category เตรียมพร้อมรับปี 2020 ชีวิตเราจะเป็นยังไงบ้าง?

Writer : Taey Ch

: 12 มีนาคม 2561

metris 8mr-02

ใกล้จะก้าวเข้าสู่ปี 2020 ซึ่งเป็นการเริ่มทศวรรษใหม่ แต่เราเคยนึกภาพตัวเองในอีกสามปีข้างหน้าไหมว่าชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร? เราทำงานอยู่ที่ไหนได้เลื่อนตำแหน่งงานหรือเปล่า? หรือว่าที่อยู่อาศัยของเราจะมีการขยับขยายไหม? กรุงเทพฯ เมืองหลวงที่เราอยู่จะพัฒนาไปไกลแค่ไหน? และการใช้ชีวิตของพวกเราในปี 2020 จะเป็นอย่างไรบ้าง?

ก็เพราะชีวิตของเราทุกวันนี้หมุนไวยิ่งกว่าอินเทอร์เน็ต 4G แล้วอย่างนี้ใครจะทำนายอนาคตตัวเองได้? ทาง Mango Zero จึงได้รวบรวมการคาดการณ์อนาคตการใช้ชีวิตในปี 2020 มาให้ผู้อ่านทุกคนได้เตรียมตัวรับมือกับชีวิตในอีกสามปีข้างหน้ากัน!

[Advertorial]

metris 8mr-23

1. รถยนต์ไฟฟ้า เสียภาษีลดลง 5 เท่า

มลพิษบนถนนมีเพิ่มขึ้นทุกวัน และในกรุงเทพฯ ก็กำลังอยู่ในขั้นวิกฤต ซึ่งตัวการหลักไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นเพราะรถยนต์นี่เองที่ปล่อยควันเสียออกมาไม่หยุดหย่อน ทางแก้ที่ต้นเหตุที่หลายภาคส่วนพยายามร่วมมือกันก็คือลดการปล่อยไอเสียให้น้อยลงโดยการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้านี่แหละ

ค่ายรถยนต์ทั่วโลกเริ่มหันจากการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน มามุ่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (electric vehicles : EV) แทน โดยในปี 2018 ถือเป็นจุดเริ่มต้นยุคของรถยนต์ไฟฟ้าเลย เพราะบริษัทรถยนต์หลายเจ้าต่างทยอยผลิตโมเดลรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ๆ ออกมาตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงปี 2020 เลยทีเดียว อาทิ

1) Nisson : ที่ตั้งเป้าเปิดตัว ‘นิสสัน ลีฟ’ ใน 50 ประเทศทั่วโลกในต้นปี 2018 หลังเปิดตัวไปก่อนที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว

2) Tesla : ‘เทสล่า โมเดล 3’ ของ Elon Musk

3) Audi : ‘ออดี้ อี-ตรอน (Audi e-tron)’ แบรนด์รถสัญชาติเยอรมันที่เตรียมเปิดตัวในปี 2019

4) BMW : อีกแบรนด์หรูจากเยอรมนีก็มีแผนจะเปิดตัวโมเดล “บีเอ็มดับเบิลยูไอ 5” ในปี 2019 เช่นกัน

5) รวมถึงแบรนด์อื่นๆ ที่เตรียมบุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2020 อย่าง ‘โตโยต้า’ ที่เพิ่งจับมือร่วมพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ากับ ‘พานาโซนิค’ หรืออย่าง ‘ฮุนได’ ที่คาดจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2019 และล่าสุดกับ ‘เชฟโรเลต’ ที่เตรียมเปิดตัว ‘เชฟโรเลต อีวี ครอสโอเวอร์’

ในประเทศไทยเองก็มีการสนับสนุนจากภาครัฐออกมาทางมาตรการต่างๆ อย่างล่าสุดมีมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ลงเหลือ 2% จาก 10% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2560 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568

จากการเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมต่างๆ การสนับสนุนของภาครัฐที่มีแนวโน้มจะให้คนใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น รวมถึงการคาดการณ์แนวโน้มราคาต้นทุนของรถยนต์ไฟฟ้าที่จะลดลงตามคำของ Gilles Normand รองประธานอาวุโสของบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าในฝรั่งเศส ที่คาดการณ์ว่าในปี 2020 ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าจะเท่าๆ กับรถยนต์แบบเดิม จึงเป็นผลให้ภายในปี 2020 กระแสรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องบูมในไทยแน่นอน และใครที่เตรียมซื้อรถเร็วๆ นี้ก็น่าจะมีรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอีกตัวเลือกในใจกันในโลกอนาคตที่คนต้องการลดมลพิษและหันมาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

 

metris 8mr-24

2. อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ไทยมุ่งลดก๊าซเรือนกระจก 7-20%

ภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติยังมีผลกระทบให้เราเห็นอยู่เรื่อยๆ และมีการคาดการณ์ว่าในเวลาอันใกล้นี้ อุณหภูมิของผืนโลกมีโอกาสเพิ่มสูงถึง 4.8 องศาเซลเซียสได้ภายในปี ค.ศ.2100 (อีก 82 ปี) ซึ่งถ้าถึงวันนั้นมนุษย์เราอาจไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จึงมีข้อกำหนดหรือกฏหมายต่างๆ ที่ออกมาบังคับให้ภาครัฐและภาคธุรกิจต้องใส่ใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ข้อตกลงปารีส(Paris Agreement) คือข้อตกลงซึ่งครอบคลุมเกือบ 200 ประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มีเป้าหมายหลักคือการป้องกันไม่ให้โลกไปถึงจุดที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศ(ประมาณ 2 องศาเซลเซียส) ซึ่งในปัจจุบันนี้อุณหภูมิโลกได้เพิ่มขึ้นมาเกือบ 1 องศาเซลเซียสแล้ว หลายประเทศจึงได้ร่วมใจทำความตกลงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก

อย่างประเทศไทยเองได้ก็ได้ส่งแผนว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 7-20 จาก BAU ในปี 2020 ในภาคพลังงานและภาคขนส่ง และยังมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกลงถึงร้อยละ 20-25 ในปี 2030 อีกด้วย

จากภาคธุรกิจเองอย่างแบรนด์ใหญ่ Apple ก็เปลี่ยนวิธีการผลิตเพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตัวเครื่อง MacBook Pro รุ่น 13 นิ้ว พร้อม Touch Bar ลดลงจากที่ใช้ในการผลิต MacBook Pro รุ่นก่อน ถึง 48%

ในไทยเองอย่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก็ตั้งเป้าว่าภายในปี 2020 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 11 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซค์ ซึ่งคิดเป็น 5% ที่ปล่อยอยู่ในปัจจุบัน

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าในปี 2020 พวกเราจะใช้ชีวิตในสังคมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และไม่ได้มองภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป ภาครัฐและภาคเอกชนจะหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

 

metris 8mr-25

3. นักวิเคราะห์ข้อมูลได้อันดับ 1 เทรนด์อาชีพมาแรง

จากเทรนด์ของ Consulting firm McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ ได้แนะนำธุรกิจที่จะมาแรงในปี 2020 นี้ โดยมีนักวิเคราห์ข้อมูลมาเป็นอาชีพมาแรงอันดับแรก เห็นได้จากยุคดิจิทัลที่เป็นอยู่นี้สิ่งสำคัญที่ธุรกิจขาดไม่ได้ก็คือ ‘ข้อมูล’ หลังๆ มาเราจะได้ยินคำว่า ‘Big Data’ บ่อยขึ้น ซึ่งถูกจัดอยู่ในหลักสูตรการเรียนของบางมหาวิทยาลัยเช่น จุฬาลงกรณ์ ไปเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา

ตามมาด้วย 2)นักจิตวิทยาบำบัด 3)นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 4)วิศวกรคอมพิวเตอร์ 5)สัตวแพทย์ 6)วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 7)อาชีพสายสุขภาพ 8)นักบริหาร 9)นักการเงิน 10)ผู้ประกอบการ

จะเห็นว่าเทรนด์อาชีพมีแนวโน้มจะเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี ซึ่งจากการคาดการณ์ในอนาคตเทคโนโลยีจะผนวกเข้ากับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นและเข้าถึงผู้คนได้กว้างขึ้นด้วย กรณีศึกษาอย่างประเทศจีนมีการใช้เทคโนโลยีเข้ากับหลายๆ สิ่ง เป็น Internet of Things (IoT) อย่างเช่นการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยให้กล้อง CCTV ฉลาดขึ้นกว่าเดิม หรือการใช้เทคโนโลยีด้านการแพทย์ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้นและแม่นยำขึ้น เป็นต้น

หรืออย่างประเทศไทยเราเองที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เริ่มผูกกับเทคโนโลยีมากขึ้น เราเริ่มเข้าสู่ยุคสังคมไร้เงินสด และหลังๆ มาเราก็เริ่มกดเงินจากตู้ ATM กันโดยไม่ใช้บัตรได้แล้ว รวมถึงบริการเดลิเวอรี่ต่างๆ ที่แบรนด์ธุรกิจขายปลีกเองอย่างซุปเปอร์มาร์เก็ตก็หันมาให้บริการส่งสินค้ากันแล้ว ยกตัวอย่างเช่น Foodpanda หรือ Lineman เป็นต้น น่าจับตาต่อไปว่าในปี 2020 ประเทศไทยเราจะมีร้านค้าที่ให้บริการตัวเองแล้วหรือยัง

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

 

metris 8mr-28

4. มีจำนวนผู้สูงอายุถึง 13 ล้านคน ก้าวสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์

จากสถิติประชากรสูงอายุในไทย คาดว่าปี 2020 จะมีผู้สูงอายุกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 19% หรือเกือบ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และปี 2030 จะเพิ่มถึง 17.5 ล้านคน คิดเป็น 26.57% หรือกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ นับเป็นการก้าวสู่สังคมของผู้สูงอายุอย่างแท้จริงและคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี ค.ศ. 2021

ในอนาคตอันใกล้ประชากรชาวไทยจึงมีแนวโน้มจะใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น เทรนด์การรักสุขภาพจะมาแรงกว่าเดิม ธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุของไทยในอนาคตจึงจะเป็นมากกว่าโรงพยาบาล แต่มีการให้บริการที่อยู่แก่ผู้สูงอายุด้วย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1.ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเดย์แคร์ (Day Care) หรือการบริการแบบไปเช้า-เย็นกลับ ซึ่งเป็นธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้และมีญาติมารับ-ส่งเป็นรายวัน

2.ธุรกิจสถานบริการดูแลระยะยาว (Long Stay) ที่ผู้สูงอายุอาศัยในสถานบริการนั้นเลย หรืออาศัยในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยญาติที่ไม่มีเวลาดูแลจะนำผู้สูงอายุมาฝากดูแล และมาเยี่ยมเป็นครั้งคราว และ

3.ธุรกิจที่บริการส่งผู้ดูแลให้ไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

 

metris 8mr-27

5. จำนวนสัตว์เลี้ยงมากกว่า 13 ล้านตัว ตามเทรนด์สูงอายุ

ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันของเรา มีจำนวนคนที่ครองตัวเป็นโสดมากขึ้น บางคู่ก็แต่งงานโดยไม่มีบุตร คนมีอายุยาวมากขึ้นและมีลูกน้อยลง ส่งผลให้เกิดการเริ่มมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนคู่ใจมากขึ้น เพราะในบางแง่มุมการเลี้ยงสัตว์เป็นเสมือนเพื่อนคลายเหงาหรือกระทั่งเสมือนลูกทดแทน

ซึ่งภาพรวมของจำนวนสัตว์เลี้ยงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ย 2.5 ล้านตัว (คิดเป็น 23%) ภายใน 5 ปี โดยในปี 2017 มีจำนวนของสัตว์เลี้ยงรวมกว่า 13.2 ล้านตัว จำนวนนี้แบ่งเป็นสัดส่วนของสุนัข 62% หรือ 8.2 ล้านตัว สัดส่วนของแมว 23% หรือ 3 ล้านตัว และคนมีแนวโน้มใช้จ่ายเพื่อน้องหมาน้องแมวกันมากขึ้นอีกด้วย ส่งผลให้คอนโดหรือธุรกิจอสังหาต่างๆ เริ่มใส่ใจไลฟ์สไตล์ของคนในอนาคตและเกิดโครงการที่พักที่อนุญาตให้น้องหมาน้องแมวอยู่ได้ด้วย

Metris Ladprao_6 Metris Buta Rama9_3

อย่างคอนโด METRIS by Major Development ทั้งสองโครงการที่ ลาดพร้าว และ พระราม9-รามคำแหง ซึ่งจะสร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ในปี 2020 เองก็เป็นคอนโดที่มีจุดเด่นคือสามารถเลี้ยงน้องหมาน้องแมวภายในคอนโดได้ นอกจากนี้ยังมีโซนสัตว์เลี้ยงเรียกว่า Pet Zone ให้เจ้าของพาสัตว์เลี้ยงแสนรักมาวิ่งเล่นได้ในบริเวณนี้ด้วย

ชมห้องตัวอย่างได้แล้ววันนี้

อ้างอิงข้อมูลจาก


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save