เล่นกีฬายังไงไม่ให้เจ็บ แต่เล่นแล้วร่างกายฟิต แถมประสิทธิภาพยังเยี่ยม

Writer : Sam Ponsan

: 13 มิถุนายน 2561

review-vo2max--new-cover-new-5

อาการบาดเจ็บคือฝันร้ายที่นักกีฬาที่ไม่ว่าจะมืออาชีพ หรือมือสมัครเล่นกลัว เพราะเมื่อบาดเจ็บแล้ว โอกาสที่จะกลับมาเล่นกีฬาอีกครั้งไม่ง่ายเลย หรืออาจจะต้องยุติการเป็นนักกีฬามืออาชีพไปเลย แต่…อาการบาดเจ็บของเหล่านักกีฬานั้นสามารถป้องกัน โดยการเตรียมร่างกายให้พร้อม รู้จักการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา 

ซึ่งหากเกิดเหตุสุดวิสัยไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บได้ การรักษาและฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาฟิต 100% นั้นก็เป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตามกว่าร่างกายจะเดินทางไปถึงคำว่าบาดเจ็บ และจบที่การผ่าตัด ทุกอย่างสามารถดูแลได้ตั้งแต่ต้นเหตุไปจนถึงปลายเหตุ ด้วยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลสมิติเวช สามารถตอบโจทย์ของปัญหาต่างๆ ของนักกีฬาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นได้เป็นอย่างดี

review-vo2max-22

ด้วยความพร้อมของทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาและนักกายภาพบำบัด รวมถึงเครื่องมือที่ทันสมัยรองรับทุกขั้นตอน ตั้งแต่ ป้องกัน – รักษา – และฟื้นฟู ซึ่งรายละเอียดการให้บริการนั้นมีเรื่องใดบ้าง เราจะเล่าให้ฟัง

‘ป้องกัน’ อาการบาดเจ็บของนักกีฬา 

review-vo2max-1

วิธีทื่ทำให้นักกีฬาไม่บาดเจ็บคือ ‘อย่าบาดเจ็บ’ พูดเหมือนง่าย แต่จริงๆ แล้วสามารถทำได้โดยการเช็คสมรรถภาพให้พร้อมรับมือกับการเล่นกีฬาให้ดีที่สุด วิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะในนักกีฬาที่เน้นเรื่อง Performance ที่ต้องการรู้สภาพความฟิตของตัวเอง

รู้สมรรถภาพการทำงานของปอดและหัวใจคือการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Gas Analyzer ในเครื่อง Cardio Pulmonary Exercise Test (CPET) ในการวัดค่าต่าง ๆ อย่างละเอียด เช่น ค่า VO2Max เพื่อตอบข้อสงสัยที่นักปั่น นักวิ่ง และนักกีฬาทั้งหลายในเรื่องเหล่านี้

review-vo2max-5

VO2Max เป็นเครื่องวัดระดับความฟิตหรือความอึดของร่างกาย แล้วนำข้อมูลมาช่วยเพิ่มศักยภาพของนักกีฬาให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยวิธีการวัดสองแบบคือ วิ่งบนเครื่อง Treadmill หรือปั่นจักรยานโดยคำนวณจากการทำงานของหัวใจ และปอดอย่างละเอียดเพื่อหาจุดที่เราใช้ออกซิเจนสูงสุดในการออกกำลังกายเมื่อร่างกายถึงจุดพีค

โดยจะประมวลผลจากการวัดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ออกซิเจนของร่างกายว่าร่างกายของเรามีความสามารถที่จะดึงออกซิเจนจากเลือดส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อใช้เผาผลาญสารอาหารแล้วนำมาเป็นพลังงานได้สูงสุดมากแค่ไหน เพื่อหาจุดที่สูงสุดที่ร่างกายออกแรงได้เมื่อถึงขีดจำกัด

เช่น ปกติคุณวิ่งวันละ 1 ชั่วโมงความเร็วเฉลี่ย 1 กิโลเมตรต่อ 6 นาที แต่จริงๆ แล้วคุณอาจไม่รู้เลยว่าศักยภาพการทำงานของปอด หัวใจ และความสามารถในการดึงออกซิเจนจากเลือดไปกล้ามเนื้อเพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในร่างกายนั้น คุณยังสามารถที่จะวิ่งได้เร็วกว่านี้ อึดกว่านี้ และนานกว่านี้อีก การทดสอบด้วย VO2Max จะตอบคุณได้ผ่านกระบวนการทดสอบที่ลงลึกไปถึงระดับเซลล์ว่าคุณจะไปต่อได้อีกถึงระดับไหน

review-vo2max-8

(นพ.สุรเมศวร์ ศิริจารุวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.สมิติเวช สุขุมวิท)

ขั้นตอนการทดสอบ 

review-vo2max-6

  • แพทย์จะทำการวัด BMI เพื่อตรวจสอบค่าต่างๆ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง ไขมัน และอื่นๆ ในเบื้องต้น
  • เลือกไซส์หน้ากากที่เราต้องใส่ตลอดการวิ่งเพื่อวัดค่าการหายใจ หน้ากากจะต้องใส่แล้วพอดีห้ามหลวมเพื่อป้องกันลมหายใจรั่วออก
  • ติดอุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับร่างกายเพื่อวัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจควบคู่กัน
  • เริ่มทำการทดสอบโดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ขณะยืนพักนิ่งๆบนสายพานหรือนั่งพักนิ่งๆบนจักรยานเป็นเวลา 3 นาที หลังจากนั้นให้เริ่มเดินเร็ว วิ่งเบาๆ หรือปั่นจักรยานแบบไร้แรงต้าน (วอร์มอัพ) อีก 3 นาที
  • จากนั้นจะเริ่มเพิ่มความเร็วและความชันไปเรื่อยๆ และเรื่อยๆ จนกระทั่งเราไม่ไหว (หากเป็นจักรยานก็จะต้องปั่นหนักขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน) ซึ่งผมไปสุดที่ความเร็วระดับเพซ 4 (เมื่อเทียบมาเป็นความเร็วของการวิ่งบนพื้นราบ) ก็ยกมือส่งสัญญาณว่า “ไม่ไหวแล้วววววววว” หมอจึงกดหยุดเครื่องเพื่อคูลดาวน์เราอีก 5 นาที
  • ระหว่างที่ทดสอบหมอจะดูผลร่างกายเราแบบเรียลไทม์ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัย และเพื่อกระตุ้นกรณีที่ร่างกายเรายังไปได้ต่อ แต่ใจไม่ไหวแล้ว หมอจะรีดเราจนกว่าจะไปถึงขีดจำกัดที่ร่างกายจะรับไหว หลังจากทะลุขีดจำกัดปุ๊บ ถึงค่อยยกเลิกการทดสอบ

 VO2Max บอกอะไรบ้าง 

review-vo2max-11

  • บอกระดับความพีคของการใช้ออกซิเจนสูงสุดต่อหนึ่งนาทียิ่งอัดออกซิเจนเข้าร่างกายได้เยอะ ความอึดก็ยิ่งเยอะตามไปด้วย
  • บอกระดับฮาร์ทเรทสูงสุดที่ร่างกายจะชนเพดาน หากรู้จุดสูงสุดที่หัวใจทำงานได้มากที่สุดและรับไหวก็จะวางแผนเรื่องการพัฒนาร่างกายต่อได้ง่ายขึ้น 
  • เครื่อง VO2Max จะบอกได้ว่าเราใช้แหล่งพลังงานใดในร่างกายระหว่างที่ออกกำลังกาย ซึ่งแหล่งพลังงานหลัก ๆ ในร่างกายมีสองอย่างคือแป้ง กับไขมันโดยวัดจากฮาร์ทเรทว่าโซนไหนใช้พลังงานใด ทั้งนี้เราสามารถฝึกร่างกายให้ดึงไขมันไปใช้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยการพยายามฝึกให้ร่างกายเคยชินกับโซน 2 และ โซน 3 บ่อยๆ ซึ่งหากเราต้องการเน้นความทนทานในการวิ่ง (วิ่งระยะทางไกลๆ) ก็ควรเลือกแหล่งพลังงานให้เหมาะสม คือฝึกให้ร่างกายดึงไขมันมาใช้ในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นและยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • บอกค่า Ventilatory threshold หรือที่คุ้นเคยกันมากกว่ากับค่า Lactate threshold กรดที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการเหนื่อยจนไปต่อไม่ไหว VO2Max ทำให้เราเห็น จุดเปลี่ยนของการหายใจที่สำคัญทั้ง 2 จุด ซึ่งเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของระดับกรดแลคติกในเลือดที่ เพิ่มสูงขึ้นในสองช่วงเวลา ซึ่งทำให้รู้ว่าร่างกายเราจะทนทานที่ระดับไหนบ้าง (aerobic & anaerobic endurance) โดยช่วงแรกเป็นการบอกว่าร่างกายจะเริ่มใช้ไขมันลดลง และจะเริ่มใช้แป้งมาเป็นพลังงานในสัดส่วนมากขึ้น ส่วนช่วงที่สองเป็นช่วงที่ร่างกายทำงานหนัก ระดับกรดแลคติกในเลือดจะเริ่มพุ่งสูงขึ้น ทำให้ระบบการหายใจต้องปรับตัวด้วยการเริ่มหายใจถี่ขึ้น หอบเหนื่อยมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดที่ร่างกายยังไปต่อได้ แต่อาจจะเริ่มหายใจลำบาก

VO2Max เหมาะกับใคร 

review-vo2max-12

  • นักกีฬาที่เน้นประสิทธิภาพของร่างกายสูงๆ อย่างเช่นนักกีฬาที่ต้องวิ่งสปีดเร็วๆ หยุดๆ สลับไปมา ไม่ได้ออกแรงอย่างต่อเนื่อง เช่นนักฟุตบอล นักเทนนิส นักแบดมินตันหรือนักบาสฯ เป็นต้น การรู้เรื่องการควบคุมร่างกายอย่างไรไม่ให้กรดแลคติกสูงขึ้นจนทำให้ร่างกายเหนื่อย จะทำให้ได้เปรียบเวลาฝึกฝนร่างกายให้ชินกับการออกแรงเยอะๆ และนานๆ
  • นักกีฬาที่เน้นความทนทาน เช่นนักวิ่งทั่วๆไป นักวิ่งระยะกลางหรือนักวิ่งมาราธอน นักไตรกีฬา จะได้รู้ว่าจุดไหนที่ศักยภาพของร่างกายตัวเองยังคงพัฒนาได้อีกเพื่อความเร็วที่เพิ่มขึ้น ความทนทานที่เพิ่มขึ้น
  • นักกีฬาสมัครเล่นทั่วไปจะได้รู้เรื่องการเผาผลาญของร่างกายตัวเองเพื่อออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รีดไขมันออกมาได้มากที่สุด
  • ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ข้อมูลเหล่านี้สามารถเอาไปวางตารางฝึกซ้อมร่างกายได้ทั้งหมด

ไม่เพียงแค่  VO2Max เท่านั้นที่ช่วยเรื่องความฟิต ยังมี Isokinetic test ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้วัดกำลังของกล้ามเนื้อรอบหัวเข่า หรือ ใช้สำหรับฝึกกล้ามเนื้อด้วยการควบคุมความเร็วให้คงที่

อันจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและข้อต่อขณะฝึกน้อยกว่าการฝึกด้วยเครื่องออกกำลังทั่วไปตามฟิตเนสเซ็นเตอร์ปกติ ดังนั้นคนทั่วไป นักกีฬา หรือคนป่วยที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่าก็สามารถมาเช็คได้ว่าเราอยู่ในระดับไหน

review-vo2max-14

โดยกระบวนการป้องกัน และเช็คสภาพความแข็งแรงนั้นจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่อยให้คำปรึกษาดูแลในทุกด้านตั้งแต่เริ่มต้น จนจบการตรวจเช็ค ดังนั้นหากรู้ก่อนว่าสภาพร่างกายไหวแค่ไหน หรือไปต่อได้ในระดับไหน

review-vo2max-19

เมื่อประเมินแล้วไม่มีความเสี่ยง อาการบาดเจ็บก็ไม่มารบกวนแต่หากเตรียมตัวดีแล้วยังเกิดอาการบาดเจ็บ ก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องมารักษา เพราะการปล่อยทิ้งไว้อาจจะยิ่งทำให้อาการบาดเจ็บนั้นแย่ลงได้

‘รักษา’ อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

review-vo2max-13

นักกีฬามักมาคู่กับอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวกับเอ็น กล้ามเนื้อ หรือข้อต่อ ทว่าหลายอาการแค่หยุดพัก ทายาหรือกินยา หรือทำกายภาพบำบัด ก็อาจจะเพียงพอแล้ว ดังนั้นไม่ใช่ว่าเจ็บปุ๊บมาหาหมอแล้วจะต้องผ่าตัดเลย

ไม่ต้องกลัวการมาพบหมอแต่การมาพบหมอนั้นจะช่วยให้เรารู้สาเหตุของอาการบาดเจ็บว่าเจ็บตรงไหนต้องรักษาอย่างไร รักษาได้ถูกก็ยิ่งหายไว กลับไปเล่นกีฬาได้ไว จำไว้ว่าการผ่าตัดคือทางเลือกสุดท้ายที่คุณหมอจะทำ  และจะทำในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น

กรณีที่เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณข้อต่อ เส้นเข็น หัวเข่า หรือจุดอื่นๆ แล้วต้องผ่าตัด มีวิธีไหนบ้างที่จะรักษาแล้วเจ็บน้อย แผลเล็ก แต่หายไว ฟื้นตัวเร็ว?

review-vo2max-18

มี! โรงพยาบาลสมิติเวช มีเทคโนโลยีการผ่าตัดที่เรียกว่า ‘Arthroscope’ หรือการผ่าตัดส่องกล้อง ที่ล้ำมาก ความน่าสนใจของการรักษาอาการบาดเจ็บด้วยวิธีนี้คือ

  • การผ่าตัดชนิดนี้คือการใช้กล้องส่องเข้าไปในร่างกายด้วยการเปิดแผลเพียง 1 ซม. ก่อนจะสอดกล้องเข้าไปในร่างกายเพื่อทำการรักษา
  • ภาพที่ฉายระหว่างผ่าตัดมีความชัดระดับ 4K จึงเห็นรายละเอียดของจุดที่จะรักษาทั้งภาพและสีครบ ต่างจากเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องในอดีตมาก
  • เป็นการผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บที่แผลเล็ก ไม่บอบช้ำมาก และฟื้นตัวพร้อมกลับมาเล่นกีฬาได้ไว ขณะที่ยุคก่อนต้องเปิดแผลขนาดใหญ่ทำให้ฟื้นตัวช้า  ส่วนแผลเป็นแทบจะมองไม่เห็นเลยว่าเคยผ่านการผ่าตัดมาแล้ว
  • การรักษาด้วยวิธีการส่องกล้องเหมาะกับผู้ป่วยที่บาดเจ็บบริเวณผิวข้อกระดูกอ่อน,หมอนรองกระดูกเข่าฉีก เย็บซ่อมแผลภายใน บาดเจ็บที่เอ็นหัวเข่าภายในข้อเช่นเอ็นไขว้หน้า หรือเอ็นไขว้หลัง ล้างข้อที่ติดเชื้อ ไปจนถึงจัดการเศษกระดูกที่แตก 
  • ระยะพักฟื้นที่โรงพยาบาลอยู่ที่ 1 – 2 วัน ส่วนร่างกายจะฟื้นคืนมาเต็มที่อยู่ที่ความหนักของอาการแต่ไม่นานเท่าผ่าตัดใหญ่

review-vo2max-16

(นายแพทย์พีรพัศฆ์ รุจิวิชชญ์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังและข้อ การส่องกล้องข้อเข่าและเวชศาสตร์การกีฬา รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์)

ที่สำคัญคือประสบการณ์และความชำนาญของทีมแพทย์ที่ทำการผ่าตัด ซึ่งที่นี่มีสถิติที่ไม่ธรรมดา รับรองว่าเชื่อใจได้ โดยจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้จากการผ่าตัดผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บจากกีฬามามากกว่า 600 ราย ยังไม่เคยพบการติดเชื้อหลังผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บโรคข้อและเส้นเอ็นด้วยการส่องกล้อง

และด้วยการวินิจฉัยที่แม่นยำ ทำให้ไม่พบเคสที่ต้องเปลี่ยนจากการผ่าตัดแบบส่องกล้องไปเป็นการผ่าตัดแบบเปิดแผล  ทำให้มั่นใจได้ว่าหากบาดเจ็บและต้องลงเอยด้วยการผ่าตัด ที่นี่คือทางเลือกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

‘ฟื้นฟู’ ร่างกายหลังบาดเจ็บ

หลังการบาดเจ็บ สิ่งหนึ่งที่คนไข้ควรทำคือการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาใช้งานได้ 100% หากดูแลผิดวิธีโอกาสที่จะกลับมาก็ยาก การดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์สูงในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ที่ช่วย ให้คำแนะนำเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายให้สมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง 

พร้อมด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ช่วยในการฟื้นฟู เช่น ลู่วิ่ง จักรยานสำหรับออกกำลังกาย และเครื่องสำหรับทดสอบสมรรถภาพทางกายประเภทต่างๆ เครื่องออกกำลังกายโดยพยุงส่วนต่างๆของร่างกายที่เรียกว่า Redcord เพื่อกระตุ้นระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการปวดเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างปกติและสมดุล

และจุดเด่นของที่นี่คือธาราบำบัด หรือ Aquatic therapy หนึ่งในวิธีการฟื้นฟูร่างกายของนักกีฬาที่ใช้น้ำช่วยฟื้นฟู ผ่านการฝึกเดินหรือลงน้ำหนักในสระน้ำเพื่อให้น้ำช่วยพยุงน้ำหนักตัวจากนั้นจึงเริ่มฝึกเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายตามจุดที่มีการผ่าตัด

review-vo2max-21

บริการของโรงพยาบาลสมิติเวช ที่ครบวงจร ตอบโจทย์ในทุกมิติ ครอบคลุมทุกการให้บริการ ทั้งหมดนี้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ทีนี่ยังมีวิธีการป้องกัน – รักษา และฟื้นฟูอีกหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจะใช้วิธีใดแต่อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดแล้วการไม่บาดเจ็บนี่แหละดีที่สุด

ดังนั้นหากอยากเล่นกีฬาให้ปัง แต่ร่างไม่พัง ก็ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมอยู่เสมอ แต่ถ้าบาดเจ็บไปแล้ว อย่าปล่อยไว้ให้เรื้อรัง คุณหมอที่นี่บอกว่าถ้าบาดเจ็บขึ้นมา อย่าปล่อยทิ้งไว้ เข้ามาตรวจเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจะดีที่สุด รู้เร็ว รักษาเร็วก็ไม่ต้องผ่าตัด หรือถ้าผ่าตัดจริงๆ ก็เจ็บไม่นาน แป๊บเดียวกลับคืนสู่สนามได้แล้ว 😀

Writer Profile : Sam Ponsan
นักเขียนหนุ่มสุดเท่ที่ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ ขนาดฝนตกยังยอมขี่รถตากฝนเลยเพราะคิดว่าทำแล้วเท่ งานอดิเรกของเขาคือการไปออกกำลังกายเพราะเชื่อว่าทำแล้วเท่ ปัจจุบันก็ยังชอบทำ Content อะไรเท่ๆ ลงเว็บ Mango Zero ด้วย แหม่...เท่จริงๆ
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save