คอนเทนต์แบบไหนที่ต้องติด Trigger warning สักนิด ก่อนคิดจะโพส

Writer : Patta.pond

: 17 กุมภาพันธ์ 2564

ขณะที่ทุกคนกำลังเลื่อนหน้าไทม์ไลน์ในแอปพลิเคชั่นต่างๆ อย่างเพลิดเพลิน พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นคอนเทนต์หรือภาพที่น่าสะเทือนใจ หลายคนอาจกดดู เลื่อนผ่านอย่างรวดเร็ว หรือกระทั่งทำเหมือนเป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์ทั่วไป

แต่ก็มีบางคนที่อาจสะเทือนใจ จนเกิดอาการตอบสนองต่อคอนเทนต์นั้น และาจถึงขั้นทำให้นึกถึงอดีตที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจได้ สิ่งเหล่านี้จึงควรมี “Trigger Warnning” เพื่อเตือนก่อนจะถึงเนื้อหา เจ้าสิ่งนี้คืออะไร ควรใช้กับเนื้อหาประเภทไหนบ้าง เราจะพาไปทำความรู้จักกัน

Trigger Warnings คืออะไร

Trigger Warnings (TW) คือการเตือนเนื้อหาบางประเภท ที่อาจกระตุ้นหรือทริกเกอร์ผู้อ่านถึงประสบการณ์เลวร้ายในอดีตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็น PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) เมื่อเห็นการเตือน ก็สามารถเลี่ยงที่จะดูคอนเทนต์เหล่านั้นได้  ซึ่งก็ได้มีความเห็นจำนวนมากบอกว่า การติด Trigger Warning  ก็ไม่ได้ผลเสมอไปในบางครั้ง

เนื้อหาแบบไหนที่ควรติด Trigger Warnings

โดยปกติแล้ว เรื่องราวที่มักกระทบกระเทือนจิตใจคนส่วนใหญ่ และควรได้รับการติด Trigger Warning มีดังนี้

  • การทำร้ายร่างกายทางเพศ
  • การล่วงละเมิดเด็ก / การกระทำอนาจาร / การร่วมประเวณีระหว่างพี่น้อง
  • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง อาทิ การทำร้ายร่างกาย การเลือกทานอาหารอย่างผิดปกติ (Eating Disoder)
  • รักร่วมสายเลือด ไม่ว่าจะเป็นความรักที่ลงเอยด้วยดีหรือไม่ก็ตาม
  • การทารุณกรรมสัตว์ หรือการตายของสัตว์
  • การทำร้ายตัวเองและการฆ่าตัวตาย
  • ความรุนแรง
  • เนื้อหาที่การอนาจาร
  • การลักพาตัว
  • การตาย
  • การทำแท้ง
  • การเหยียดสีผิวและการเหยียดเชื้อชาติ
  • ความเกลียดชังที่เจาะจงไปยังกลุ่มศาสนา

วิธีการติด Trigger Warning

วิธีการติด Trigger Warning อาจทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • เขียนเตือนก่อนเลื่อนเข้าเนื้อหา หรือดูรูป
  • ติดแฮชแท็กประเภทของความอันตราย
  • หากรู้ล่วงหน้าว่าจะกระทบใครอย่างจริงจัง อาจหลีกเลี่ยงไม่ส่งลงในกลุ่ม หรือพื้นที่ที่มีบุคคลนั้น
  • เตือนกลุ่ม/บุคคลเหล่านั้นล่วงหน้า

ทั้งนี้ ยังไม่มีวิธีการเกี่ยวกับเรื่อง Trigger Warning อย่างจริงจัง หลายอย่างจึงอาจต้องใช้ดุลยพินิจว่าคอนเทนต์นี้ อาจเกิดทริกเกอร์ หรือไปกระตุ้นความรู้สึกไม่ดีให้กับใครได้บ้าง อาจใ้เวลาเพิ่มไม่ถึงห้านาที แต่ก็เป็นการช่วยป้องกันสภาพจิตใจของใครหลายคนได้เยอะเลยทีเดียว

 

ที่มา : UWATERLOO, University of Michigan

TAG :
Writer Profile : Patta.pond
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

[Covid-19 Phenomena] New Normal ในมุมของสังคม ที่เปลี่ยนไปหลังผ่านพ้นวิกฤตโควิดระบาด


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save