5 เรื่องที่ต้องรู้เนอะ ถ้าอยากจะสร้างบ้านเองนะ


: 21 ตุลาคม 2562

ว่ากันว่าคนบางคนเก็บเงินทั้งชีวิตเพื่อลงทุนกับบ้านหลังเดียว จึงเป็นเรื่องที่แน่นอนว่าการที่เราจะสร้างบ้านหลังนึงได้นั้น ค่อนข้างจะมีความเสี่ยงและควรมีผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา

และก็ว่ากันว่าบ้านหลังเดียวนั้นสร้างได้เองไม่ยากหรอก เพราะมนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตไม่กี่สายพันธุ์บนโลกที่มีวิธีคิดและทักษะการสร้างบ้านเองได้มาตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งเมื่อสองเรื่องว่ากันว่านี่มารวมกันแล้ว เราก็จะพบว่าการที่คิดจะสร้างบ้านเองสักหนึ่งหลังนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องที่เกินฝันในยุคสมัยนี้ ที่เราสามารถหาความรู้ได้เองรอบตัว

และหากเรามีเรื่องที่ต้องรู้เหล่านี้ ไว้ก่อนพร้อมที่จะลงมือสร้างบ้านด้วยนั้นก็จะยิ่งดียิ่งขึ้นไปอีก ดังเรื่องที่เรานำมาฝากดังต่อไปนี้

 

รู้งบประมาณตัวเองว่ามีเท่าไหร่

เรื่องต้องรู้ที่ต้องรู้ที่สุดในการจะสร้างบ้านเองก็คือ ‘รู้งบประมาณตัวเอง’ นั่นเอง เพราะเวลาที่เราเริ่มคิดจะมีบ้านเป็นของตัวเอง ภาพบ้านสวยๆ ในฝันของเรามักพุ่งเข้าแทรกจนทำให้เราลืมความเป็นจริงได้ง่ายดาย

การรู้งบประมาณตัวเองว่าเรามีกำลังทรัพย์จริงๆ เท่าไหร่แค่ไหน ต้องยืมช่องทางไหนมาจ่าย จะช่วยให้เราเห็นความเป็นจริงเกี่ยวกับการมีบ้านมากขึ้น เวลาบอกช่าง บอกเพื่อน บอกใคร ว่าเรามีงบแค่นี้แค่ไหน จะช่วยให้เราสร้างบ้านได้ง่ายและไม่ต้องมาย้อนแก้ไขในส่วนที่ไม่จำเป็นนั่นเอง

รู้ลำดับขั้นตอนการสร้างบ้านจากต้นจนจบ

การสร้างบ้านให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมอยู่อาศัยได้นั้น เราอาจจะไม่รู้ว่ามันมีขั้นตอนที่ไม่น้อยเลย แล้วอาจจะลากกันเป็นปีๆ ถ้าเราไม่รู้ขอบเขตและขั้นตอนการก่อสร้างเลย

โดยลำดับขั้นตอนสร้างบ้านตั้งแต่ต้นจนจบส่วนมากจะมี 10 ขั้น เริ่มต้นที่ 1. คิดออกแบบบ้านในฝัน 2. ติดต่อหาช่างหรือผู้รับเหมา 3. เริ่มงานก่อสร้าง 4. งานก่อสร้างฐานราก 5.

สยโครงสร้าง 6. งานผนังประตูหน้าต่าง 7. งานตกแต่งผิวและฝ้าเพดาน 8. งานไฟฟ้าและสุขาภิบาล 9. งานเฟอร์นิเจอร์และภายใน 10. พักงานและพักอาศัย

เมื่อรู้ลำดับประมาณนี้แล้ว ให้เราค่อยๆ ทำหน้าที่ทีละขั้นตอนอย่างไม่ข้ามไปมา

 

รู้จักช่างที่ดีไม่หนีงาน

เรื่องต่อมาที่ต้องรู้ก็คือ รู้จักช่างหรือผู้รับเหมาที่ดีและไม่หนีงาน

ถึงแม้ว่าเราจะเลือกที่จะสร้างบ้านเองและไม่ต้องพึ่งพาใครก็ตาม แต่สุดท้ายยังไงเราก็ต้องมีแรงงานที่ช่วยประกอบฝันให้เป็นจริง ซึ่งนั่นก็คือช่างหรือผู้รับเหมาของเรานี่เอง โดยถ้าเรามีช่างที่รู้จักเป็นการส่วนตัวอยู่แล้วก็จะดีไป ส่วนใครที่ยังไม่รู้จักช่างดีๆ ตอนนี้ก็สามารถหาในโลกออนไลน์ได้ไม่ยากนะ

ซึ่งทริคนึงในการลดงบของช่างได้ดีอันนึงคือ การที่เราทำหน้าที่ในการวิ่งซื้อของและวัสดุเองมาให้ช่างทำงานติดตั้ง ซึ่งจะซื้ออะไรยังไงเท่าไหร่นั้น ให้ตกลงกับช่างกันเองเสียก่อน

 

รู้วิธีการอ่านแบบก่อสร้างขั้นต้น

แม้ว่าการจะสร้างบ้านเองนั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้แบบก่อสร้างที่จริงจังมากนัก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การที่เรารู้วิธีการอ่านแบบก่อสร้างเป็น อ่านแบบแปลนได้ ก็จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจแบบก่อสร้างที่ขีดเขียนจากช่างหรือผู้รับเหมาได้ดี และถกปรึกษาปัญหากันได้ หลังจากได้รูปแบบบ้านที่ต้องการกันแล้ว

โดยวิธีการเรียนรู้เรื่องการอ่านแบบก่อสร้างนั้นไม่ยากครับ ปัจจุบันสามารถเรียนรู้ผ่านออนไลน์ได้ รวมทั้งมีหนังสือสอนอ่านแบบก่อสร้างขายมากมายเลยทีเดียว

 

 รู้จักวัสดุก่อสร้างพื้นฐานที่ร้านวัสดุก่อสร้างใกล้บ้านท่าน

สิ่งที่ต้องรู้ไว้เป็นพื้นฐานเลยก็คือ การรู้จักวัสดุก่อสร้างขั้นพื้นฐาน เราจำต้องดูให้ออกว่า อันนี้คือโครงสร้างจากวัสดุเหล็ก ผนังอันนี้เกิดจากการก่ออิฐ พื้นนี้ใช้ปูนซีเมนต์ลาดแล้วขัดมันเงา กระเบื้องนั้นอันนี้ปูพื้นอันนั้นปูผนัง ซึ่งวิธีง่ายๆ ในการทำความรู้จักวัสดุต่างๆ ให้เราลองไปเดินเล่นที่ร้านวัสดุก่อสร้างหรือโชว์รูมวัสดุใกล้บ้านท่าน และลองเรียกใช้พนักงานมาให้ข้อมูลดู นอกจากจะได้เห็นวัสดุของจริงแล้วเรายังได้รู้ตำแหน่งร้านค้าเพื่อที่ขับรถไปซื้อวัสดุให้ช่างได้อีกด้วย

ทั้งหมดทั้งมวล เมื่อเรารู้สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านเองแล้วเราก็จะพบว่า แม้เราจะศึกษาหาความรู้ดังที่นำมาแชร์ได้เองก็ตาม ถึงอย่างไรนั้นการลงทุนเรื่องบ้านก็มีความเสี่ยง ยังไงขอให้เราเตรียมพร้อมให้มาก หรือไม่ก็ใช้บริการผู้เชี่ยวชาญเรื่องบ้านๆ มาดูแลอย่างเช่นสถาปนิกหรือวิศวกรน้า

Writer Profile : Chatchavan Suwansawat
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save