7 วิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง ที่หลายคนอาจจะมองข้าม

Writer : Sam Ponsan

: 30 สิงหาคม 2561

ตั้งแต่เด็กจนตัวเราทุกคนล้วนกินยามาแล้วทั้งนั้นยามป่วย เพราะยาคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญของมนุษย์  แต่ก็ใช่ว่าการกินยามาตั้งแต่เด็กจนโต จะทำให้เราเข้าใจเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้อง การเข้าใจเรื่องยาคือพื้นฐานที่เราควรรู้ เราเลยชวนมาดูวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้องที่หลายคนมองข้ามกัน

นอกจากอ่านฉลากยาอย่างถูกต้อง ไม่กินยาหมดอายุ กินยาก่อนหลังอาหารให้ถูกต้อง แล้วยังมีอะไรอีกบ้างที่เราต้องรู้

ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆ มีดังนี้

ยาก่อนอาหารต้องกินก่อนอาหาร 30 –  60 นาที

ยาก่อนอาหารควรจะกินก่อนอาหารนานแค่ไหน บางคนบอกกินก่อนอาหาร  10 นาทีก็ได้ บางคนบอกโอ้ย! ก็กินยาปุ๊บก็กินอาหารเลยไง แต่…จริงๆ แล้วยาก่อนอาหารทั่วๆ ไปนั้นเราต้องกินยาก่อนที่จะกินอาหาร 30 – 60 นาที และท้องต้องว่าง

สาเหตุที่ต้องทิ้งช่วงนานขนาดนั้นเพราะยาเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการออกฤทธิ์ และหากกินยาลงไปแล้วกินอาหารตามน้ำย่อยจะออกมาย่อยอาหารและย่อยยาไปด้วยจนยาทำงานได้ไม่เต็มที่ ยกเว้นยาบางประเภท ที่แพทย์สั่งว่าต้องกินยาก่อนอาหาร หรือพร้อมอาหารทันที เนื่องจากยาประเภทนี้ทำงานได้ดีในช่วงที่เรากินอาหาร

ยาหลังอาหารต้องกินหลังอาหาร 15 – 30 นาที

ส่วนยาหลังอาหารนั้นโดยทั่วไปก็ไม่ต้องกินทันทีที่เรากินข้าวอิ่ม แต่ควรทิ้งช่วงเวลาไว้สักพักหนึ่งราวๆ 15 – 30 นาทีถึงจะกินยาหลังอาหารตาม เพราะยาประเภทนี้อาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมของยา แต่ยาหลังอาหารบางชนิดก็ต้องกินหลังอาหารทันทีเพราะยาจะดูดซึมเข้าร่างกายได้ดีพร้อมอาหารที่กิน โดยส่วนใหญ่ยาประเภทกอนหลังอาหารทันทีจะเป็นยาลดการอักเสบ ยาแก้ปวดข้อ หรือแก้ปวดกล้ามเนื้อ

ยาปฏิชีวนะผสมน้ำต้องใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว

ยาบางประเภทที่มาในรูปแบบผงและผสมน้ำจึงจะใช้ได้ แต่หลายคนคิดว่าใช้น้ำธรรมดา หรือน้ำร้อนผสมก็ใช้ยาได้แล้วก็น้ำเหมือนกันไง ไม่เห็นซีเรียส ทว่าจริงๆ แล้วน้ำที่ใช้ใส่ในยาประเภทนี้จะต้องเป็นน้ำต้มสุก ที่ต้มแล้วปล่อยให้เย็นหรืออยู่ในอุณหภูมิห้องเท่านั้นจึงจะผสมยาได้ และเมื่อผสมเสร็จต้องกินยาให้หมดภายใน 7 วันตามที่แพทย์สั่ง

ยาฆ่าเชื้อต้องกินให้หมดตามแพทย์สั่ง

ยาบางชนิดต้องกินให้หมดตามที่แพทย์สั่ง เช่นยาแก้อักเสบ หรือยาฆ่าเชื่อ ซึ่งแพทย์จะบอกว่ากินยาให้หมดนะ แม้อาการจะหายแล้วก็ตามซึ่งอยู่ที่ 7 วัน ที่ต้องกินให้หมดก็เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อโรค

เนื่องจากถ้ากินยาไม่ครบเชือ้โรคที่อยู่ในร่างกายจะฆ่าไม่ตาย และซ่อนอยู่ในร่างกาย ทำให้การรักษาไม่ได้ผล ส่วนเชื้อโรคที่ไม่ตายก็จะขยายตัวแล้วโจมตีร่างกายเราไหม เมือ่กินยาฆ่าเชื้อแบบเดิมก็ทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากเชื้อโรคดื้อยาชนิดนั้นไปแล้ว

ยาไม่ควรโดนแดด และไม่อยู่ในที่อับชื้น

บางคนเลือกที่จะเก็บยาไว้ในจุดที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งไม่ผิด แต่พื้นที่เก็บยาต้องไม่อยู่ในจุดที่อับชื้น และไม่ควรโดนแสงแดดไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของยา

ควรเก็บยาในตู้เย็นอุณหภูมิ 2 – 8 องศา

โดยทั่วไปยาที่เก็บอยู่ในตู้เย็นนั้นต้องเก็บอยู่ในช่องธรรมดาเท่านั้นซึ่งความเย็นของช่องธรรมดาจะอยู่ที่ 2 – 8 องศาเซลเซียส หรือถาดที่อยู้ใต้ช่องแช่แข็ง แต่ห้ามแช่ในช่องแช่แข็งเด็ดขาดเพื่อป้องกันยาเสื่อมคุณภาพจากความเย็น

ยาหยอดตาเกิน 1 เดือนต้องทิ้ง

ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา แม้เราจะเก็บไว้ในตู้เย็นอย่างดี แต่ก็ใช่ว่ายาจะมีชีวิตที่เป็นอมตะ เนื่องจากยาเพราะยาหยอดตาจะเสื่อมหลังจากเปิดให้ 1 เดือนและต้องเก็บในตู้เย็นธรรมดาเท่านั้นข้ามเก็บในช่องแช่แข็งเด็ดขาด

ควรเก็บยาในตู้เย็นอุณหภูมิ 2 – 8 องศา

โดยทั่วไปยาที่เก็บอยู่ในตู้เย็นนั้นต้องเก็บอยู่ในช่องธรรมดาเท่านั้นซึ่งความเย็นของช่องธรรมดาจะอยู่ที่ 2 – 8 องศาเซลเซียส หรือถาดที่อยู้ใต้ช่องแช่แข็ง แต่ห้ามแช่ในช่องแช่แข็งเด็ดขาดเพื่อป้องกันยาเสื่อมคุณภาพจากความเย็น

ที่มา – โรงพยาบาลบางโพ, honestdocs, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลับมหิดล, คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล,  

 

 

Writer Profile : Sam Ponsan
นักเขียนหนุ่มสุดเท่ที่ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ ขนาดฝนตกยังยอมขี่รถตากฝนเลยเพราะคิดว่าทำแล้วเท่ งานอดิเรกของเขาคือการไปออกกำลังกายเพราะเชื่อว่าทำแล้วเท่ ปัจจุบันก็ยังชอบทำ Content อะไรเท่ๆ ลงเว็บ Mango Zero ด้วย แหม่...เท่จริงๆ
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save