category มารู้จักกับพะยูนน้อย "มาเรียม" ขวัญใจแห่งท้องทะเล

Writer : Patta.pond

: 12 มิถุนายน 2562

“มาเรียม” พะยูนน้อยพลัดหลงกับแม่ที่กระบี่ ติดเรือคายัคสีส้ม และเกยตื้นชายหาดอยู่บ่อยครั้ง เพราะมักเผลอหลับลึกจนว่ายไม่ทันน้ำทะเลลง จนเจ้าหน้าที่ฯ และอาสาสมัครต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยมีกองเชียร์โซเชียลให้กำลังใจอย่างท่วมท้น เด็กน้อยตัวนี้มาจากไหน วีรกรรมความน่ารักมีอะไรบ้าง วันนี้ Mango Zero จะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับพะยูนน้อยให้มากขึ้น

มาเรียม “ผู้หญิงที่มีความสง่างามแห่งท้องทะเล”

  • อายุหกเดือน เพศเมีย พลัดหลงกับแม่ที่และมาเกยตื้นที่ จังหวัดกระบี่ ต่อมาถูกย้ายไปบริเวณบ้านแหลมจูโหย อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
  • ชื่อมาเรียม แปลว่า “ผู้หญิงที่มีความสง่างามแห่งท้องทะเล”
  • ต้องอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ (ผู้ประสานงานและอาสาสมัครจากกลุ่ม ThaiWhales) อย่างน้อยหกเดือน ก่อนจะปล่อยกลับธรรมชาติ
  • อาหารของมาเรียมคือ นมสูตรพิเศษ ทำจากนมแพะ ไม่มีน้ำตาล ผสมวิตามินที่จำเป็นสำหรับลูกพะยูน และกำลังฝึกกินหญ้าทะเล
  • ชอบว่ายน้ำกับ “แม่ส้ม” (เรือคายัคสีส้ม) และอยู่กับ “หินแม่” หินก้อนประจำระหว่างรอป้อนนม
  • มักนอนตรงซอกหินและหลับลึกจนน้ำทะเลลงแล้วไม่รู้สึกตัว จนเกยตื้นอยู่บ่อยครั้ง จึงต้องมีเจ้าหน้าที่จัดเวรยามตลอด 24 ชั่วโมง

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับญาติของมาเรียม

  • เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีอายุเฉลี่ย 70 ปี น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 300 กิโลกรัม  หากินในเวลากลางวัน อาหารหลักคือ “หญ้าทะเล”
  • เวลานอนจะทิ้งตัวลงในแนวดิ่ง และนอนอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นทะเลราว 20 นาที ก่อนจะขึ้นมาหายใจอีกครั้งหนึ่ง
  • ในประเทศไทย มีพะยูนพี่น้องมาเรียมประมาณ 200 ตัว และได้รับการคาดการณ์ว่า หากพะยูนในน่านน้ำไทยตายปีละ 5 ตัว พะยูนจะหมดไปภายใน 60 ปี
  • เพราะความเชื่อเรื่องประโยชน์ของอวัยวะต่างๆ ของพะยูน จึงเกิดการล่าจนพะยูนมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก จนกระทั่งได้รับประกาศให้เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวนคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือไซเตส (CITES) เป็นสัตว์ที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้น เพื่อการศึกษาวิจัย และเพาะพันธุ์เท่านั้น

เรื่องราวของเจ้ามาเรียมตัวน้อย นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะปลุกกระแสอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและรักษาท้องทะเลซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำให้มากขึ้น ไม่ต้องถึงขั้นเข้าไปเป็นอาสาสมัครหรือเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานฯ ก็ได้ เพียงแค่ลดการใช้ขยะพลาสติก หรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ก็มากพอที่จะทำให้โลกดีขึ้นได้ เพราะโลกไม่ได้เป็นของเราแค่คนเดียว จริงไหม

ที่มา : Wikipedia, National Geographic 

Writer Profile : Patta.pond
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save