สรุปประเด็นปัญหา 'เรียนออนไลน์' ดีจริงไหม-การศึกษาไทยเอาไงต่อ ?

Writer : Yoom

: 19 พฤษภาคม 2563

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้รูปแบบของการศึกษาต้องเปลี่ยนไปตามมาตราการ Social Distancing การหาทางออกให้กับการศึกษาช่วงนี้ คงเป็นรูปแบบของ ‘การเรียนการสอนออนไลน์’ ล่าสุดวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 รัฐบาลได้มีการจัดการเรียนการสอนผ่านทางออนไลน์และทางกล่อง DLTV แต่พอเปิดให้การเรียนการสอนวันแรก กลับเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ทางทีมงาน Mango Zero จึงได้สรุปประเด็นปัญหา ‘เรียนออนไลน์’ ในครั้งนี้ว่าจะมีประเด็นปัญหาอะไรบ้าง

สรุปประเด็นปัญหา ‘เรียนออนไลน์’

  • เป็นการผลักภาระให้ผู้ปกครองและเด็ก : หลังจากมีการปรับเปลี่ยนให้มีการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ กลับทำให้ผู้ปกครองหลาย ๆ คนมีภาระเพิ่มขึ้น เพราะต้องเสียไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ในการเข้าเรียนให้กับลูกของตนเอง นอกจากนั้นแล้วในบางครอบครัว ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลบุตรหลานของตนเองในระหว่างการเรียนออนไลน์ได้ เพราะต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว

 

  • อุปกรณ์และอินเทอร์เน็ตไม่เอื้ออำนวย :  ปัญหาหลักของการเรียนออนไลน์ก็คือ การขาดอุปกรณ์ในการเรียนและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในกลุ่มของเด็กที่อยู่ในฐานะยากจน ซึ่งจากผลสำรวจของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า มีเด็กเพียง 45% เท่านั้นที่มีอุปกรณ์พร้อม นอกจากนั้นแล้วเด็กจำนวน 66% ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ อีก 57% ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และ 36% ไม่มีสมาร์ทโฟนใช้

 

  • ความถูกต้องของเนื้อหาในการสอน : อีกหนึ่งประเด็นที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์กันมากมายบนโลกอินเทอร์เน็ตก็คือ ความถูกต้องของเนื้อหา หลังจากมีการในวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งภายหลังได้มีการตั้งคำถามกับประเด็นเกิดที่ขึ้นว่า เนื้อหาที่ใช้สอนมีความไม่ถูกต้องและล้าหลัง

 

  • การเรียนการสอนเป็นรูปแบบของการสื่อสารทางเดียว : การเรียนออนไลน์ในครั้งนี้เป็นการสื่อสารทางเดียว เพราะเป็นการยิ่งสัญญาณการถ่ายทอดจาก มูลนิธีการศึกษาทางไกลผ่านเดียวเทียม ก่อนส่งเข้าสัญญาเข้าสู่ช่องทางต่าง ๆ ซึ่งการเรียนการสอนรูปแบบนี้อาจทำให้เด็กไม่มีปฏิสัมพันธ์กับครูผู้สอน และหากเด็กมีคำถามก็ไม่สามารถถามอาจารย์ผู้สอนได้

 

  • การเรียนออนไลน์สะท้อนปัญหา ‘ความเหลื่อมล้ำ’ : การกรณีดั่งกล่าวทำให้ชาวเน็ตหลายคนวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ประเด็นปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความ ‘ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศ’ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ จะพบว่ามีเด็กเพียง 5% เท่านั้น ที่ไม่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ แต่ในไทยเรากลับพบว่ามีเด็กมากเกินกว่าครึ่่งไม่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาได้

นอกจากนั้นแล้วมีผลสำรวจความคิดเห็นของ JS100 Radio ที่ทำการสำรวจผู้ปกครองบนเพจเฟสบุ๊ค ผลว่า มีเพียง 12% เท่านั้นทีพร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์ และยังมีอีกมากถึง 88% ที่ไม่พร้อมการเรียนครั้งนี้

 

Writer Profile : Yoom
เด็กหนุ่มจบปรัชญาและศาสนาแต่มาทำงานเป็น Content Creator รักการปีนเขา เวลาว่างชอบเล่นกับแมว และชอบถ่ายวิดิโอเป็นชีวิตจิตใจ
View all post
15 ทริค พลิกสถานการณ์ให้ราบรื่น

15 ทริค พลิกสถานการณ์ให้ราบรื่น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save