ภัยพิบัติทางธรรมชาติ น้ำท่วม, ฝนตก คงเป็นสิ่งที่คนไทยได้เจอกันบ่อยๆ หรือในประเทศอื่นๆ ข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ที่ก่อความเสียหายทิ้งไว้มากมาย หลายคนน่าจะคุ้นชินกับคำว่า “พายุ” อย่างแน่นอน ขึ้นชื่อว่า “พายุ” แล้วไซโคลน. เฮอริเคน หรือไต้ฝุ่น ที่เรามักได้ยินกัน มันเหมือนหรือต่างกันยังไง ? และพายุที่เราเคยเจอเป็นแบบไหนบ้างไปดูกัน พายุคือ ? อากาศ 2 บริเวณที่อยู่ติดกันซึ่งมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก ทำให้ส่วนที่มีอุณหภูมิสูงกว่าลอยตัวขึ้นสู่ด้านบนอย่างรวดเร็ว และอากาศบริเวณที่อุณหภูมิต่ำกว่าไหลเข้ามาแทนที่ในแนวราบจนเกิดการหมุนของอากาศขึ้น ประเภท พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดจาก : อากาศร้อน และมีความชื้นพอสมควร , เมื่ออากาศได้ัรับความร้อนและลอยตัวสูง + ไอน้ำปริมาณที่มากพอ + การลดลงของอุณหูมิ = การลั้นตัวควบแน่นของไอน้ำ ส่วนมากเกิดที่ : เขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตร ทำให้เกิด : ลมแรง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฝนตกหนัก พร้อมกัน พายุหมุนเขตร้อน เกิดจาก : หย่อมความกดอากาศต่ำที่เกิดขึ้นในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร ส่วนมากเกิดที่ : บริเวณผิวน้ำทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส ลักษณะ : พายุหมุนขนาดใหญ่ที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 100 กม. ขึ้นไป หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา แบ่งตามความรุนแรงขอความเร็วลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางพายุ – พายุดีเปรสชั่น (Tropical depression) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 63 กม./ชม. ทำให้เกิด : พายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะเจอพายุประเภทนี้ มีขื่อเรียกแล้วแต่บริเวณที่เกิด – พายุโซนร้อน (Tropical storm) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 63 กม./ชม. – 118 กม./ชม. ทำให้เกิด : ฝนตกหนักจนอาจทำให้เกิดน้ำท่วม, ดินถล่มได้ และมีกำลังแรงพอที่ทำลายบ้านเรือนที่โครงสร้างไม่แข็งแรง – พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอริเคน (Typhoon or Hurricane) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 118 กม./ชม. ขึ้นไป อาจทำให้เสาไฟฟ้าหักโค่น เกิดไฟฟ้าช็อตหรือเพลิงไหม้ได้ คลื่นลมแรงเป็นอันตรายกับการเดินเรือ พายุระดับนี้มักเกิด “ตาพายุ” บริเวณศูนย์กลาง ซึ่งเป็นบริเวณท่มีความกดอากาศต่ำมากที่สุด ลมสงบ, ท้องฟ้าโปร่ง อาจมีเมฆและฝนเล็กน้อย ส่วนรอบๆ จะมีลมพัดแรงจัด เมฆครึ้ม ฝนตกหนักรุนแรง พายุไต้ฝุ่น – Typhoon เกิดในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และในทะเลจีนใต้ พายุเฮอร์ริเคน – Hurricane บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลคาริบเบียน และในอ่าวเม็กซิโก พายุไซโคลน – Cycloneในอ่าวเบงกอล และทะเลอาราเบียนในมหาสมุทรอินเดีย วิลลี่-วิลลี่ – Willy-Willy เกิดในทวีปออสเตรเลีย พายุทอร์นาโด เกิดจาก : การปะทะของลมร้อนและลมเย็น 90% ของพายุกลุ่มนี้เกิดขึ้นบนบก ส่วนมากเกิดที่ : เกิดได้ทั้งบนบกและทะเล ถ้าเกิดในทะเลเรียกว่า “นาคเล่นน้ำ” ลักษณะ : มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูงกว่าพายุหมุนอื่นๆ มีเกลียวงวงช้างเห็นได้ชัดเจน คงตัวอยู่ไม่กี่ชั่วโมง ทำให้เกิด : ลมหมุนรุนแรงสามารถดูดยกสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งของที่น้ำหนักไม่มากลอยตัวขึ้นได้ โดยความเร็วลมของพายุทอร์นาโด แบ่งตาม Fujita scale เป็น 5 ระดับ ดังนี้ พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กม./ชม. พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กม./ชม. พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กม./ชม. พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กม./ชม. พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กม./ชม. พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กม./ชม. ขอบคุณที่มาจาก : Trueplookpanya, Enjoyday, Th. Wikipedia – ทอร์นาโด, Th. Wikipedia – พายุ, Th. Wikipedia – พายุหมุนเขตร้อน, TMD.go.th