category ทำความรู้จัก ภาวะ BLACKOUT ผ่านนิทรรศการศิลปะ เมื่อเราตื่นจากภวังค์ แสงสว่างจะกลับมาอีกครั้ง

Writer : kukigugi

: 5 กุมภาพันธ์ 2567

ถ้าหากภวังค์แห่งช่วงเวลาหนึ่ง ย้อนกลับมาในความทรงจำ เคยสงสัยไหมว่า ความทรงจำหรือเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้นถูกซุกซ่อนไว้ที่ไหนกันนะ ?

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินภาวะที่เรียกว่า BLACK OUT หรือถ้าจำกัดความสั้นๆ สิ่งนั้นคือ “ภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น” หรือ “ภาพตัด” แต่แน่นอนว่า การตีความทางศิลปะมีอะไรมากกว่านั้น

วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก BLACK OUT ผ่านมุมมองของงานศิลปะ นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของคุณ Munins ศิลปินผู้ครอบครองลายเส้นที่สวยงาม เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความรู้สึก ที่อยู่ในวงการนักวาดกว่า 10 ปี

หากพร้อมแล้ว ลองมาสำรวจภาวะหนึ่งที่ปรากฏขึ้นเพียงชั่วพริบตา พร่าเลือนทางการมองเห็น แต่ฝังแน่นอยู่ในความทรงจำตลอดกาล ไปกับผลงานศิลปะนี้กัน

ถ้าพูดถึงอาการ BLACK OUT แบบความหมายตรงตัว มันคืออาการวูบ หมดสติ หรือเสียความทรงจำไปชั่วขณะ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นช่วงที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจนออกฤทธิ์ต่อสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลจากความทรงจำระยะสั้น เข้าไปเก็บไว้ในระบบความทรงจำระยะยาว

ถึงแม้จะเป็นอาการแค่ชั่วคราว แต่ก็สามารถส่งผลกระทบนำไปสู่อันตรายได้ เพราะเมื่อเราควบคุมตัวเองไม่ได้ ขาดสติ ก็ทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ได้เช่นกัน

แต่ถ้าหากตีความทางศิลปะล่ะ ?

จริงๆ แล้วก็มีส่วนคล้ายกัน เพียงแต่คุณ Munins นั้นถ่ายทอดความหมายออกมาผ่านผลงานศิลปะที่ลึกซึ้ง ผ่านลายเส้นที่สวยงาม พาผู้ชมเข้าไปสำรวจภาวะหนึ่งที่ปรากฏขึ้นเพียงชั่วพริบตา พร่าเลือนทางการมองเห็น แต่ฝังแน่นอยู่ในความทรงจำ


BLACK OUT หรือ ภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น ที่ถ่ายทอดออกมาผ่านภาพศิลปะนี้คล้ายกับห้วงเวลาที่หยุดนิ่ง เหลือแต่เพียงความมืดมิด ว่างเปล่า เงียบงัน และเมื่อรอบข้างนิ่งสนิท ไร้เสียงอื่นใดรบกวน เสียงที่ดังที่สุดอาจจะเป็นเสียงกรีดร้องของความคิดตัวเราเอง

ภายใต้ภวังค์เหล่านี้ ประกอบไปด้วยหลายล้านความทรงจำ ที่บางทีเราอาจทำหล่นหายไประหว่างทาง นิทรรศการนี้ เหมือนเป็นการจำลองหากเราได้หลุดเข้าไปในภวังค์ของ BLACK OUT เผชิญกับความเปราะบางชั่วขณะที่เกิดขึ้นในชีวิต 

ทำให้เราได้พบกับควาทรงจำ เหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะทำหล่นหายจนเกือบลืมมันไป ทั้งความสุข สนุกสนาน ความเศร้า ความเบื่อหน่าย ความเจ็บปวด ผ่านผลงานศิลปะที่สวยงาม และในที่สุดก็จะพยายามก้าวผ่านภาวะเหล่านั้นด้วยความหวังและกำลังใจ ก่อนจะพบกับแสงสว่างเมื่อตื่นจากภวังค์

คุณ Munins ได้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพวาดของมนุษย์ที่หลากหลายว่ายวนอยู่ในความรู้สึกที่แตกต่างกัน แต่กลับมีจุดร่วมกันอย่างการสวม “ถุงเท้า” และ “ถุงมือ” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการอนุญาตให้ตนเองสัมผัสถึงบางความรู้สึกอย่างกล้าหาญ หรือแม้แต่ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากอารมณ์ในชั่วขณะหนึ่ง

ทั้ง 46 ภาพ ร้อยเรียงออกมาเป็นเรื่องราวทั้งหมด 4 โซน ได้แก่ 

  • Grayout : Fading of Vision ภาพซ้อน ภาพเบลอ ภาพขาวดำ 
  • Blackout: Unconsciousness ภาพตัด  
  • Brownout : Loss of Motivation ภาพที่ริบหรี่ ความทรงจำที่จะกลับมาเมื่อถูกกระตุ้น
  • REM : Dreams แสงสว่าง ความหวัง การมีชีวิต

ซึ่งนอกจากความสวยงามของเรื่องราวที่ร้อยเรียง ภาพวาดที่สวยงามแล้วนั้น นิทรรศการครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกของการแสดงนิทรรศการเดี่ยวด้วยภาพอะคริลิคทั้งหมดและเป็นครั้งแรกที่ คุณ Munins วาดภาพขนาดใหญ่กว่า 4 เมตร รวมถึงการจัดแสดงผลงาน Animation ที่เผยถึงความเปราะบางของมนุษย์ที่สวมถุงมือเหล่านี้อีกด้วย

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย บางสิ่งหล่นหาย บางสิ่งยังจดจำฝังใจ หากลองอยู่กับความมืดสักครั้ง แล้วจะทำให้เห็นบางอย่างชัดเจนขึ้น ท้ายที่สุดแล้ว ถ้าเราผ่านเรื่องราวเหล่านั้นไป แตะต้องทั้งความสุข และความทุกข์ ยอมรับสัมผัสนั้นด้วยความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใดที่ผ่านเข้ามา ก็จะทำให้เราสร้างเกราะป้องกันจากความเปราะบางทีละน้อย จนกลายเป็นตัวเราที่ไม่กลัวความมืดมิดนั้นอีกต่อไป หรือได้พบกับแสงสว่างในที่สุด

ใครที่อยากลองสัมผัสภาวะ BLACK OUT สามารถรับชมความสวยงาม สัมผัสประสบการณ์ดีๆ ผ่านงานศิลปะเหล่านี้ได้ที่ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก RCB Galleria 1 ชั้น 2 ทุกวัน เวลา 10:00-20:00 น. 2 กุมภาพันธ์ – 10 มีนาคม 2567 นี้เท่านั้นนะ

Writer Profile : kukigugi
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เที่ยวน่าน กิจกรรมแน่น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save