category เปิดเบื้องหลังสำนักพิมพ์ 'KOOB' ของ 'นิ้วกลม' กับวิธีทำสำนักพิมพ์ขนาดเล็กให้เติบโต

Writer : Sam Ponsan

: 4 มีนาคม 2562

สำหรับคนที่ติดตามแวดวงนักเขียนมานานต้องเคยได้ยินชื่อของ ‘นิ้วกลม – สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ มาบ้างไม่มาก็น้อย เพราะชื่อของเขาถูกยกให้เป็นหนึ่งในนักเขียนที่ยังคงมีผลงานต่อเนื่องมาโดยตลอด

นับตั้งแต่เมื่อ 15 ปีก่อนที่เขาเริ่มต้นเขียนหนังสือในนามปากกาว่า ‘นิ้วกลม’ ผลงานแรกสุดของเขา ‘โตเกียวไม่มีขา’ ที่ว่าด้วยบันทึกการเดินทางไปเที่ยวโตเกียวด้วยเงินไม่ถึง 13,000 บาท ทุกวันนี้ก็ยังคงขายได้ ขณะที่หนังสือเล่มใหม่ล่าสุด ‘homo finishers สายพันธุ์เข้าเส้นชัย’ บันทึกการวิ่งมาราธอนของเขาก็ขายดี

สิ่งท่ีน่าสนใจไม่ใช่การเป็นนักเขียนระดับเบสเซลเลอร์ของเขาที่ไม่เสื่อมความนิยมลงเลย แต่ที่น่าสนใจคือหนังสือเล่มแรก และเล่มล่าสุดถูกตีพิมพ์ภายใต้สำนักพิมพ์ของเขาเองที่ชื่อว่า KOOB (ซึ่งชื่อสำนักพิมพ์นี้คือคำว่า BOOK ที่วางสลับกัน)

นิ้วกลม ทำสำนักพิมพ์มาได้ราว 6 ปีกว่าๆ และแม้จะเป็นนักเขียนระดับขายดี มีแฟนคลับเยอะ แต่การทำสำนักพิมพ์ให้ประสบความสำเร็จด้วยตัวเองนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

ทว่าเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า KOOB เติบโต และกลายเป็นสำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่อยู่รอด เคล็ดลับของเขาคืออะไร ทำไม KOOB ถึงเป็นสำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่แข็งแรง…นี่คือเคล็ดลับความสำเร็จของเขา

พร้อมก่อนจึงทำ

นิ้วกลมเล่าว่าเขาเริ่มต้นทำสำนักพิมพ์ด้วยการหาข้อมูลที่จำเป็นทุกอย่าง หนึ่งในนั้นคือการคุยเพื่อข้อวิชาความรู้กับบรรณาธิการรุ่นพี่ที่เขานับถือเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ในการทำสำนักพิมพ์ ซึ่งก็มีทั้งคำแนะนำ และคำเตือน

เขาประมวลผลสิ่งเหล่านี้มาเป็นปีๆ จนเมื่อรู้สึกว่าตัวเองพร้อมแล้ว จึงตัดสินใจทำสำนักพิมพ์ขึ้นมา และอาจจะมีเรื่องให้สะดุดบ้างแต่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่ทำให้ตกใจ เนื่องจากมีการเตรียมตัวมาแล้วอย่างดี

บริหารต้นทุนให้เป็น

อย่างแรกสุดเลยเขาจัดการบริหารต้นทุนเพื่อทำให้สำนักพิมพ์มีรายจ่ายจำเป็นที่น้อยที่สุด พนักงานจึงไม่มี แต่ใช้ฟรีแลนซ์เพื่อตัดค่าใช้จ่ายประจำ

ออฟฟิศก็เลือกใช้บ้านเป็นออฟฟิศใช้อุปกรณ์ที่ตัวเองมีอยู่แล้ว  ที่ผ่านมาทำหนังสือมาหลายเล่ม แล้วบางเล่มทำจนเสร็จทีมงานยังไม่เคยเจอหน้ากันเลย ปีแรกผลประกอบการก็ถือว่าน่าพอใจ

ใช้ส่องทางออนไลน์ให้เป็นประโยชน์

นิ้วกลมเล่าว่าโชคดีที่ตอนที่เขาทำสำนักพิมพ์ เป็นยุคที่โลกออนไลน์ช่วยทำให้การสื่อสารไม่ยากนัก เขาจึงใช้ช่องทางที่มีทั้งแฟนเพจ บล็อค รวมไปถึงเว็บไซต์ในการโปรโมทสำนักพิมพ์และหนังสือเล่มใหม่ๆ หากเป็นยุคก่อนหน้านั้นคงไม่สามารถสร้างสำนักพิมพ์เล็กๆ ให้โตขึ้นได้

อีกหนึ่งเทรนด์ที่โลกออนไลน์ทำให้สำนักพิมพ์เล็กๆ ของเขาอยู่รอดคือการขายหนังสือออนไลน์ ช่องทางนี้เป็นหนึ่งในช่องทางการจัดจำหน่ายที่เขาใส่ใจ นิ้วกลมให้ข้อมูลว่าที่ผ่านมา

ยอดขายหนังสือออนไลน์ กับยอดขายทางออฟไลน์แทบจะสูสีกันแล้ว ล่าสุดคือช่องทางออนไลน์มียอดขาย 40% ขณะที่ออฟไลน์ขายได้ 60% ถือว่าใกล้กันมาก จนมีนัยยะสำคัญ

ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ยอดขายออนไลน์เยอะขึ้นเรื่อยๆ นั่นแปลว่าพฤติกรรมการออกหนังสือทั้งของ KOOB และสำนักพิมพ์ต่างๆ ก็จะเปลี่ยนไป ไม่ต้องออกหนังสือเฉพาะช่วงงานสัปดาห์หนังสืออย่างเดียวก็ได้

แยกหมวกให้ถูกระหว่าง ‘นักเขียน’ และ ‘นักธุรกิจ’ 

“พี่จุ้ย (ศุ บุญเลี้ยง) เคยเตือนว่าถ้าเราต้องคิดสองหมวก มันอาจจะทำให้หมวกสร้างสรรค์หดตัวไป” นิ้วกลมพูดถึงคำเตือนของนักเขียนรุ่นพี่ที่ให้คำแนะนำในการทำธุรกิจว่าควรจะแยกหมวก ซึ่งหมายถึงหน้าที่ที่เขารับผิดชอบอยู่ให้ออกว่าเมื่อไหร่ควรจะใส่หมวกนักเขียน เมื่อไหร่ควรจะใส่หมวกนักธุรกิจ

เขาเลยแบ่งตัวเองค่อนข้างชัดว่าเวลาทำงานสร้างสรรค์ก็จะไม่คิดถึงเรื่องธุรกิจ จะยังคงทำงานสร้างสรรค์ตามที่ต้องการ แต่จะคิดให้มากขึ้นเมื่อผลงานเสร็จแล้วว่าจะตั้งชื่ออย่างไรให้น่าสนใจ ออกแบบแบบไหนให้ดี โปรโมทอย่างไร ซึ่งการทำงานของเขาถูกแยกหมวกกันชัดเจนเพื่อไม่ให้หมวกไหนสักใบกระทบกันกับวิธีการคิดงานสร้างสรรค์ และวิธีการทำงานทางด้านธุรกิจ

มั่นใจในสิ่งที่ทำ

นิ้วกลมเชื่อว่าหนังสือเล่มยังเป็นสิ่งที่จะอยู่ต่อไปอีกนาน เพราะหนังสือเล่มมีเสน่ห์อยู่ในตัวเอง ไม่มีอะไรที่มาทดแทนได้เนื่องจากสื่อสมัยใหม่เป็นคอนเทนต์ที่ค่อนข้างฉาบฉวย กระจัดกระจาย

แต่มนุษย์ยังคงต้องการสิ่งที่ทำให้มนุษย์ใช้เวลากับการเสพที่ค่อนข้างลึก มีช่วงเวลาที่ได้ใช้เวลาอยู่กับสิ่งนั้นมากกว่าการแค่โฉบผ่านๆ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่หนังสือเล่มทำหน้าที่นั้นมาเสมอ

เลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีในการช่วยทำงานเช่นเครื่องปริ้น HP Ink Tank Wireless 415

ที่ผ่านมาในการทำสำนักพิมพ์นิ้วกลม บอกว่าเครื่องปริ้นจำเป็นมากๆ บางคนอาจจะเข้าใจว่ายุคที่ทุกอย่างสามารถจบได้ที่หน้าจอ

แต่ในการทำสำนักพิมพ์การตรวจทานต้นฉบับ การตรวจปก การตรวจภาพประกอบทุกอย่างยังคงต้องปริ้นออกมาเพื่อตรวจ เล่มก่อนหน้านั้นอย่าง ‘หิมาลัยไม่มีจริง’ และ ‘homo finishers สายพันธุ์เข้าเส้นชัย’ นั้นหนามาก เลยปริ้นออกมาเยอะเพื่อตรวจ

สาเหตุที่การตรวจทานต้นฉบับที่ยังคงต้องปริ้นออกมาเพื่อตรวจนั้นเขาให้เหตุผลว่ายุคนี้เรายังต้องแก้ไขเรียบเรียงในคอมพ์ แต่การตรวจจำเป็นต้องตรวจบนกระดาษ

บรรณาธิการหลายคนก็ยังใช้ิวธีปร้นต์กระดาษออกมาแล้วก็วงจุดที่จะแก้ไข ซึ่งกระดาษนั้นมีธรรมชาติของมันคือทันทีที่เรานั่งแล้วอยู่กับกระดาษมันจะทำให้เราช้าลง

ส่วนเครื่องปริ้นที่เขาเลือกใช้คือ HP ซึ่งตอนแรกที่เปิดสำนักพิมพ์เขาใช้เครื่องปริ้น HP ของภรรยา แต่ล่าสุดเมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนเขาก็ยังเลือกใช้ HP และรุ่นที่เลือกคือ HP Ink Tank Wireless 415 เครื่องปริ้นรุ่นใหม่ล่าสุดจาก HP

ที่มีเทคโนโลยีในการพิมพ์ที่คมชัด ค่าปริ้นต่อแผ่นถูก เปลี่ยนหมึกง่ายและราคาถูก ที่สำคัญฟีเจอร์ที่นิ้วกลมชื่อสามารถสั่งพิมพ์ได้แม้อยู่นอกบ้าน

ซึ่งตัวช่วยนั้นคือการสั่งปริ้นผ่าน ‘HP Smart’ แอปพลิเคชั่นจาก HP ที่สามารถทำให้เราสั่งปริ้นงานที่อยู่ในมือถือได้โดยที่เราจะอยู่ที่ไหนก็ได้ขอแค่เครื่องปริ้นนั้นเปิดอยู่ ก็แค่เขาแอป HP Smart แล้วก็สั่งปริ้นได้เลย ทำให้ง่ายในการทำงาน เพราะแม้เขาจะไม่ได้อยู่ที่บ้านหรือออฟฟิศ แต่ก็สามารถสั่งพิมพ์งานด่วนหรืองานสำคัญแล้วให้คนที่อยู่ออฟฟิศจัดการต่อได้เลย ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน

 

 

 

Writer Profile : Sam Ponsan
นักเขียนหนุ่มสุดเท่ที่ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ ขนาดฝนตกยังยอมขี่รถตากฝนเลยเพราะคิดว่าทำแล้วเท่ งานอดิเรกของเขาคือการไปออกกำลังกายเพราะเชื่อว่าทำแล้วเท่ ปัจจุบันก็ยังชอบทำ Content อะไรเท่ๆ ลงเว็บ Mango Zero ด้วย แหม่...เท่จริงๆ
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save