category Empathy เข้าใจคนอื่นง่ายๆ ด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา

Writer : incwaran

: 3 พฤศจิกายน 2563

หลายครั้งที่เราเห็นคนอื่นทุกข์ใจ หรือต้องเผชิญหน้ากับเรื่องไม่ดี แล้วเรารู้สึกเห็นใจ ความรู้สึกแบบนั้นใช่ Empathy ไหม? 

Empathy คือความสามารถที่ช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่น ต่างคนต่างความคิด ไม่ผิดที่เราจะเห็นต่างกัน แต่ถ้าความขัดแย้งเหล่านั้นนำมาสู่ปัญหา ส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจของใคร ลองเปิดใจ แล้วเอาเขามาใส่ใจเรา 

มาทำความเข้าใจ empathy แล้วมาต่อที่เข้าใจคนอื่นไปพร้อมกัน

Empathy คืออะไร ต่างจาก Sympathy ยังไง

Sympathy คือความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทั้งความรู้สึกเศร้า เสียใจ เห็นใจ เมื่อเห็นคนอื่นต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่ดี 

Empathy คือความสามารถในการเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในความรู้สึก หรือสถานการณ์คนอื่นเผชิญ ทำให้เข้าใจเหตุผล และความรู้สึกจากมุมมองของคนคนนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้นจึงต่างกับ sympathy ตรงที่เป็นความรู้สึกเห็นใจ ที่เกิดจากการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง

ประเภทของ Empathy

  • Cognitive Empathy ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกนึกคิด ในจิตใจของคนที่กำลังเผชิญอะไรบางอย่าง รู้และเข้าใจว่าเขากำลังอยู่ในสภาวะอารมณ์แบบไหน ไปจนถึงสภาพจิตใจในขณะนั้น
  • Affective Empathy (Emotional Empathy) ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น เสมือนว่าเอาความรู้สึกของเขามาอยู่ในใจของเราจริงๆ ทำให้สามารถเข้าหาและพูดคุยกับคนคนนั้นได้อย่างถูกวิธี
  • Compassionate Empathy ความสามารถในการเข้าอกเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น รับรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกเหล่านั้น ทำให้เรายื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ หรือทำอะไรบางอย่างที่ทำให้เขารู้สึกดีขึ้น

วิธีแสดงความห่วงใย ในรูปแบบ Empathy

  • รับฟังอย่างตั้งใจ จะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกนึกคิด เหตุผลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากขึ้น รวมไปถึงสังเกตสีหน้า ท่าทางของผู้พูด จะทำให้เราเข้าใจและให้กำลังใจได้ถูกวิธี
  • ไม่ตัดสินถูก-ผิด แม้ว่าเราจะเอาความรู้สึกของเขามาใส่ในใจเรา แต่อย่าเอาความรู้สึกและมุมมองส่วนตัวของเราไปตัดสินเรื่องราวที่เกิดขึ้น การมี empathy ควรจะมองสิ่งที่เกิดขึ้นในมุมมองของคนที่เผชิญเหตุการณ์จริงๆ
  • ให้กำลังใจและอยู่ข้างๆ ในยามที่เขาต้องการ นอกจากการรับฟังแล้ว การให้กำลังใจ และทำให้เขารับรู้ได้ว่าเราอยู่ตรงนี้เสมอถ้าเขาต้องการ ก็จะช่วยให้อีกฝ่ายไม่รู้สึกว่าอยู่ตัวคนเดียว
  • ให้ความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ เมื่อเราทั้งเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น อย่างน้อยเราจะรู้ว่าควรจะช่วยเหลืออย่างไร นอกจากให้กำลังใจแล้ว ลองหยิบยื่นความช่วยเหลือที่สามารถทำได้ด้วยความเต็มใจ

 

ที่มา verywellmind

psychologytoday

inc.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save