category สัมภาษณ์พิเศษ 'หนุ่มเมืองจันท์' : คนรุ่นใหม่กับความสนใจเรื่องการเมืองในวันนี้

Writer : Sam Ponsan

: 10 พฤษภาคม 2562

หากเข้าไปเสพข้อมูลในโลกออนไลน์ เราจะพบว่าคนรุ่นใหม่จำนวนมากตื่นเต้นและให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งอย่างมาก ไล่ตั้งแต่การวิจารณ์เรื่องการเมืองที่เผ็ดร้อนดุดัน  การแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กัน การช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้ามองความไม่น่าไว้ใจ ไปจนถึงการตั้งด้อมเชียร์นักการเมืองที่พวกเขารัก

นี่ปรากฎการณ์หนึ่งในกระแสการเมืองไทยที่ชวนหาคำตอบถึงความน่าสนใจในเรื่องการเมืองของคนรุ่นใหม่ และวันนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยเพื่อหาคำตอบเรื่องนี้กับ ‘หนุ่มเมืองจันท์’ หรือ ‘สรกล อดุลยานนท์’  นักข่าวและนักเขียน ผู้คว่ำหวอดอยู่กับเรื่องราวของการเมืองไทยมานานตั้งแต่ยุคพฤษภาทมิฬจนมาถึงวันนี้

จากประสบการณ์ และการมองเห็นเรื่องราวของคนและการเมืองมาหลายปี เขาคิดเห็นอย่างไรกับความสนใจการเมืองของคนรุ่นใหม่

ความเข้มข้นทางการเมือง กับยุคพฤษภาทมิฬ และยุคนี้

สมัยผมเป็นนักศึกษา สมัยพลเอกเปรม  คือไกลกว่าปี 35 นิดนึง โชคดีที่ได้เห็นตอนนั้น รู้สึกว่าการเมืองมันหมุนกลับไปเมื่อสามสิบปีที่แล้ว รัฐธรรมนูญ สว. ที่มาจากการแต่งตั้ง มันคือการม้วนกลับไปช่วงเวลานั้น ของสมัยพลเอกเปรม 

การเลือกตั้งหาเสียงครั้งนี้คุณเห็นชัดเจนเลยว่า มันชัดเจนมาก มันก็ยังแบ่งสองกลุ่มเหมือนเดิม จนจบการเลือกตั้งแล้วจนถึงวันนี้ คุณก็ยังเห็นเหมือนกันว่า ตัวละครทุกตัวยังเหมือนเดิมหมด ใครอยู่ฝั่งไหน ใครอะไรยังไงยังเหมือนเดิมหมดไม่ได้แตกต่าง เพิ่มเติมขึ้นมา คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่อายุ 18-25 ปีที่สร้างปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงในการเลือกตั้งครั้งนี้

วันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือโซเชี่ยลมีเดีย นี่คือ ความทันสมัยที่เรียกว่าเข้ามายุค 4G มันมีพื้นที่ใหม่ที่เกิดขึ้น นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการเมือง เด็กรุ่นใหม่กลุ่มนี้เขาจะอยู่กับโซเชี่ยลมีเดีย ติดตามข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว เขาสามารถค้นข้อมูล ผู้ใหญ่คิดว่าเขาไม่รู้เรื่อง เขาใช้เวลาไม่กี่วินาทีก็สามารถหาข้อมูลที่ผู้ใหญ่ลืมนึกไปว่า เขาสามารถหาได้ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่มีพลัง แล้วก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่กับพรรคอนาคตใหม่มากขึ้น   

ถ้าเปรียบเทียบกับเด็กยุคก่อน พวกเขาสามารถค้นหาข้อมูลนักการเมืองได้หรือเปล่า

ถ้ายุคผม ผมเชื่อว่าคนกลุ่มผมโดยพื้นฐานสนใจทางการเมืองมากกว่ารุ่นนี้ แต่รุ่นนี้โดนเขย่าแล้วทำให้เกิดการตื่นตัว ช่วงเลือกตั้งนี้ผมต้องให้คะแนน ธนาธร กับพรรคอนาคตใหม่ ที่เขาเป็นไอดอลของคนรุ่นใหม่ได้ เพราะส่วนหนึ่งคือเด็กรุ่นใหม่เขาเบื่อวาทกรรมของนักการเมืองเก่าๆ พรรคการเมืองเก่าๆ อยู่เหมือนกัน เขาเบื่อความขัดแย้งในมุมมิตินี้ เขาเบื่อที่ว่าเกลียดทักษิณ เขาเบื่อตรงจุดนั้นอยู่พอสมควร เขาก็เลยพอมีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในวัยที่เขาสัมผัสได้ คือวัย 40 ปีซึ่งไม่ไกลกว่าพวกเขาเท่าไหร่ แล้วก็สื่อสาร มีคุณชัชชาติ ที่เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่มาสื่อสารในภาษาการเมืองรูปแบบใหม่ ซึ่งจุดนี้เป็นจุดกระตุ้นให้มีความสนใจมาก พอสนใจจากสิ่งนี้ มันเหมือนกับเราไปกินข้าวแล้วถ่ายรูปแล้วแชร์ พอมันเกิดชอบแล้วแชร์ๆๆ มันมีปฏิกิริยามวลเกิดขึ้นมา แล้วมันก็กระจายกว้างขึ้นไป

ถ้าเคยได้ยินที่ว่าสองนคราประชาธิปไตย สมัยคุณเอนก เหล่าธรรมทัศน์ พูดถึงว่า คนต่างจังหวัดเลือกรัฐบาล คนกรุงล้มรัฐบาล เป็นความแตกต่างระหว่างความคิดของกรุงกับคนต่างจังหวัดที่คิดไม่เหมือนกัน วันนี้สองนคราอันใหม่ก็คือ มันมีสองนคราสามมิติ มิติเก่าก็คือของคนเมืองและคนต่างจังหวัดยังดำรงอยู่พอสมควรแต่ที่มากกว่านั้นคือ มิติสองนคราระหว่างวัย คือพ่อแม่กับลูก คิดไม่เหมือนกัน สมัยลูกคืออายุ 18-25 คือเลือกตั้งครั้งแรก หันไปถามว่าเลือกใครดี พ่อบอกให้เลือกใครก็เลือก แต่ตอนนี้ทุกคนมีของตัวเองให้เลือก พ่อแม่ถามอยากให้ลูกเลือกตามพ่อแม่ ลูกบอกว่ายังไม่ตัดสินใจ แต่จริงๆ ก็ตัดสินใจแล้วแต่เขาไม่บอกเขากลัวทะเลาะ ก็จะมีเด็กรุ่นใหม่บางคนก็พยายามโน้มน้าวพ่อแม่ให้ตามเขา ปรากฏการณ์ก็กระจายไปทั่ว ไปที่ไหนก็จะเห็นแบบนี้ มันมีความแตกต่างกันมากอย่างชัดเจน

ผมมองว่าคนรุ่นใหม่ รุ่นเก่า เวลาเขาเลือก ส.ส. บางคนก็ไม่เคยเจอนะ เราฟังแล้วความเชื่อ เหมือนเราฟังเพลงแล้วชอบนักร้อง มันก็คือสิ่งเดียวกัน นี่คือสิ่งที่เขาฟังความคิด แล้วโลกวันนี้มันไม่เหมือนยุคก่อน ยุคก่อนบางทีฟังต่อๆ กันมาไม่ได้ยิน อันนี้สามารถเข้าไปดูในยูทูป เข้าไปดูในดีเบต ย้อนหลังได้ เข้าไปดูอะไรต่างๆ ข้อมูลที่เพื่อนๆ ส่งมาเต็มไปหมดเลย ดีกว่าสมัยก่อน จะว่าเด็กไม่ได้เลย

วัยรุ่นแต่ละพื้นที่เขาสื่อสารได้อย่างไร

ผมว่าวัยรุ่นเขาตามทันกันนะ เขามีกลุ่มที่ไวที่สื่อสารกันแล้วก็ ยิ่งโดยเฉพาะช่วงเลือกตั้งมันไม่มีอะไรแตกต่างเท่าไหร่ การรับรู้ข่าวสารเขามีช่องทางเหมือนๆ กัน กระแสมาเขาก็ตาม เหมือนเพลงเกาหลี ต่างจังหวัดเพลงเกาหลีก็ไปเหมือนกัน ในหัวเมืองอะไรต่างๆ ที่สำคัญเราเห็นกลุ่มมหาวิทยาลัย ที่อนาคตได้แต่ละจุด ขอนแก่น พิษณุโลก ชลบุรี สมัยนี้นักศึกษาโอนที่อยู่ไปในจังหวัดนั้น แล้วทำให้คะแนน ส.ส.เก่าอย่างที่นึกไม่ถึง นี่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้น

วัยรุ่นตื่นตัวเพราะเบื่อหน่าย หรือเพราะกระแส

ผมว่าเวลาเกิดการตื่นตัวมันมีอะไรหลายอย่าง หนึ่งตื่นตัวด้วยตัวเอง อันที่สองมันมีตัวกระตุ้นบางอย่าง เคสนี้มันมีสองอย่างคือ โซเชียลมีเดียทำให้ใกล้ตัวเขามากขึ้น แล้วก็ช่วงรัฐประหาร 5 ปี ผมเชื่อว่าทำให้เขาไม่พอใจอะไรบางอย่างอยู่พอสมควร เจอเรื่องนาฬิกา ของพลเอกประวิตร เจอเรื่องอะไรอย่างนี้ ผมจับเด็กรุ่นใหม่หลายๆ คนเขาไม่พอรัฐบาลชุดนี้เป็นเรื่องใหญ่ เขารู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรม ทำไมมันเกิดขึ้น ก็ทำให้เขารู้สึกว่าเมื่อเขามีเสียงที่จะเลือกเขาก็เลยใช้สิทธิ์ ใช้โซเชียลมีเดียหาข้อมูลมากขึ้น  อย่างที่สองคือเขามีศิลปิน คนใหม่ที่เข้ามาทำให้เขาอยากตามมากขึ้น นั่นก็คือ ธนาธร คือครั้งนี้มันแจ้งเกิดสองคน ในหมู่วัยรุ่น หนึ่ง ธนาธร  สองคือน้องจินนี่ (ลูกสาวคุณหญิงสุดารัตน์) ซึ่งไม่ใช่นักการเมืองมันก็เป็นปรากฏการณ์อันนึง แล้วก็ยังมีลุงมิ่งอีกคน ลุงมิ่งกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เด็กบอกว่าน่ารัก แล้วก็รู้สึกไม่ปะทะ

ทำไมคนรุ่นใหม่มองว่าการเมืองเป็นเรื่องสนุก

มันมีทีมบอลให้เราเชียร์ คือสมัยก่อนที่เราดูทีมบอลเฉยๆ เราไม่เชียร์ทีมไหนก็ไม่ค่อยสนุกนะ แต่ถ้าเราเชียร์เมื่อไหร่ก็สนุกขึ้น ผมว่าตอนนี้เขาเหมือนมีทีมที่เขาเชียร์ แล้วทำให้การเมืองในวันนี้ไม่เหมือนเดิม เพราะหลังเลือกตั้งทุกคนเป็นเจ้าของเสียงที่เราลงไป รู้สึกว่า เห้ย เสียงเราโดนรังแกเมื่อไหร่ อันนี้มันเป็นสิ่ง ในระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดี

ธนาธรถ้าไม่มีกระแสคำว่า #ฟ้ารักพ่อ ขึ้นมาจะไม่มีตัวเกี่ยว คือมันมีความนิยมอยู่ระดับนึงอยู่แล้ว แต่วันที่ไปฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ คำว่า ฟ้ารักพ่อที่มันเกิดขึ้น เหมือนกับที่ผ่านมาเขาอยู่กับกระแสโซเชียล พอวันนั้นเป็นการออกอีเว้นท์ ออกอีเว้นท์มันเห็นปฏิกิริยาของคนที่เข้ามาขอถ่ายรูป แล้วก็มีเกี่ยวของคำว่า ฟ้ารักพ่อขึ้นมา มันก็กลายเป็นคีย์เวิร์ด ที่ทุกคนสามารถไปเกี่ยวได้ คนก็เริ่มสงสัยว่ากระแสนี้ ชื่อนี้มายังไง มายังไง เริ่มสงสัยแล้วก็ลามไปเรื่อยๆ มันไม่ใช่มาจากว่า ฟ้ารักพ่อ มันไม่ใช่เป็นคำที่ทำให้เกิด แต่มันเป็นคีย์เวิร์ดที่ทำให้เกี่ยวง่ายขึ้น

(ทำไมเด็กวัยรุ่นถึงชอบนักการเมือง) 

เวลาอธิบายว่าทำไมเด็กวัยรุ่นถึงชอบ มันก็หาเหตุผลมาอธิบายเป็นข้อ 1 2 3 4 ไม่ได้นะ มันมีมวลอะไรบางอย่าง เขาเป็นคนอายุ 40 ปีที่เฉย ยังพูดคำว่าจ๊าบอยู่ ก็ยังใช้คำนี้อยู่ ยังชอบเพลงสุนทราภรณ์ พอคุณชอบปั๊ปสิ่งที่คุณคิดว่าเชยก็กลายเป็นสิ่งที่น่ารักของเด็กวัยรุ่นซึ่งอธิบายยาก 

เด็กรุ่นใหม่ทำไมชอบดูดีเบท แล้วหันมาสนใจการเมือง

ดีเบทจะสนุกต้องมีทีมที่เขาเชียร์ แล้วทีมที่เขาเชียร์ต้องได้เปรียบนิดหน่อยนะ เหมือนเราเชียร์บอลแล้วเราโดนนำ ผมว่าครั้งนี้ เป็นครั้งที่พรรคการเมืองต่างๆออกมาดีเบตกันเยอะ ที่ผ่านมาไม่มีมันมีสองขั้ว คือประชาธิปัตย์กับไทยรักไทย พรรคอื่นๆ จะไม่ค่อยเพราะสองพรรคนี้คะแนนนำ ออกมาก็ไม่สนุก แต่ครั้งนี้ออกมาทุกคนเลยสนุก

อยากฝากอะไรถึงพวกเขา

ครั้งนี้เป็นครั้งนึงที่เราเห็น คือ เห็นอย่างเป็นรูปธรรม เพราะว่า สมัยก่อนเด็กรุ่นก่อนอาจจะเป็นแบบเดียวกันก็ได้นะ เพียงแต่เขาไม่มีโซเชียลมีเดียที่จะบอกว่า ทำให้เราเห็นว่าเขาตื่นตัว กับที่สองที่เราเห็นว่า เด็กรุ่นนี้มีความคิดเป็นของตนเองว่าเขาจะเลือกใคร เชาไม่ได้เลือกตามพ่อที่บอกมาอันนี้ถือเป็นความคิดที่ดี เพราะทุกรุ่นมีความคิดเป็นของตัวเอง นี่ไม่ใช่เด็กแล้วพวกเขาโตแล้วยิ่งถ้าเขาชอบ ผมว่าอันนี้มันเป็นสิ่งที่งดงาม

โลกนี้ไม่ใช่เป็นของเขาคนเดียว มันเป็นของผู้ใหญ่ด้วย ฉะนั้นเมื่อคุณอยากให้เขาเคารพคุณ คุณก็ต้องเคารพเขาด้วย วิธีการของเด็กหลายคนที่ไปตอบโต้คนรุ่นผู้ใหญ่ด้วยข้อความที่ก้าวร้าวเกินไปมันก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อสู้กันระหว่างสองวัยขึ้นมา

https://youtu.be/_12e2Ld8lo0

Writer Profile : Sam Ponsan
นักเขียนหนุ่มสุดเท่ที่ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ ขนาดฝนตกยังยอมขี่รถตากฝนเลยเพราะคิดว่าทำแล้วเท่ งานอดิเรกของเขาคือการไปออกกำลังกายเพราะเชื่อว่าทำแล้วเท่ ปัจจุบันก็ยังชอบทำ Content อะไรเท่ๆ ลงเว็บ Mango Zero ด้วย แหม่...เท่จริงๆ
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save