category ภัยร้ายในช่องปาก '6 โรคอันตราย' ที่เกิดขึ้นได้ หากไม่ดูแล

Writer : nardpradabt

: 26 ตุลาคม 2561

ในแต่ละวัน อวัยวะที่เราใช้งานบ่อยมากที่สุดตั้งแต่เช้ายันก่อนเข้านอนก็คือ ปากและฟัน ซึ่งหากไม่มีการดูแลรักษาที่ถูกวิธี โอกาสที่ช่องปากจะเกิดโรคจนทำให้เสียสุขภาพในช่องปากและเสียบุคลิกเกิดขึ้นได้ การดูแลช่องปากและฟันที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราต้องดูแล

การดูแลช่องปากและฟัน เป็นสิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หากเราละเลยโอกาสที่จะเกิดโรคต่างๆ ตามมา…นี่คือสิ่งที่ควรจะรู้ พร้อมกับวิธีดูแลรักษาเพื่อให้ช่องปาก เหงือก และฟันของเราสุขภาพแข็งแรงตลอดไป มีฟันใช้ไปนานๆ ~~

ฟันผุ

ฟันผุ เป็นโรคฮิตที่ใครๆ ก็เป็นกัน เพราะว่าเป็นง่ายมาก เพราะสาเหตุของเกิดฟันผุนั้นมาจากการเนื้อฟันของเรามีเศษอาหารตกค้างอยู่เพราะแปรงฟันไม่สะอาด หรือแปรงฟันไม่ถูกวิธี พอแบคทีเรียที่มาจากเศษอาหารผสมกับน้ำลายค้างอยู่ในปากเราไปเรื่อยๆ จากแบคทีเรียธรรมดา ก็อีโวลูชั่นแปลงร่างกลายเป็นแบคทีเรียตัวใหม่

ที่มีสภาพเป็นกรดมีฤทธิ์ทำลายเนื้อฟัน กัดกร่อนฟันเราจนเป็นรู ทำให้ปวดฟัน เสียวฟัน และมีกลิ่นปากตามมา หากไม่รักษาฟันผุธรรมดาๆ รักษาง่ายๆ ด้วยการอุดฟันไม่กี่ร้อยบาท จะลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน เกิดการติดเชื้อปวดจนทนไม่ไหว อาจต้องถอนฟัน หรือรักษารากฟันแทน ซึ่งราคารักษาค่ารักษารากฟันก็แพงมาก จนเรารู้สึกอยากจะนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปบอกตัวเองว่า แปรงฟันให้สะอาดเดี๋ยวนี้!

วิธีป้องกัน

กินอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน หลีกเลี่ยงอาหารหวานที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ ที่สำคัญคือการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยการแปรงฟันที่ถูกวิธี และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากที่มีคุณภาพ สามารถลดการสะสมของคราบพลัคและแบคทีเรียสะสมได้

ฟันร้าว

ฟันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความแข็งแกร่งมากเหมือนค้อนธอร์ แต่ค้อนธอร์ยังพังทลายได้แล้วนับประสาอะไรกับฟันของเรา ฟันร้าวเป็นอาการบาดเจ็บของฟันที่มีโอกาสเกิดได้ทุกคน อาจเกิดขึ้นบนผิวฟันที่มองเห็น หรือไม่สามารถมองเห็นแต่รู้สึกได้จากอาการ ‘เสียวฟัน’ เช่นเวลากินอาหารช่วงที่เคี้ยวอย่างอร่อย จู่ๆ อาจจะเกิดอาการเสียวแว้บบบบบขึ้นมาขัดจังหวะความอร่อยได้

หรือตอนที่ดื่มเครื่องดื่มเย็นจัดก็อาจจะเกิดอาการเสียวฟันตามมาด้วย กลายเป็นว่าจากเดิมที่เคยกินชาไข่มุกอย่างอร่อย ก็อาจจะกลายเป็นกินชาไข่มุกด้วยความทรมาน และโรคฟันร้าวมีโอกาสอีโวลูชั่นพัฒนาร่างกลายเป็นฟันผุด้วย เพราะ มีเศษอาหารอุดในรอยฟันที่ร้าว เรียกได้ว่าซวยซ้ำซ้อนฟันร้าว 1 ครั้ง แถมฟันผุมาด้วย! คุ้ม (…ตรงไหนวะ!)

วิธีป้องกัน

ความรู้สึกของคนเราเมื่อเกิดรอยร้าวแล้วก็ยากจะประสานกลับมาให้แข็งแรงใหม่ได้ แต่ฟันร้าวดูแลรักษาและป้องกันได้ด้วยการ หลีกเลี่ยงการกัดของแข็งเกินกว่าที่ฟันจะรับไหว หรือแม้แต่กัดน้ำแข็ง กัดลูกอม ถ้าเกิดบังเอิญซวยพอดี ฟันดีๆ ก็มีโอกาสร้าวได้ดังนั้นไม่จำเป็นอย่ากัดของแข็ง ส่วนวิธีการรักษาอาการฟันร้าวก็มีทั้ง การอุดฟัน การทำครอบฟัน หรือ การรักษาคลองรากฟัน

โพรงประสาทฟันอักเสบ

ขั้นกว่าของความปวดฟัน คืออาการปวดฟันที่โพรงประสาทฟัน ซึ่งเกิดจาก ฟันผุระดับรุนแรงมาก , ฟันแตกหักถึงโพรงประสาทฟัน หรือ ฟันไม่หักแต่ไม่สามารถซ่อมแซมได้แล้ว (แย่แล้วววว) ซึ่งการที่ฟันเราบาดเจ็บอยู่แล้ว พอโดนกระแทกเข้าไปบ่อยๆ ย้ำๆ จนโพรงประสาทช้ำเจียนตาย แต่เจ้าของฟันก็ยังไม่ยอมไปหาหมอ (…จะทนเพื่อ?)

พอเจ็บบ่อยๆ มันจะไม่ค่อยชิน เหมือนเนื้อเพลงบางเพลงน่ะสิ แต่พอเจ็บบ่อยๆ โดนกระแทกมากๆ เข้าโพรงประสาทฟันจะเกิดอาการติดเชื้อหรือหนักกว่านั้นคือประสาทฟันตายไปเลย ถ้าปล่อยไว้ไม่สนใจอีกจะทำให้เกิดการอักเสบ มีหนองที่รากฟัน (อันนี้น่ากลัวมาก) ฟันซี่อื่นที่อยู่เฉยๆ ก็ไม่รอดมีโอกาสติดเชื้อไปด้วยอี๊ก! ทำให้ปวดฟันมาก ดังนั้นจำไว้เลยว่าถ้าเป็นโรคนี้ห้ามปล่อยไว้เด็ดขาดเพราะฟันจะไม่พังแค่ซี่เดียวแต่จะไปทั้งแผง

วิธีป้องกัน

แต่ก่อนถ้าเกิดอาการฟันอักเสบมากๆ หรือ ฟันตาย วิธีรักษามีแค่ทางเดียวเท่านั้นคือถอนฟันออกไปเลยจ้า~~ แต่ปัจจุบันโลกไม่ได้โหดร้ายเกินไป แต่ใช้วิธีการรักษารากฟัน…ซึ่งใช้เวลานานในการรักษา และแพง! เพื่อให้ฟันกลับมาเป็นปกติ ถ้าไม่อยากเจ็บตัวและเปลืองตังค์ ก็เก็บเงินไว้ แล้วดูแลเหงือกและฟันให้ดี ป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุ ฟันร้าว ฟันหัก หรืออกหัก (เดี๋ยว!) และเมื่อเกิดอาการปวด หรือเจอความผิดปกติในช่องปากและฟัน หาหมอเลย อย่าเสิร์ช google

เหงือกอักเสบ

ใครว่าเหงือกไม่สำคัญ เป็นอีกหนึ่งโรคที่คนไทยหลายคนเป็นกันแต่บางคนไม่รู้ตัวว่า อ้าว…ฉันเป็นโรคเหงือกอักเสบด้วยเหรอ วิธีสังเกตว่าเราเหงือกอักเสบไหมก็คือถ้าพบว่าเหงือกบวมแดง เลือดออกง่ายตอนแปรงฟัน มีกลิ่นปาก จนฟันโยก ฟันหลุด มีโอกาสสูงมากที่จะเป็น ‘โรคเหงือกอักเสบ’ แล้ว ไม่นะ!

โรคเหงือกอักเสบ นั้นเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากคราบพลัค (หรือแปลง่ายๆ คือ…คราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน) การอักเสบติดเชื้อของเหงือก ส่งผลต่อกระดูกฟันและเหงือก จึงทำให้ฟันโยก ฟันหลุดนั้นเอง แต่ไม่ต้องกลัว โรคนี้ถ้าตรวจพบได้เร็วจะสามารถรักษาให้เหงือกแข็งแรงตามเดิมได้

วิธีป้องกัน

ดูแลเหงือกและฟันให้ดี แปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธี ใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม พร้อมกับใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคราบพลัค และ หินปูน , พบหมอฟันทุกๆ 6 – 12 เดือนเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและขูดหินปูน , ไม่สูบบุหรี่ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดคราบพลัคบนผิวฟันของเรา ถ้าไม่ได้รักษาสามารถนำไปสู่โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบสุดท้ายแล้วตามด้วยถอนฟัน

โรคปริทันต์ หรือ เยื่อหุ้มฟันอักเสบ

ใครที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ มักมีโอกาสเป็นโรคปริทันต์ (โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบนั่นเอง) เพราะโรคนี้เป็นร่างสองของโรคเหงือกอักเสบนั่นแหละ อาการอักเสบจะลุกลามไปถึงรากฟัน จนทำให้เกิดร่องระหว่างเหงือกและฟันมากขึ้นเรื่อยๆ มาจากคราบหินปูนและคราบพลัคตัวร้าย ลุกลามไปถึงรากฟัน ทำให้เกิดฟันโยก ฟันหลุดตามมา ไม่สามารถกำจัดคราบเหล่านั้นได้เอง

ต้องให้หมอฟันทำความสะอาดถึงรากฟัน คราบต่างๆ ถึงจะหมดไป การทำความสะอาดรากฟัน เป็นขั้นตอนที่ยากและใช้เวลาอย่างมาก ต้องทำหลายครั้ง ถ้ามีมากกว่าหนึ่งซี่ อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และหินปูน (โห้ว…) ลดความลึกของร่องเหงือก เพื่อให้เหงือกทำหน้าที่ยึดเกาะฟันได้เหมือนเดิม

วิธีป้องกัน

ดูแลฟันและเหงือกอย่างสม่ำเสมอห้ามเนียน และแปรงฟันให้ถูกวิธี ใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันที่ดีมีคุณภาพ ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปาก เพื่อลดการสะสมของเศษอาหาร แบคทีเรีย คราบพลัคและหินปูน และ พบหมอฟันเพื่อตรวจสุขภาพของช่องปากทุกๆ  6 – 12 เดือน

เหงือกร่น

ลองยิ้มให้ตัวเองหน้ากระจก ฉีกยิ้มกว้างๆ แล้วลองดูสิว่าฟันของคุณยาวขึ้นกว่าเดิมไหม ถ้ายาวขึ้น ไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน เพราะฟันไม่ใช่ผมที่จะยาวได้เอง แต่นั่นคืออาการเหงือกร่น! ซึ่งเกิดจากการแปรงฟันผิดวิธี ถูไปมาในแนวนอน (แบบที่ชอบแปรงกันนั้นแหละ…) , เกิดจากโรคปริทันต์อักเสบ , การดูแลรักษาฟันไม่ดีพอ และ สูบบุหรี่ทำให้เกิดคราบพลัค จนเหงือกอักเสบ และ เหงือกร่นในที่สุด

พอเหงือกร่น ก็เลยสัมผัสเชื้อแบคทีเรียในปากได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และคราบหินปูน ปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ฟันเสื่อม และฟันร่วงได้ถ้าไม่ดูแล

วิธีการป้องกัน

ขูดหินปูนเป็นประจำทุกๆ 3 – 6 เดือน เพราะ หินปูนเป็นต้นเหตุให้เหงือกร่น ปล่อยไว้จะเกิดการสะสมยิ่งทำให้เหงือกร่นกว่าเดิม , แปรงฟันให้ถูกวิธีคือแปรงจากบนลงล่าง (นึกถึงตอนสมัยอนุบาลที่ครูเคยสอนไว้) ใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม พร้อมใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียและลดคราบพลัค , ไม่สูบบุหรี่ และ เลี่ยงการใช้ไม่จิ้มฟัน เพราะทำให้ฟันห่าง

ความสำคัญของร่องเหงือก

โดยสรุปแล้วโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่องปากนั้น 99% เกิดขึ้นจากการดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดีพอ (ส่วนอีก 1% มาจากความซวย) และจุดสำคัญที่สุดเป็นจุดละเอียดอ่อนมากๆ ในช่องปากก็คือ ‘ร่องเหงือก’ (Sulcus) เป็นร่องเล็กๆ ที่อยู่บริเวณระหว่างเหงือกและฟันที่ทำความสะอาดและเข้าถึงได้ยากมาก พอทำความสะอาดได้ยาก จึงเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ในช่องปาก

ถ้าดูแลรักษาไม่สะอาดเพียงพอ ปัญหาในช่องปากต่างๆ จะตามมามากมาย เช่น โรคเหงือก ฟันผุ ปริทันต์ เป็นต้น ดังนั้นซอกเล็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ถ้าไม่ดูแลรักษา ปัญหาจะตามมาภายหลัง การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มจากการดูแลลึกตั้งแต่ร่องเหงือก พร้อมกับแปรงสีฟันที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำความสะอาดให้ดียิ่งขึ้น

เพื่อดูแลสุขภาพของร่องเหงือกที่ดี จึงควรเลือกแปรงสีฟันที่ดี นั่นคือ! ‘แปรงสีฟัน Systema All Clean’ ที่สะอาดครบ จบในด้ามเดียว กับนวัตกรรมแปรงสีฟันเพื่อทุกช่องปาก ผนึกพลัง ขนแปรง 4D ที่มาพร้อมกับ 4 ประสิทธิภาพความสะอาด ดูแลช่องปากอย่างทั่วถึง ดูแลลึกถึงร่องเหงือก (Gum Pocket Care) มาพร้อมกับด้ามจับให้จับกระชับมือ ไม่หลุดลื่น ด้วย ปุ่มล็อกนิ้ว กันลื่น ควบคุมทิศทางการแปรงให้ดีขึ้น เพื่อการแปรงฟันที่ดีขึ้น

  • ขนแปรง Spiral ปลายเรียวแหลมพิเศษซอกซอนสะอาดลึกถึงฟันกราม 4 ซี่ในสุด
  • ขนแปรง Extra Spiral พลังกำจัดคราบพลัคระหว่างซี่ฟัน
  • ขนแปรง Tri-Clean รอบนอกทำความสะอาดเหงือกอย่างอ่อนโยน
  • ขนแปรง Soft & Silm ปลายเรียวแหลมชนิดสั้น หนาแน่นยิ่งขึ้น เพิ่มพลังขจัดคราบบนผิวฟัน

สะอาดครบ จบในด้ามเดียว นวัตกรรมแปรงสีฟัน Systema All Clean เพื่อการดูแลที่พิเศษสำหรับทุกช่องปาก ราคาด้ามละ 85 บาท หาซื้อได้ที่ TOPS / Foodland / Tesco Lotus และ ร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ

#MangozeroXSystema

เลือกแปรงสีฟันที่มีคุณสมบัติดูแลช่องปากให้สะอาด สุขภาพดี -> แปรงสีฟันที่ทำความสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพ

Writer Profile : nardpradabt
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save