6 ขั้นตอนการช่วยชีวิต 'นักวิ่ง' ที่หมดสติระหว่างแข่งขันที่นักวิ่งทุกคนต้องจำไว้

Writer : Sam Ponsan

: 30 สิงหาคม 2562

ช่วงหลังมานี้เรามักจะได้ยินข่าวนักวิ่งเสียชีวิตในระหว่างที่แข่งขันอยู่บ่อยๆ สาเหตุการเสียชีวิตนั้นมาจากสภาพร่างกายของนักวิ่งเองที่อาจจะมีปัญหามาตั้งแต่แรก หรือไม่เคยมีอาการป่วยมาก่อน แต่เพิ่งมาแสดงอาการในช่วงที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักระหว่างแข่งขัน

แต่ถ้านักวิ่งที่หมดสติได้รับการปฐมพยาบาลอย่าทันที และถูกต้อง โอกาสจะเป็นอันตรายจนถึงชีวิตก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้าหวังจะให้หน่วยพยาบาลเข้าไปช่วยอย่างทันทีคงไม่เพียงพอ ต้องพึ่งนักวิ่งอย่างเรานี่แหละที่อาจจะอยู่ใกล้นักวิ่งเคราะห์ร้ายคนนั้นมากที่สุดในช่วงแรก

เพื่อเป็นการ ‘กันไว้ดีกว่าแก้’ เมื่อวันหนึ่งคุณเจอนักวิ่งที่หมดสติ แค่ทำตาม 6 ขั้นตอนนี้คุณก็ช่วยชีวิตเขาได้ทันที

1. เขย่าให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวด้วยการจับไหล่ทั้งสองข้าง

แรกสุดเลยเมื่อคุณบังเอิญวิ่งไปแล้วเจอนักวิ่งล้มลงหมดสติ หรือหยุดหายใจ สิ่งที่คุณทำเป็นอันดับแรกคือปลุกเรียกผู้ป่วยให้รู้สึกตัวด้วยการใช้มือทั้งสองข้างจับบริเวณไหล่แล้วเขย่าพร้อมเรียกด้วยเสียงที่ดังจนกว่าผู้ป่วยจะมีสติคืนมาแม้เพียงนิดเดียวก็ยังดี

2. ขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์

ในงานวิ่งที่ได้มาตรฐานจะมีทีมแพทย์ รวมถึงรถพยาบาลที่เครื่องมือพร้อมคอยดูแลอยู่แล้ว มาตรฐานคืองานวิ่งไม่เกิน 2,000 คนจะมีรถพยาบาล 2 คัน หากมีผู้เข้าแข่งขันเพิ่มทุกๆ 2,000 คนก็จะมีกฎบังคับให้มีรถพยาบาลเพิ่มขึ้นอีก 2 คัน

กรณีที่เจอเหตุฉุกเฉิน เราสามารถร้องขอความช่วยเหลือได้ โดยรายงานสถานการณ์ไปด้วยว่ามีนักวิ่งหมดสติและขอให้ติดเครื่อง AED หรือ ‘เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ’ มาด้วยทันที

เพื่อที่หน่วยแพทย์มาถึงจะได้ช่วยเหลือได้ทันที หรือหากไม่พบเจอใครในบริเวณนั้นเลยให้โทรไปที่ 1669 แล้วแจ้งสถานการณ์ และสถานที่ เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นได้ประสานขอความช่วยเหลือกันต่อไป

3. หากหยุดหายใจให้ทำ CPR 

ระหว่างที่รอหน่วยแพทย์มาช่วยเหลือ (ซึ่งมาตรฐานคือไม่เกิน 5 นาทีหลังจากแจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ที่ประจำอยู่ในงาน) ให้เราตรวจดูชีพจร และลมหายใจของผู้ป่วย หากไม่หายใจ หรือหมดสติ ให้จับผู้ป่วยนอนหงายแล้วทำการ CPR ทันที โดยวิธีการทำ CPR ที่ถูกต้องคือ

  •  วางสันมือตรงกึ่งกลางกระดูกหน้าอก ถ้าวางตรงจุดอื่นนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว กระดูกอาจจะหักได้
  • กดลงไปตรงที่เป็นหัวใจลึกลงไปประมาณ 2 นิ้ว
  • ใช้ความเร็วในการกด 100 ครั้งต่อนาที (ระหว่างกดให้คนช่วยจับเวลาแล้วนับตามไปด้วย)

เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวให้พลิกตะแคงแล้วรอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์ อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเอง หรือพาผู้ป่วยวิ่งไปหาทีมพยาบาลถ้าไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ

4. หยุดนวดหัวใจขณะใช้เครื่อง AED มาถึง

หากเป็นไปตามขั้นตอนจังหวะนี้ ทีมแพทย์จะมาพร้อมกับเครื่อง AED หน้าที่ของเราหลังจากนี้คือ อย่าเข้าไปช่วยด้วยการนวดหัวใจ อย่าสัมผัสตัวผู้ป่วยในระหว่างที่กำลังใจเครื่อง AED ไม่ว่าจะเป็นการนวดหัวใจหรืออะไรก็ตาม

รอจนกว่าเครื่อง AED จะให้สัญญาณในการทำ CPR ก่อนถึงค่อยทำตามขั้นตอนต่อไป แต่หากไม่มีการร้องขอจากทีมแพทย์ให้เราอยู่เฉยๆ เท่านั้น

5. ทำ CPR ตามคำสั่งของเครื่อง AED

อันที่จริงหน้าที่หลังจากนี้ เป็นเรื่องของทีมแพทย์จัดการ แต่หากบังเอิญมาคนไม่เพียงพอ แล้วเราต้องเข้าไปช่วย ให้เราทำการ CPR ตามคำแนะนำของเครื่อง AED แล้วรอจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง หากผู้ป่วยรู้สึกตัวอย่าลืมพลิงตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง

6. ส่งผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาล

เมื่อทำตามขั้นตอนจนครบแล้ว จะเป็นจังหวะที่รถพยาบาลมาพอดีแล้วนำตัวผู้ป่วยส่งต่อไปยังโรงพยาบาล แต่หากทีมแพทย์มาพร้อมกับรถพยาบาล จังหวะนี้พลเมืองดีอย่างเราถอยห่างออกมาให้ไกลที่สุดเพื่อให้ทีมแพทย์ได้ทำงานอย่าเต็มที่ อย่าไทยมุงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

อ้างอิงจาก : คณะทำงานพัฒนาแนวทางและมาตรฐานการจัดงานวิ่ง 

 

Writer Profile : Sam Ponsan
นักเขียนหนุ่มสุดเท่ที่ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ ขนาดฝนตกยังยอมขี่รถตากฝนเลยเพราะคิดว่าทำแล้วเท่ งานอดิเรกของเขาคือการไปออกกำลังกายเพราะเชื่อว่าทำแล้วเท่ ปัจจุบันก็ยังชอบทำ Content อะไรเท่ๆ ลงเว็บ Mango Zero ด้วย แหม่...เท่จริงๆ
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save