10 เรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ อัคคีภัย / ไฟไหม้ / หนีไฟ เพิ่มโอกาสรอดชีวิต

Writer : SOMMARKZ

: 8 พฤษภาคม 2561

ไฟไหม้ .. ไม่เคยซ้อมหนีไฟ ทั้งที่ยังมีความเชื่อผิดๆ ถังดับเพลิงไม่เคยลองใช้ เมื่อเจอเหตุการณ์จริงเราอาจ ไ ม่ ร อ ด ชี วิ ต ! มาดู 10 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ อัคคีภัย เพราะเหตุการณ์จริง ไม่เหมือนกับในหนัง

01

1 ไฟไหม้เรื่องใกล้ตัว กว่าที่คิด

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผย 5 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร เกิดเหตุไฟไหม้ 800-1,200 ครั้ง/ปี คิดเป็น 4-5 ครั้ง/วัน
จุดที่เกิดเหตุบ่อยสุดคือ อาคารที่พักอาศัย ซึ่งสาเหตุไฟไหม้ส่วนใหญ่มาจากไฟฟ้าลัดวงจร

02

2 ไฟไหม้ตึก ต้องหนีลงล่าง

พฤติกรรมเพลิง จะลามจาก ล่างขึ้นบน ต่ำขึ้นสูง และไม่ควรใช้ลิฟต์ แถมขึ้นไปเจอประตูดาดฟ้า ล็อค! จบเห่ครับ

03

3 ไม่มีเฮลิคอปเตอร์ เหมือนในหนัง

กรุงเทพเป็นเมืองตึกสูง ซอยแคบ และเกิดเพลิงไหม้บ่อยๆ จากคำบอกเล่าของพนักงานดับเพลิง สถานีดับเพลิงในกรุงเทพไม่มีงบประมาณพอสำหรับเฮลิคอปเตอร์ ทีมงานแมงโก้คาดว่า อาจประสานจากหน่วยงานอื่นเมื่อเกิดเหตุ

04

4 สาเหตุไฟไหม้อันดับ 1 ชาร์จแบตมือถือ

แบตระเบิด ไฟฟ้าลัดวงจร ล้วนมาจากอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ควรเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือชาร์จไฟทิ้งเอาไว้ถ้าออกไปไหน ต้องปิดไฟ+ดึงปลั๊กออกให้หมดเสมอเป็นนิสัย

05

5 ถังดับเพลิงใช้ ฉีด ‘อย่าโยน’

หลายคนชอบโยนถังดับเพลิงใส่เปลวไฟ ซึ่งไม่ช่วยอะไร สำหรับโยนคือ Fire Ball Extinguisher, Elide ball

06

6 มีเวลาหนี 5 นาที ก่อนสมองขาดออกซิเจน

ภาวะสมองตาย เกิดจากสมองขาดออกซิเจนใน 4-5 นาที ควันไฟ เป็นสาเหตุการตายมากกว่าไฟครอก

07

7 วิธีใช้ถังดับเพลิง

ดึง สลัก ออก
ปลด สายฉีด
กด เพื่อพ่น
ส่าย ให้โดนฐานของไฟ ระยะยิง 1-2 เมตร / 2-4 เมตร

08

8 ไฟไหม้โทร 199

โทร. 199 แจ้งเหตุอัคคีภัย เพลิงไหม้ โดยตรงเลยดีกว่า
กรณีไฟไหม้ผับดังเกือบสิบปีก่อน มีการโทรหา 191 ซึ่งเป็นเบอร์ตำรวจ กว่าเรื่องจะถึงหน่วยดับเพลิง ก็กว่า 20 นาทีไปแล้ว

09

9 คนโดดตึก เจองูเหลือม ของตกท่อ รถแบตหมด โทร.199 ได้

10

ชีวิตจริงไม่เหมือนในหนัง อย่าให้ความเชื่อผิดๆฝังหัวเราไปตลอด หาข้อมูลจากเน็ตก็ได้ หรือเข้าซ้อมหนีไฟหากมีโอกาส

ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานแมงโก้

Writer Profile : SOMMARKZ
FB: Sommark Ponkrid
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save