ข้อมูลจากรายงาน ธนาคารไทยพานิชย์ ระบุว่า ช่วงครึ่งแรกของปี 2562 (ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19) พบว่ากว่า 8 ใน 10 ของครัวเรือนครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 1 หมื่นบาท/เดือนและมีหนี้สิน ไม่มีเงินออม คิดเป็น 43% ต่อจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด ครัวเรือนที่มีสินทรัพย์ทางการเงินสำหรับใช้จ่ายน้อยกว่า 3 เดือน ณ ครึ่งแรกของปี 2562 คิดเป็น 59.2% ต่อจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ประเทศไทย ได้ทำการสำรวจออนไลน์ 2 ครั้ง ดังนี้ ผลกระทบด้านสังคม (จำนวนตัวอย่าง 43,338 สำรวจระหว่างวันที่ 13-27 เม.ย. 2563) 49% ระบุว่าความวิตกกังวลนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ผลกระทบมากที่สุด คือ ความไม่สะดวกในการเดินทาง ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นเด็กวัยเรียน 46% ไม่พร้อมที่จะเรียนระบบออนไลน์ เนื่องจากไม่มีคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก หรือแท็บเล็ต อีกเหตุผลคือ เนื่องจากผู้ปกครองไม่มีเวลาในการช่วยเหลือบุตรหลานในการเรียนออนไลน์ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ (จำนวนตัวอย่าง 27,986 สำรวจระหว่างวันที่ 27 เม.ย.-18 พ.ค. 2563) ผู้ตอบแบบสอบถาม 73.2% มีรายได้ลดลงหลังเกิดการระบาด โดยในจำนวนนี้ 39.9% มีรายได้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง และพบว่า ผู้มีการศึกษาต่ำมีความเสี่ยงที่จะมีรายได้ลดมากกว่าผู้มีรายได้สูง กว่า 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าถูกกระทบจากโควิดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น ถูกพักงาน เลิกจ้าง ยอดขายลดลง หรือปิดกิจการ ด้าน ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ ‘เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ’ สอบถามผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 14-24 พ.ค. 2563 มีผู้ตอบแบบสอบถาม 1,998 คน พบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของครัวเรือน ‘ก่อนเกิด’ สถานการณ์ COVID-19 (ม.ค. 2563) ครัวเรือนส่วนใหญ่มีงานทำเป็นส่วนใหญ่ หรือเป็นประจำ มีสัดส่วนรวมกัน 70% ว่างงาน 10% ครัวเรือนกว่า 50% ที่มีรายได้ตั้งแต่ 50,000 บาท/เดือน ลงมา มีกันชนทางการเงิน (หลักประกันเพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ) ไม่เกิน 3 เดือน ที่มา https://www.tcijthai.com/news/2020/7/scoop/10690