category จริงหรือไม่? นอนคว่ำเล่นคอมเสี่ยง “หลังพัง” ไวกว่าที่คิด

Writer : uss

: 28 กุมภาพันธ์ 2566

ใครที่ชอบเล่นเกม ดูซีรีส์ หรือทำงานที่บ้าน เชื่อว่าหนึ่งในท่ายอดฮิตติดใจมนุษย์อยู่บ้านอย่างเรา ๆ คงเป็นท่านอนคว่ำเท้าแขนอยู่บนเตียงแน่นอน ด้วยท่าทางที่นอนง่าย แถมเห็นหน้าจอชัดเจนโดยไม่ต้องเมื่อยแขนอีกต่างหาก 

แต่…หารู้ไม่ว่าท่านอนคว่ำนั้นไม่เมื่อยแขนก็จริง ในขณะเดียวกันก็ทำให้ร่างกายเราพังไวกว่าที่คิด อ้างอิงจากผลงานวิจัยจากประเทศสหรัฐบอกว่าท่านอนที่ไม่แนะนำให้นอนมากที่สุดนั่นก้คือ ท่านอนคว่ำนั่นเอง 

เมื่อนอนคว่ำมันก็ช่างสุดแสนสบาย ใคร ๆ ก็คงอยากนอนท่านี้ต่อ พวกเราชาวแมงโก้ก็เหมือนกัน! เลยขอหยิบยกข้อเสียที่จะเกิดขึ้นมาเล่าสู่กันฟัง เปรียบเสมือนเครื่องคอยเตือนสติให้ฉุกคิด ยอมเปลี่ยนใจ เปลี่ยนท่านอนที่ดีต่อสุขภาพกันมากขึ้น

ปล. แต่ถ้าอดไม่ไหวจริงๆ เราก็มีเทคนิคนอนคว่ำแบบสุขกายสบายใจมาฝากทุกคนเหมือนกัน~

จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย

ถ้าเรา “นอนคว่ำ” ?

ถ้าพูดถึงการนอนไม่ว่าจะอิริยาบถท่าทางไหน ก็เป็นการที่ทุกส่วนของร่างกายต้องได้รับการพักผ่อน แต่ถ้ายิ่งนอนเรากลับยิ่งเหนื่อย หรือเมื่อยหนักกว่าเดิมเหมือนไปผ่านรบสงครามมานั่นเป็นสัญญาณว่าเรากำลังนอนผิดท่าแล้วแหล่ะ 

ซึ่งท่านอนคว่ำก็เป็นอีกหนึ่งท่านอนที่ไม่ควรทำบ่อยมากนั่ง โดยเฉพาะเพื่ออ่านหนังสือ ดูหนัง หรือเล่นโทรศัพท์เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำสุดๆ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากจนผิดปกติ จนเกิดผลเสียต่อร่างกายหลาย ๆ ส่วน ได้แก่

  • การหายใจ

หากใครที่นอนท่านี้บ่อย ๆ คงพอสังเกตกันได้ว่าทุกครั้งที่นอนคว่ำมักจะหายใจไม่ค่อยสะดวก ไม่ว่าจะในบริบทนอนหลับ ดูยูทูป หรือทำงาน นั่นเป็นเพราะเราได้นอนกดทับอยู่บนแกนกลางของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงกลางระหว่างหน้าอก และหน้าท้อง

ทำให้ไม่สามารถสูดลมหายใจเข้าปอดได้อย่างเต็มที่ หายใจลำบาก และเหนื่อยกว่าเดิม อีกทั้งการทึ่ายใจไม่สะดวกยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใตแง่ของการเพิ่มระดับควรมเครียด และความวิตกกังวลมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นผลให้นอนหลับได้ยากขึ้นด้วยเหมือนกัน

  • กระดูกสันหลัง

การนอนคว่ำถือเป็นท่านอนที่ไม่ดีต่อกระดูกสันหลังเป็นอย่างมาก มีงานวิจัยพบว่าการนอนคว่ำจะทำให้หลัง และกระดูกสันหลังตึง เนื่องจากน้ำหนักส่วนใหญ่อยู่ที่ส่วนกลางลำตัว ส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างช่วงกระดูกเชิงกรานมีอาการปวด นอกจากนี้อาจเสี่ยงกระดูกสันหลังผิดรูป แต่ไม่ใช่เกิดขึ้นในทันทีต้องอิงจากความถี่ และระยะเวลาในการนอนคว่ำ

  • ลำคอ

เวลาเล่นคอมบนเตียง เราจะอยู่ในบริบทที่ต้องเงยหน้าขึ้นนิดหนึ่ง เลยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอตึงเกร็ง เพราะต้องหดตัวเพื่อใช้ในการเงยหน้า หลอดเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงศรีษะจึงถูกการกดทับ

  • ริ้วรอยบนใบหน้า

เราอาจสังเกตเห็นริ้วรอยบนใบหน้ามากขึ้น เมื่อด้านใดด้านหนึ่งถูกกดลงบนหมอน ทำให้ใบหน้าถูดยืดตึง และบีบอัดตลอดทั้งคืน ซึ่งถ้าทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ผลที่ตามมาคือ อาจทำให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้าได้ 

  • คนท้อง

ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เราสามารถนอนหลับสบายในท่านอนปกติโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง แต่เมื่อท้องโตขึ้นการนอนคว่ำอาจทำให้รู้สึกอึดอัดได้ จนรบกวนการนอนหลับ และทำให้นอนไม่สบาย

ซึ่งท่านอนคว่ำถือเป็นท่าที่ไม่เหมาะกับผู้หญิงตั้งครรภ์มากที่สุด เพราะจะเพิ่มแรงดึงของกระดูกสันหลังให้กดทับลงมา จากนั้นก็จะเกิดอาการปวดหลังแบบเฉียบพลันโดยไม่ทันตั้งตัวได้ 

แพทย์ส่วนใหญ่เลยแนะนำให้คนท้องนอนตะแคงซ้ายมากกว่า ท่านี้จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังทารกในครรภ์ มดลูก และส่วนต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย

รู้หรือไม่? 

แม้การนอนคว่ำจะมีข้อเสีย แต่ในทางกลับกันก็มีประโยชน์บางอย่าง เพราะท่านอนคว่ำเหมาะสำหรับคนที่นอนกรน เพราะช่วยให้หายใจได้สะดวก กรนลดลง แต่ก็อาจทำให้นอนหลับไม่สนิท เนื่องจากแรงกดบนข้อต่อของร่างกายนั่นเอง 

ไม่อยากปวดหลังทำ 3 วิธีนี้!

  • ใช้หมอนเตี้ยหรือไม่หนุนหมอนเลย 

เพื่อทำให้ระยะห่างลำคอกับที่นอนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะยิ่งหมอนหนามากเท่าไหร่ก็จะยิ่งปวดคอมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากศรีษะกับคอไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกันกับกระดูกสันหลัง 

  • เลือกที่นอนแข็งๆ

เพื่อให้ตัวเราไม่จมไปกับที่นอน ไม่รู้สึกอึดอัด และหายใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะที่นอนนุ่ม ๆ นั้นจะทำให้ตัวของเรายุบลงไปในที่นอน จนแขนได้รับน้ำหนักมากไปส่งผลให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากกว่าเดิม

  • รองหมอน

หาหมอนมารองบริเวณสะโพก เพื่อช่วยยกให้กระดูกสันหลังนั้นอยู่ในระนาบเดียวกัน และผ่อนคลายความตึงของแผ่นหลัง

สำหรับผู้หญิงที่หน้าอกใหญ่ควรหาหมอนมากอดหนุนบริเวณหน้าอก เพื่อลดแรงกดทับลงไปที่เต้านม

  • ยืดร่างกายหลังจากนอนคว่ำ

การยืดเหยียดช่วยให้สามารถจัดการแนวกระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี และถ้าเริ่มทำตอนเช้าหลังจากตื่นนอนก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากจะช่วยคลายความตึงเครียดแล้ว ยังปลุกให้ตื่น และเติมพลังให้กับเราอีกด้วย

ที่มา : Thai PBSsleepfoundation, Bumrungradhello คุณหมอ

Writer Profile : uss
ชอบฟังเพลงพอๆ กับชอบนอนหลับ :)
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save