23

กลุ่มสถาปนิกที่อยู่เบื้องหลังการทำงานออกแบบและปฏิบัติการสร้างพระเมรุมาศ

 

โซนที่ 4 : เวิร์กช็อปตามรอยสถาปัตย์ไทย

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-25

โซนนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ลองศึกษาลักษณะการทำงานด้านจิตรกรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม ดังที่ได้เห็นตัวอย่างจากภายในนิทรรศการ

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-28

การฝึกเขียนแบบร่างลายไทย

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-26

การทำตบสี

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-27

การทำตบสี

มีทั้งการฝึกเขียนแบบร่างลายไทยเบื้องต้น และการทำตบสี เพื่อให้เข้าใจความอดทนทุ่มเทฝึกมือ ฝึกตา ฝึกสมาธิของช่างไทย

TCDC-Insight-Thai -Architecture-museum-30

รายละเอียดเพิ่มเติม

นิทรรศการ “ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย: พระเมรุมาศ จุดเชื่อมจักรวาล และการออกแบบ” (Insight | Thai | Architecture)

  • ระยะเวลา : ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2560 – 7 มกราคม 2561
  • เวลาเข้าชม : 10.30-21.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์)
  • สถานที่: ห้องแกลอรี ชั้น 1 อาคารส่วนหลัง (Back Building) TCDC กรุงเทพฯ
  • แผนที่ : https://goo.gl/maps/Ar3N28jELCy
เบอร์ฉุกเฉิน เมมไว้ใช้เมื่อภัยมา

เบอร์ฉุกเฉิน เมมไว้ใช้เมื่อภัยมา


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save